ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำของครูเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • ทอฝัน กรอบทอง
  • สถาพร ขันโต

คำสำคัญ:

ตัวบ่งชี้, ภาวะผู้นำ, ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำ, ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำของครูเทคโนโลยีสารสนเทศ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำของครูเทคโนโลยี สารสนเทศในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ ภาวะผู้นำของครูเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่สร้างและพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของครูเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานผล การวิจัย พบว่า1) ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำของครูเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 12 องค์ประกอบย่อย และ 54 ตัวบ่งชี้ จำแนกได้ดังนี้ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก ด้านผู้นำทางการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์ประกอบหลักด้านมีวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์ประกอบหลักด้านมีการพัฒนาวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และองค์ประกอบหลักด้านมีสมรรถนะ ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมากพิจารณาจาก ค่าไค-สแควร์ (c2) เท่ากับ 36.14 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 30 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-value) เท่ากับ 0.20 และค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.99 มีค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.98 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.018 องค์ประกอบหลักมีค่านํ้าหนักองค์ประกอบสูงกว่าเกณฑ์ 0.50 ทุกองค์ประกอบ องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้มีค่านํ้าหนักองค์ประกอบสูงกว่าเกณฑ์ 0.30 ทุกองค์ประกอบและทุกตัวบ่งชี้ และ 3) แนวทาง การพัฒนาภาวะผู้นำของครูเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 1) ครูควรมีการพัฒนาฝึกอบรม ในวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 2) ผู้บริหารควรเปิดโอกาสและส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการพัฒนา 3) สถานศึกษา หรือหน่วยงานควรมีการวางแผนการพัฒนาวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 4) สถานศึกษาหรือ หน่วยงานควรสร้างคู่มือการประเมินภาวะผู้นำของเทคโนโลยีสารสนเทศ

References

กระทรวงศึกษาธิการ (2545). การปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้น 12 ตุลาคม 2553, จาก http://www.moe.go.th/main2/edu-reform/edu-reform.htm

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ชวลิต เกิดทรัพย์ ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์ ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์ และวสันต์ อติศัพท์. (2552). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีการศึกษาสำหรับผู้บริหารโรงเรียนสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 15(1), 141-160.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลริสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2545ก). การพัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับการประเมินคุณภาพการบริหารและการจัดการเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

นิคม นาคอ้าย. (2549). องค์ประกอบคุณลักษณะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลภาวะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2554). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา: แนวคิดและกรณีศึกษา. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา, รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2557). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์

สุเทพ ธรรมะตระกูล. (2555). การศึกษาคุณลักษณะของครูยุคใหม่. (กลุ่มวิชาจิตวิทยาและแนะแนว คณะครุศาสตร์) งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ประเภททั่วไปประจำปีงบประมาณ 2555.เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

สมศักดิ์ จีวัฒนา. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสนเทศและการสื่อสารของบุคลากรทางการศึกษาสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ บัณฑิตวิทยาลัย) บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.

อรพรรณ ริยาพันธ์. (2558). นวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษากับภาวะผู้นำ. สืบค้นวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558 จาก https://www.gotoknow.org/posts/427606

Valdez, G. (2004). Technology leadership: Enhancing positive educational change. North Central Regional Educational Laboratory. Retrieved July 27, 2005, from http://www.ncrel.org/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-18