กลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • พิเชษฐ ยังตรง สาขาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • พิณสุดา สิริธรังศรี สาขาวิชาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • สินธะวา คามดิษฐ์ สาขาวิชาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 และ 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามและการประชุมสนทนากลุ่มจากผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิธีการดำเนินการวิจัย ศึกษาสภาพและ ปัญหา ใช้การวิจัยเชิงปริมาณและการเสนอกลยุทธ์ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพและ ปัญหาการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในศตวรรษที่ 21 สถานศึกษามีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ มาตรการ แนวทาง เน้นด้านความรู้และด้านคุณธรรม มากกว่าด้านการคิดและด้านทักษะ มีสื่อ เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาไม่เพียงพอกับ ความต้องการของผู้เรียน มีระบบการนิเทศการจัดกระบวนการเรียนรู้น้อย การวัดและประเมินผลเน้นด้านความรู้มากกว่าด้านความคิด ด้านทักษะและด้านคุณธรรม ครูส่วนหนึ่งมีทักษะการจัดการเรียนรู้แนวใหม่ใน ศตวรรษที่ 21 น้อย และ 2) กลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 พบว่า มี 5 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้รักการเรียนรู้ กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาศักยภาพครู กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาและส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ และกลยุทธ์ที่ 5 ส่งเสริมความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2552, กันยายน – ธันวาคม). ภาพอนาคตและคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์. วารสารการบริหารและพัฒนา เล่มที่ 1 ปีที่ 3. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2544). ผลงานการวิจัยเรื่องปัญหาและแนวทางการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 11. คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประเวศ วะสี. (2545). วิถีมนุษย์ในศตวรรษที่ 21: สู่ภพภูมิใหม่แห่งการพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2545). ชุดฝึกอบรมครู: ประมวลสาระ หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า น.3–9.

วิจารณ์ พานิช. (2554). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 สืบค้น 21 กรกฎาคม 2558 จาก http://www.gotoknow.org/blog/thaikm/434192.

สำนักงานบริหารงานมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). แนวทางการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากล. เอกสารสนับสนุนการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด. ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2542.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. คุณลักษณะผู้เรียนที่สังคมต้องการ. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์

สมใจ ธีรทิฐ. (2556). กลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณะพลเมืองอาเซียนที่พึงประสงค์. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อนุ บุญสูง. (2556). การพัฒนาศักยภาพด้านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ผู้เรียน (Desirable Characteristic Assessment) สำหรับครู. เอกสารอัดสำเนา.

Trelling, Bernie and Fadel, Charles. (2009). 21st Century skill Learning for live in our times. California: Jossey-Bass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-17