การเตรียมความพร้อมของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจบริเวณชายแดนด่านสิงขรและมูด่อง
คำสำคัญ:
การค้าบริเวณชายแดน, ด่านสิงขร, มูด่องบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาแนวคิด นโยบาย และยุทธศาสตร์ที่ เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการค้าบริเวณชายแดนบริเวณด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ (2) เพื่อศึกษา ความพร้อมของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในการส่งเสริมและพัฒนาด่านสิงขรเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจ ชายแดนด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กับด่านมูด่อง จังหวัดมะริด โดยมีวิธีการศึกษารวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์ การลงพื้นที่สำรวจข้อมูล และการศึกษาจากเอกสาร ได้แก่ รายงาน การวิจัย บทความ ประกาศ และหนังสือที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาพบว่าจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้มีการเตรียมความพร้อมซึ่งสรุปออกเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ (1) ได้มีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ชายแดนด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (พ.ศ.2558 - 2561) เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาเชิงกลยุทธ์ (2) การยกระดับด่านสิงขรเป็นจุดผ่อนปรนพิเศษด่าน สิงขร พร้อมทั้งขยายเวลาให้ชาวเมียนมาสามารถเข้าพำนักในเขตอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ได้ 4 วัน 3 คืน การจัดตั้งศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ และ (3) มีการจัดกิจกรรมจัดแสดงสินค้า OTOP ณ จังหวัดมะริด
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (1) เร่งหาข้อยุติเรื่องเขตแดน (2) มะริดควรเร่งพัฒนาระบบ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน (3) ปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้อต่อการลงทุน และ (4) ฝ่ายไทยควรเสนอให้ ความร่วมมือทางวิชาการด้านพิธีการทางการค้าและศุลกากรของไทย เพื่อนำไปปรับปรุงระบบการทำงานให้เป็นมาตรฐานสากล ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาวิจัย ควรศึกษารายละเอียดความเป็นไปได้ของเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างไทย เมียนมาและประเทศอื่น
References
กรมศุลกากร. (2557). ด่านสิงขร เพื่อโอกาสด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวชายแดนไทย – พม่า. 22(11) [จุลสาร]. กรุงเทพฯ: กรมศุลกากร.
กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์. (2555). คู่มือการค้าและการลงทุน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์. กรุงเทพฯ: สำนักข่าวพาณิชย์ กรมส่งเสริมการส่งออก.
กรมอาเซียน กะทรวงการต่างประเทศ. (2556). ASEAN Mini Book. กรุงเทพฯ: กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ.
กระทรวงอุตสาหกรรม. เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ. สืบค้น 1 มีนาคม 2560, จาก http://www.industry.go.th/industry/index.php/th/knowledge/item/10593-2016-05-23-05-01-57
กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ชายแดนด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (พ.ศ.2558 - 2561). ประจวบคีรีขันธ์: สำนักงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์.
กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนและจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี (พ.ศ.2557 - 2560) และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560. ประจวบคีรีขันธ์: สำนักงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์.
การเปิดจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร หมู่ที่ 6 ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (2558, 14 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 132 ตอนพิเศษ 110 ง. หน้า 2.
การเปิดจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร หมู่ที่ 6 ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ฉบับที่ 2). (2559, 26 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 133 ตอนพิเศษ 22 ง. หน้า 1.
ก้าวสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ประเด็นท้าทายในอนาคต. (2557, ตุลาคม-ธันวาคม). เศรษฐกิจและสังคม. 51(4),6-12.
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (2558). จุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร. ประจวบคีรีขันธ์: บริษัท หัวหินสาร จำกัด. ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2557). เมียนมาร์: โอกาสการค้าและการลงทุน .กรุงเทพฯ : ธนาคารแห่งประเทศไทย.
แนวทางการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทย. (2557, ตุลาคม-ธันวาคม). เศรษฐกิจและสังคม. 51(4), 19-24.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2556, 14 ตุลาคม). เปิดแผนพัฒนา “ด่านสิงขร” จุดพลุค้าชายแดนทะลุ3 หมื่นล้าน. ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2558, จาก http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1381721477
ภาวิณี เจริญยิ่ง. (2555, 22 ตุลาคม).“มะริด-ตะนาวศรี” รอผู้มาเยือนเปิดบริสุทธิ์. มติชน. สืบค้น 26 มิถุนายน 2558, จาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1350881761&grpid=03&catid=03
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (2557). การศึกษารูปแบบการค้าและการท่องเที่ยวชายแดนระหว่างไทยกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
วิติยา ปิดตังนาโพธิ์ บุญทรัพย์ พานิชการ และภูพงษ์ พงษ์เจริญ. (2557). การศึกษาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพตามชายแดนในเส้นทางมะริด สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ – ด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (รายงานผลการวิจัย). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วัชรินทร์ ยงศิริ. (2547). การค้าชายแดนไทยกับกัมพูชา ปัญหาที่ประสมในปัจจุบัน และแนวทางแก้ไขในอนาคต. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วลัยพร รัตนเศรษฐ. (2560). โครงการศึกษาวิจัยข้อเสนอแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาด่านสิงขรด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารราชพฤกษ์,15(2),72-82.
สุกัญญา ต้นธนาวัฒน์, อสัมภินพงศ์ ฉัตราคม, วรณี จิเจริญ และอติ ไทยานันท์.(2553). เศรษฐศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทย ฉบับที่ 2 (2556-2560). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2559). คู่มือการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน.
สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2. แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 พ.ศ.2557 – 2560 (จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์). สืบค้น 25 มิถุนายน 2558, จาก http://www.osmcentral-s2.moi.go.th.
หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย. (2554). คู่มือการค้าและการลงทุนสาธารณรัฐสหภาพพม่า. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น