การพัฒนาเครื่องมือวัดความสุขทางพุทธศาสนาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • ศิริรัตน์ วุฐิสกุล สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ภิญญาพันธ์ เพียซ้าย ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การพัฒนาเครื่องมือวัด, ความสุขทางพุทธศาสนา, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดความสุขทางพุทธศาสนาสำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียน ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 503คนโดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ เก็บข้อมูลครั้งที่ 1 เพื่อตรวจสอบคุณภาพรายข้อจำนวน 119 คน และกลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 เพื่อตรวจสอบคุณภาพทั้งฉบับจำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามความสุขทาง พุทธศาสนา 25 ข้อ มีลักษณะเป็นแบบสอบถามที่เป็นสถานการณ์ปลายเปิดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากแนวความคิด การแบ่งความสุขแบบสามิสสุขและนิรามิสสุขที่พระพรหมคุณาภรณ์ได้กล่าวไว้ผู้วิจัยแบ่งความสุขออกเป็น 4 ระดับ คือ ความสุขจากการเสพ ความสุขจากการอยู่ร่วมกัน ความสุขจากการได้ทำสิ่งดีงาม สร้างสรรค์และ ความสุขจากภาวะจิตกุศลผลการวิเคราะห์คุณภาพของแบบสอบถามความสุขทางพุทธศาสนา พบว่า มีค่าอำนาจจำแนก (CITC) อยู่ระหว่าง .183 - .459 และเมื่อพิจารณาค่าสถิติที (t-test) โดยใช้เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ใน การแบ่งกลุ่มสูงกลุ่มต่ำ พบว่า ข้อคำถามทุกข้อสามารถจำแนกกลุ่มตัวอย่างที่มีความสุขสูงกับมีความสุขต่ำ ออกจากกันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ.772 เมื่อพิจารณา ความตรงเชิงภาวะสันนิษฐานด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลการวัดความสุขทาง พุทธศาสนามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าความสอดคล้อง ดังนี้ x2 = 297.42; df = 269; p-value = 0.11255; GFI = 0.94; AGFI= 0.93; CFI = 0.983; RMSEA = 0.017; SRMR = 0.043

References

ชุติมา พงศ์วารินทร์. (2554). ความสุขของนิสิตนักศึกษาในบริบทพุทธธรรม: การศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์และการพัฒนามาตรวัด. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ชูฤทธิ์ เต็งไตรสรณ์, พระครรชิต คุณวโร และอรุณีวชิราพรทิพย์. (2551). การพัฒนาแบบวัดสุขภาววะองค์รวมแนวพุทธ. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 17(6), 1650-1661.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 2(1), 68-74.

ประณต เค้าฉิม. (2549). จิตวิทยาวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. พระครรชิต คุณวโร. (2551). คำสอนในพระพุทธศาสนากับการพัฒนาความสุข. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์อาคเนย์.

พระพรหมคุณาภรณ์. (2557). พุทธธรรมฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 39. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิสณุ ฟองศรี. (2557). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

องค์ดาไลลามะที่ 14 และโฮเวิร์ด ซี คัทเลอร์. (2549). ศิลปะแห่งความสุข แปลจาก The Art of Happiness. แปลโดย วัชรีวรรณ ชัยวรศิลป์. กรุงเทพฯ: อีเทอนัลอิงค์.

อรพินทร์ ชูชม. (2545). เอกสารคำสอนวิชาการสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-18