การพัฒนาสมรรถนะหลักและประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

สมรรถนะหลัก, ข้าราชการครู, ประสิทธิภาพในการทำงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะหลักและประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักและประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ หลักเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบย่อยของสมรรถนะหลักของข้าราชการครู ขั้นตอนที่ 2 การเก็บรวบรวม ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะหลักและประสิทธิภาพในการทำงานของ ข้าราชการครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi stage random sampling) 352 ตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 3 การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คนโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ โดยใช้สูตรสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) โดยใช้ การบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะหลักของข้าราชการครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 4 ด้าน 11 องค์ประกอบย่อย 2) ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะหลักของข้าราชการครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยอยู่ในระดับมากทุกด้าน ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักกับประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) รูปแบบและเทคนิควิธีการพัฒนาสมรรถนะหลัก 4 สมรรถนะที่เหมาะสมของ ข้าราชการครูเพื่อนำไปพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานมี 13 ประเด็น และมีเทคนิควิธีการพัฒนารวม 9 วิธี คือ การสัมมนา การประชุมปฏิบัติการ การระดมสมอง การฝึกอบรม การสอนงาน การศึกษาดูงาน การประชุมกลุ่มย่อย การจัดกิจกรรมเสริม และการบรรยาย

References

ชาญชัย รัตนสุทธิ. (2552). การพัฒนาความเป็นมืออาชีพของครูด้วยกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานีเขต 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญเรือน สัจจธรรมนุกูล. (2546). ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานสาขาธนาคารออมสินในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2548). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

ปวีณา ผาสุก. (2547). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2554). การพัฒนาสมรรถนะทางการบริหาร. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิศิษฎ์ แสงสุพิน. (2553). สมรรถนะหลักทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 3 (รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภัทรพล เจิมเกาะ. (2547). คุณภาพชีวิตในการทำงานของอาจารย์วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี (ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

วิทยา จันทร์ศิริ.(2551). การพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยของรัฐ(วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2546). การพัฒนาดัชนีวัดคุณภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษา. วารสารครุศาสตร์, 31(3), 12-29.

สมใจ ลักษณะ. (2546). การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฎสวนสุนันทา.

สมนึก ลิ้มอารีย์. (2552). สมรรถนะหลักของบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 3. ขอนแก่น: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 3.

สมพงษ์ เกษมสิน. (2526). การบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2548). หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). คู่มือสมรรถนะราชการพลเรือนไทย. กรุงเทพฯ: พี.เอ. ลีฟวิ่ง จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อุบล อำพันธ์. (2550). คุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการสังกัดกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน (ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

Anderson, J. D.(1997). Leadership Training Initiatives for Community College Administrators: A Focus Synthesis of the Literature. Community College Review, 24(4), 27-54.

Bowman, R. F. (2002).The real Work of Department Chair. The Clearing House,72(3), 158-162.

Huse, Edgar F & Cummings, Thomas G. (1985). Organization Development and Change. New York: West Publishing Company.

SUTHIPARITHAT Vol.31 No.100 October - December 2017

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W.(1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 608-610.

McClelland, D. (1973). Testing for Competence Rather Than for Intelligence. American Psychologist, 28(1), 1-14.

Meisinger, S. (2003). Adding Competencies Adding Value. HR Magazine, 47(8), 8.

Rosen, B., Furst, S., & Blackburn, R.(2006). Training for Virtual Teams: An Investigation of Current Practices and Future Needs. Human Resource Management, 45(2), 229-247.

Spencer, L. M. & Spencer, S.M. (1993). Competence at Work: Model for Superior Performance. New York: John Wiley & Sons.

Weller, L. D. (2001). Department Heads: The Most Underutilized Leadership Position. NASSP Bulletin, 85(625), 73-81.

Wright, L. (2001). HR Competencies: Getting Them Right. Canadian HR Reporter, 14(19), 20

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-18