การพัฒนาผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์ทางการตลาดวิสาหกิจชุมชนบ้านเขาแหลม จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • กฤษณะ ดาราเรือง สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาองค์การ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

วิสาหกิจชุมชน, กลยุทธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการดำเนินงานพัฒนาตราผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์และฉลากสินค้า และจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชนบ้านเขาแหลม จังหวัดนครสวรรค์ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ประกอบการและการสอบถามความคิดเห็นผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนบ้านเขาแหลม จังหวัดนครสวรรค์ ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตราผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์และฉลากสินค้าอยู่ในระดับสูง แผนกลยุทธ์ทางการตลาดของ วิสาหกิจชุมชนบ้านแหลม จังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วย กลยุทธ์เชิงรุก ได้แก่ 1) ออกงานแสดงสินค้า อย่างต่อเนื่อง 2) แสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาด Modern Trade 3) ขยายกลุ่มตลาดในกลุ่มธุรกิจสปาและธุรกิจโรงแรม และ 4) พัฒนาการ ดำเนินงานด้านการตลาด 4.0 ผ่าน Social Media และ Digital Marketing กลยุทธ์แก้ไข ได้แก่ 1) พัฒนา บรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์สินค้า ตลอดจนรูปแบบการจัดกลุ่มบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย 2) สร้าง Brand Online ผ่าน Social Branding และ 3) พัฒนาศักยภาพบุคลากรที่สอดคล้องกับความต้องการกลยุทธ์เชิงป้องกัน ได้แก่ 1) ศึกษาความต้องการของผู้บริโภคตลอดจนกลยุทธ์ของสินค้า Modern Trade และ 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ตอบสนองและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดและกลยุทธ์เชิงรับ ได้แก่ ส่งเสริมการศึกษาดูงานและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์แก่บุคลากร

References

กฤษณะ ดาราเรือง. (2559). “การพัฒนากลยุทธ์การแข่งขันของผลิตภัณฑ์ OTOP หมูฝอยกรอบโกเนียรตำบลหนองกระโดน อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์.” วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14(2), 67-78.

เจษฎา นกน้อย, สัญชัย ลั้งแท้กุล, สาทินี สุวิทย์พันธุ์วงศ์, กัญญาภัทร บูหมิด, และพีชา รัตนศรี. (2558). “การวิเคราะห์กิจกรรมหลักในห่วงโซ่คุณค่าของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ระดับ 5 ดาว: กรณีศึกษาผู้ประกอบการสินค้าประเภทผ้าในจังหวัดพัทลุงและจังหวัดสงขลา.” วารสารการจัดการสมัยใหม่, 13(2), 139-151.

โชติกา ปงแปง, พรชนก ทองลาด, และบุญฑวรรณ วิงวอน. (2557). “กระบวนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แคบหมูบ้านหม้อ ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง.” วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 7(1), 106-116.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2559). รายงานแนวโน้มธุรกิจในไตรมาสที่ 2 ปี 2559. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2559, จาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/BLP/BLP_TH_Q2_2016_la985.pdf

พูลสวัสดิ์ นาทองคำ. (2557) “รูปแบบการพัฒนาการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์.”วารสารช่อพะยอม, 25(1), 129-138.

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี. (2558). มองภาพเศรษฐกิจปี 58 กับ TMB Analysis. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2559, จาก http://www. smethailandclub. com/knowledges-view.php?id=581

วงศ์พัฒนา ศรีประเสริฐ. (2558). “การจัดการวางแผนการตลาดเชิงกลยุทธ์ธุรกิจแปรรูป ผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องอินทรีย์ของกลุ่มผู้ผลิตในชุมชนบ้านมะค่า ตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. ”SNRU Journal of Science and Technology, 7(13), 45-66

สินีนาถ วิกรมประสิทธ. (2558). “การจัดการแผนธุรกิจกลุ่มคลัสเตอร์หม้อห้อมแพร่ ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่.” วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 10(1), 197-212

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2557). โอกาสและผลกระทบของ OTOP กับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC). สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2559, จาก www.sme.go.th/Lists/EditorInput/ DispForm.aspx?I

Certo, S. C. (2009). Modern Management. (9thed.). New Jersy: Prentice Hill.

Harrison J. S. and John C.H.St. (2004). Foundations in Strategic Management. Canada: Nelson Education.

Krejcie R. V. and Morgan, D.W. (1970). “Determining sample size for research activities.” Journal of Education and Psychological Measurement, (3), 607-610.

Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, planning, implementation and control, (9thed.). New Jersey: A Simon & Schuster Company.

Kotler, P. (2003). Marketing management. (11thed.). New Jersey: Pearson Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-18