การพัฒนาการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง
คำสำคัญ:
ความเป็นพลเมือง, การพัฒนาการศึกษาบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ และ 2) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและความเป็นพลเมืองโลก โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงพรรณนา ด้วยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ การประชุมรับฟังความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 ครั้งและการสนทนากลุ่มจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 1 ครั้ง ระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 23 กรกฎาคม 2559 จากนั้นจึงสรุปและเสนอผล ผลการวิจัยพบว่า 1) ประเทศไทยมีการจัดการศึกษาเพื่อ ความเป็นพลเมืองมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มีหลักสูตรการศึกษาด้านความเป็นพลเมืองเป็นการเฉพาะในทุกระดับการศึกษา แต่ยังไม่สามารถทำให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ได้จริงเท่าที่ควร สำหรับต่างประเทศมีการจัดหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองผ่านกระบวนการเรียนรู้ทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย การเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยกิจกรรมประชาธิปไตยตามบริบทของประเทศนั้นๆ 2) ข้อเสนอ นโยบายการพัฒนาการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองเป็นข้อเสนอที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย ตามการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จำนวน 16 ข้อ ทั้งด้านการ ประเมินและปรับปรุงหลักสูตร การผลิตและพัฒนาครู และผู้บริหาร การมีส่วนร่วมขององค์กรที่เกี่ยวข้อง การจัดตั้งกองทุนเสริมสร้างความเป็นพลเมือง และการวิจัยและพัฒนา
References
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2547). ประชารัฐกับการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา.
ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. (2557). พลเมือง สิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายการศึกษา ภายใต้มูลนิธิส่งเสริมนโยบายการศึกษา.
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2553). รายงานการวิจัยเรื่อง ภาพอนาคตการศึกษาไทย 10-20 ปี. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2558). รายงานการวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2558). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Civic Education). กรุงเทพฯ: บริษัท นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น.
วิชัย วงศ์ใหญ่. (2554). นวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้สู่ความเป็นพลเมือง. กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ ปริ๊นต์.
วิชัย ตันศิริ. (2557). ศาสตร์การสอนความเป็นนักประชาธิปไตย Pedagogy of the Democrat. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายการศึกษา มูลนิธิส่งเสริมนโยบายการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดี. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
Berlach, R. (1996). Citizenship Education: Australian And Singaporean Perspectives. Australian Journal Of Teacher Education, 21(2), pp.1-2.
Burton, D. (2015). Citizenship Education in Secondary Schools in England.Educational Futures, 7(1), p. 76.
Center for Civic Education.(2010). National Standards for Civics And Government. Woodland Hills, CA: Center for Civic Education.
Department for Education. (2014). The National Curriculum In England: Framework Document. Department for Education.London: Dfe. Retrieved May 4 ,2016 from https://www.gov.uk/government/
publications/national-curriculum-in-england-framework-for-key-stages-1-to-4/the-national-curriculum-in-england-framework-for-key-stages-1-to-4
Ministry of Education and Culture. (2012). Education and Research 2011–2016:A development plan Reports of the Ministry of Education and Culture, Finland 2012:3. Espoo: KopijyväOy. Retrieved May 2 ,2016 from http://www.oph.fi/download/148961_The_Education_and_Research_Development_Plan.pdf
Ministry of Education. (2014). 2014 Syllabus Character and Citizenship Education Primary. Singapore: Ministry of Education.
Qualifications And Curriculum Authority. (1998). Education for Citizenship and The Teaching of Democracy In Schools: Final Report of The Advisory Group on Citizenship22 September 1998. London: Qualicationsand CurriculumAuthority.
Quigley, C. N. (1999). Public Perception and Understanding of the Justice System. Washington D.C.: Center for Civic Education.
Tibbitts, F. (2015). Globalisation, Human Rights Education and Reforms. Book series (GCEP, volume 17, p.76). Retrieved May 2 , 2016 from https://books.google.co.th/books?isbn=9402408711
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น