การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองท้องถิ่น: กรณีศึกษาสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์
  • พิชิต รัชตพิบุลภพ

คำสำคัญ:

การประหยัดจากขนาด, จำนวนพนักงานต่อประชากร, ค่าใช้จ่ายบุคลากร, ตัวแปรที่สะท้อน, ความต้องการบริการสาธารณะท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาการประหยัดจากขนาดในการบริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นไทย โดยใช้ข้อมูลของ สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 50 แห่ง ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2556 นำมาทดสอบข้อสันนิษฐาน เบื้องต้นว่า ก) จำนวนพนักงานมีความสัมพันธ์แบบเชิงบวกและแบบเส้นตรงกับตัวแปรที่สะท้อน ความต้องการบริการสาธารณะ และ ข) รายจ่ายบุคลากรแปรผันแบบเส้นตรงกับตัวแปรที่สะท้อน ความต้องการบริการสาธารณะ อีกนัยหนึ่งต้นทุนการบริหารแปรผันเป็นเชิงบวกและเป็นเส้นตรงกับตัวแปรอิสระ ผลการศึกษาพบว่า มีการประหยัดจากขนาดในกิจการของสำนักงานเขตกรุงเทพมหานครมีแนวโน้ม ลดลงและกลับเพิ่มขึ้นในภายหลัง ตอนท้ายของบทความเสนอเชิงนโยบายการควบรวมหน่วยงานท้องถิ่นใน ประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะนำมาใช้ปฏิรูปเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีขนาดเล็กและฐานะ การเงินไม่เข้มแข็ง ทั้งนี้ผู้วิจัยเสนอว่าควรมีการค้นคว้าวิจัยก่อนและควบคู่กับดำเนินการปฏิรูป

References

Callanan, M., Ronan M., & Aodh, Q. (2014). The risks of intuition: size, costs and economies of scale in local government. The Economic and Social Review, 45(3), 371-403.

De Sousa, S. (2005). Technical Efficiency of the Brazillian Municipalities: Correcting Nonparametric Frontier Measurements for Outliers. Journal of Productivity Analysis, 24, 157-181.

Dollery, B. (2007). Is bigger better? Local government amalgamation and the South Australian rising to the challenge inquiry. Economic analysis and Policy, 37, 1-14.

Dollery, B., Joel, B., & Lin, C. (2008). Australian local government amalgamation: a conceptual analysis population size and scale economies in municipal service provision. Australasian Journal of Regional Studies, 14(2), 167.

Dur, R. & Staal, K. (2008). Local public good provision, municipal consolidation, and national transfers. Regional Science and Urban Economics, 38, 160–173.

Fritz, B., & Feld, L. P. (2015). The Political Economy of Municipal Amalgamation Evidence of Common Pool Effects and Local Public Debt. CESifo Working Paper, 5676.

Holcombe, R. G., & Williams, D. W. (2008). The Impact of Population Density on Municipal Government Expenditure. Public Finance, 36(3), 359-373.

Holzer, M. (2009). Literature Review and Analysis to Optimal Municipal Size and Efficiency. New York: Rutgers University.

Morikawa, M. (2011). Economies of density and productivity in service industries: an analysis of personal service industries base on establishment-level data. Review of Economics and Statistics, 93(3), 179-92.

Reingewertz, Yaniv. (2012). Do municipal amalgamations work? Evidence from municipalities in Israel. Journal of Urban Economics, 72, 240-51.

Wirasak, K. (2015). Fifteen Years Experience of Decentralization in Thailand. Bangkok: Chulalongkorn University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-18