การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ความพึงพอใจระหว่างก่อนและหลังการใช้แอพพลิเคชั่นอีคุ๊กสำหรับชุดทำอาหารแบบแห้ง
คำสำคัญ:
บรรจุภัณฑ์, อาหารพร้อมปรุง, แอพพลิเคชั่น, ความเป็นจริงเสริมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้(1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้แอพพลิเคชั่น e-Cook ที่พัฒนา กับฉลากบรรจุภัณฑ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ความพึงพอใจก่อนและหลังการใช้แอพพลิเคชั่น e-Cook โดยได้ทดสอบแอพพลิเคชั่นกับผู้ใช้งาน 400 ตัวอย่าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ด้วยการหาค่าเฉลี่ย พบว่า ผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่น e-Cook มีความพึงพอใจใน 10 ด้าน ในภาพรวมมีความพึงพอใจต่อ การใช้งาน มีค่าระดับมาก ( = 4.12) ความน่าสนใจ น่าตื่นเต้น ดึงดูด ในการนำเสนอ มีค่าระดับมากที่สุด ( = 4.40) ฟังก์ชั่นการใช้งานที่เหมาะสม มีค่าระดับมาก ( = 4.20) สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีค่าระดับมาก (= 4.16) มีความสะดวกง่ายดาย ในแง่การใช้งาน มีค่าระดับมาก ( = 4.19) สามารถนำ เสนอกระบวนการปรุงอาหารได้ตามลำดับ อย่างชัดเจน มีค่าระดับมากที่สุด ( = 4.37) ความเข้าใจถึงวิธีการปรุงอาหารมากขึ้น มีค่าระดับมากที่สุด ( = 4.33) ประโยชน์ในการปรุงอาหารมากขึ้น จากการใช้งาน มีค่าระดับมากที่สุด ( = 4.28) ความเชื่อมั่น มั่นใจในการปรุงอาหารมากขึ้น มีค่าระดับมาก ( = 4.15) และการตัดสินใจที่จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุดปรุงอาหาร มีค่าระดับมาก ( = 4.08) นอกจากนี้ ผลการทดลองได้ถูกประเมินในรูปแบบความพึงพอใจและค่า Paired T-Test ผลลัพธ์พบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่เห็น ว่าระดับความพึงพอใจหลังการใช้มีค่ามากที่สุด (ค่าเฉลี่ยก่อนใช้งานแอพพลิเคชั่นมีความพึงพอใจระดับมาก = 3.47, S.D. = 0.87 และหลังการใช้มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด ( = 4.23, S.D. = 0.56) สุดท้าย นี้ความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อระบบเก่าและระบบใหม่กับแอพพลิเคชั่น e-Cookแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทุกด้าน
References
คาสปาร์ พีค, วาสนา อิ่มเอม, และรัตนาภรณ์ ตังธนเศรษฐ์. (2558). ครัวเรือนอยู่คนเดียว ใน รายงานสถานการณ์ประชากรไทย พ.ศ. 2558 ประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สืบค้น 30 เมษายน 2560, จาก http://thailand.unfpa.org/en/publications/state-thailand%E2%80%99spopulation-report-2015.
ทิพาพร ฉันชัยพัฒนา. (2556). ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อแอพพลิเคชั่น“ไลน์” (LINE) ในรูปแบบของการสื่อสารผ่านบัญชีอย่างเป็นทางการ (Official accounts LINE). (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้น 30 เมษายน 2560, จาก http://koha.library.tu.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=638610.
ธมนวรรณ กัญญาหัตถ์. (2554). ความพึงพอใจของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่มีต่อประโยชน์ของสมาร์ทโฟน (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
บุศยรินทร์ ธนทรวินันต์. (2555). ปัจจัยค่าจ้างและสวัสดิการที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการททำงานของพนักงานรายวัน กรณีศึกษา บริษัท วิลสันอาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปัทมา เลาหสินณรงค์, และชัยยันต์ เมธานุวัฒนเดช. (2556). รูปแบบและปัจจัยด้านมูลค่าเพิ่มของบรรจุภัณฑ์ซาลาเปาที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ฝ่ายวิจัยและบริการข้อมูล สถาบันอาหาร. (2552). แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารพร้อมปรุง-พร้อมทานในตลาดโลกกับอนาคตกับอนาคตที่สดใส. อุตสาหกรรมสาร, (ม.ค.-ก.พ. 2552), 5–7.
พภัช เชิดชูศิลป์. (2557). พฤติกรรมการใช้ไลน์ที่มีผลต่อความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
รจเรจ เลาป้อมวาปี, และอริสรา เสยานนท์. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการแอพพลิเคชั่น MYMO ในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ กรณีศึกษา ธนาคารออมสินสาขากระบี่. i-Journal of Business Research. 2559 (1), 23.
รัชนีพร นันทคุณากร. (2558). การศึกษาความพึงพอใจในการใช้งานแอพพลิเคชั่นจากไลน์ของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ. (ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจ). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. (2556). สคบ. ตรวจสอบสินค้าฉลากผิดกฎหมาย. สืบค้น 30 เมษายน 2560, จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/14077-สคบ.ตรวจสอบสินค้าฉลากผิดกฎหมาย.html.
สุกฤตา หิรัณยชวลิต. (2554). กว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์. วารสารนักบริหาร, (เมษายน), 45. สืบค้น 30 เมษายน 2560, จาก http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/april_june_11/pdf/aw32.pdf.
อนุรักษ์ วัฒนะถาวรวงศ์. (2558). ค่านิยมเกี่ยวกับงานและความพึงพอใจในงานมีผลต่อความผูกพันองค์การของบุคลากรทางการแพทย์ในแต่ละชนรุ่น. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อังคณา บุณยะมาน, กฤติกา สังขวดี, และปัญญา สังขวดี. (2559). การพัฒนาผ่านแอพพลิเคชั่นแบบหลายช่องสำหรับการลดน้ำหนัก ใน หนังสือรวมบทความการประชุมวิชาการราชภัฎนครสวรรค์วิจัยครั้งที่ 1. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.
อุษณีย์ ด่านกลาง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ชมวิดีโอคอนเทนท์บนสื่อสังคมออนไลน์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(2), 78-90. สืบค้น 30 เมษายน 2560, จาก http://e-journal.rpu.ac.th/index.php/ojs2-2/article/view/77.
Alexis Gonnet. (2017). 5 Things That AR Can Add to Retail. Retrieved August 23, 2017, from https://blippar.com/en/resources/blog/2017/08/23/augmenting-retail-5-things-ar-can-add-retail/.
Maura Mitchell. (2013). Ten Things You Need to Know About Digital Consumers. Retrieved April 30, 2017, from http://www.business2community.com/consumer-marketing/ten-things-you-needto-know-about-digital-consumers-0392150.
Pey Techonmag. (2015). Augmented Reality on MILO Package. Retrieved April 30, 2017, from http://www.techonmag.com/2015/07/27/milo-ar3d-news/.
William G. Cochran. (1977). Sampling Techniques (Probability & Mathematical Statistics). John Wiley & Sons: John Wiley & Sons. Retrieved April 30, 2017, from https://www.abebooks.co.uk/Sampling-Techniques-Probability-Mathematical-Statistics-William/17026410502/bd.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น