การดำเนินงานสภานักเรียนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนปฏิบัติดีเลิศของไทย
คำสำคัญ:
สภานักเรียน, คณะกรรมการนักเรียน, ประชาธิปไตยในโรงเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานสภานักเรียนที่ส่งเสริมประชาธิปไตยใน โรงเรียนปฏิบัติดีเลิศ ผู้วิจัยเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงคือครูสังคมศึกษา ครูฝ่ายกิจการนักเรียน และตัวแทนคณะกรรมการนักเรียน จำนวน 32 คน จาก 10 โรงเรียน การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบการลงสมัครรับเลือกตั้งนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หรือ 5 ที่ ต้องการสมัครเข้าเป็นคณะกรรมการสภานักเรียนจะต้องจัดตั้งทีมที่มีสมาชิกประมาณ 8-15 คน การตั้งชื่อทีม ซึ่งนิยมใช้สัญลักษณ์สีประจำโรงเรียนระดับชั้น หรือคำวัยรุ่น 2) ระบบการออกเสียงและการรณรงค์หาเสียงนักเรียนทุกคนในโรงเรียนมีสิทธิลงคะแนนเสียง 1 คน ต่อ 1 เสียงคณะกรรมการการเลือกตั้งของโรงเรียน จะคอยดูแลการเลือกตั้งและการนับคะแนนเสียงซึ่งจะต้องทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่จัดการเลือกตั้งส่วน การรณรงค์หาเสียงนักเรียนมีการนำเสนอนโยบาย และกิจกรรมต่างๆ ในรูปแบบของการโต้วาทีและการจัดทำป้ายประกาศรณรงค์หาเสียง 3) รูปแบบสภานักเรียน มี 3 รูปแบบหลัก ได้แก่ (3.1) สภานักเรียนที่ มีคณะกรรมการบริหารงานชุดเดียวดำเนินงานทุกกิจกรรมในโรงเรียน ยกเว้นงานกีฬาสีที่มีคณะกรรมการ คณะสีดำเนินงาน (3.2) สภานักเรียนที่มีคณะกรรมการบริหาร 2 ชุด คือ คณะกรรมการชุดที่ 1 ทำหน้าที่บริหารงานและคณะกรรมการชุดที่ 2 ทำหน้าที่ตรวจสอบและถ่วงดุลการดำเนินงานของกรรมการบริหาร (3.3) สภานักเรียนที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน คือ องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ช่วยเหลือกิจกรรมของชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมของนักเรียนกับชุมชน 4) กิจกรรมสภานักเรียนมีส่วนในการพัฒนาพฤติกรรม และคุณลักษณะประชาธิปไตย ทั้งสามัคคีธรรมคารวธรรม และปัญญาธรรม และยังเป็นกิจกรรมสำคัญในการปลูกฝังวิถีชีวิตประชาธิปไตยให้กับนักเรียน
References
กระมล ทองธรรมชาติ. (2521). การเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2519). ประชาธิปไตย สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ กับการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิฆเณศ.
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา. (2534). แนวทางการนิเทศการเสริมสร้างประชาธิปไตยในโรงเรียนมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
สาโรช บัวศรี. (2553). ความคิดบางประการในวิชาการศึกษา. ในสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ (บรรณาธิการ). รำลึกคุณูปการ ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี. กรุงเทพฯ: สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. (2559). โรงเรียนประชาธิปไตยตัวอย่าง. สืบค้นวันที่ 6 พฤศจิกายน 2559, จาก http://www.identity.opm.go.th/identity/content/activity.
อมร รักษาสัตย์. (2543). บทที่ 7 วิธีการเรียนการสอน ตอนที่ 5 การปลูกฝังประชาธิปไตยในโรงเรียน. ใน อมร รักษาสัตย์ (บรรณาธิการ). ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน คู่มือการเรียนการสอนการเผยแพร่และการมีส่วนร่วมสำหรับครูอาจารย์และผู้นำชุมชน. กรุงเทพฯ: สมาคมรัฐธรรมนูญเพื่อประชาชน.
Sunal, S.C. and Hass, E.M. (2008). Social Studies for the Elementary and Middle Grades: a constructivist. United States of America: Pearson Education.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น