องค์ประกอบการเพิ่มประสิทธิผลของการปฏิบัติงานการตรวจสอบภายใน มุมมองของผู้รับตรวจของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ผู้แต่ง

  • วราลักษณ์ มิ่งขวัญ
  • ศิริเดช คำสุพรหม

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, การตรวจสอบภายใน, ประสิทธิผลการตรวจสอบภายใน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบการเพิ่มประสิทธิผลของการตรวจสอบภายใน ในมุมมองของผู้รับตรวจของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งนี้สะท้อนถึงความคาดหวังในแนวการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม

งานวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณซึ่งมีประชากรกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาวิจัย คือ ผู้รับตรวจใน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจำนวน 830 คน และกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 270 คน ตามการคำนวณ ของ Yamane ทั้งนี้ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล และได้จัดส่งแบบสอบถาม 830 ชุด และได้การตอบกลับทั้งสิ้น 320 ชุด แต่เพียง 283 ชุดที่สมบูรณ์ถูกนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 38.55 ของการตอบกลับผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันเพื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบที่มี ความสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิผลของการตรวจสอบภายใน จากการวิจัยพบว่า องค์ประกอบการเพิ่มประสิทธิผลของการตรวจสอบภายใน

ในมุมมองของผู้รับ ตรวจของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกอบด้วยทั้งหมด 8 องค์ประกอบ คือ 1. นโยบายระเบียบวิธีการแนวทางการตรวจสอบ 2. การสนับสนุนของฝ่ายบริหาร 3. ความเป็นอิสระของคณะกรรมการตรวจสอบ 4. ความพร้อมของระบบงานและระบบสารสนเทศ 5. จริยธรรมและคุณธรรมของผู้ตรวจสอบภายใน 6. ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะการทำงานของผู้ตรวจสอบภายใน 7. มนุษยสัมพันธ์และการประสานงานของผู้ตรวจสอบภายใน และ 8. ความเข้าใจและการยอมรับของหน่วยรับตรวจ

References

กรมบัญชีกลาง. (2546). แนวปฏิบัติการตรวจสอบภายใน. กรุงเทพมหานคร.

กรมบัญชีกลาง. (2555). แนวทางการประกันคุณภาพงานตรวจสอบภายในภาครัฐ พ.ศ. 2555. กรุงเทพมหานคร.

กรมบัญชีกลาง. (2545). มาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายใน. กรุงเทพมหานคร.

กระทรวงการคลัง. (2551). ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ พ.ศ. 2551.

กาญจนา พรหมเกิด. (2546). ความคิดเห็นของผู้รับตรวจต่อผู้ตรวจสอบภายใน (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ไชยันต์ สกุลศรีประเสริฐ. (2556). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารจิตวิทยาคลินิก, 44(1), 1-13.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2541). แนวทางการปฏิบัติการตรวจสอบภายใน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท บุญศิริการพิมพ์ จำกัด.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2542). แนวทางปฏิบัติที่ดีของคณะกรรมการตรวจสอบ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2555). สรุปสาระสำคัญ หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย. (2548). แนวทางการตรวจสอบภายใน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ดูมายเบส จำกัด.

ประทุม ภู่พัฒน์. (2552). ทัศนคติของผู้รับการตรวจที่มีต่อหน่วยงานตรวจสอบภายในบริษัทจันวาณิชย์ซีเคียวริตี้พริ้นท์ติ้งจำกัด. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต หลักสูตรปริญญาธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ผจงศักดิ์ หมวดสง. (2538). การศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการตรวจสอบภายในของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พรพิมล นิลทจันทร์. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติหน้าที่ของนักวิชาชีพตรวจสอบภายใน

สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรพัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุทธิเดช กอศรีพร. (2533). การวิเคราะห์การตรวจสอบภายในของรัฐวิสาหกิจไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต ภาควิชาการบัญชี บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัจฉรารัตน์ สิทธิ. (2553). ทัศนคติของปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลและประสิทธิผลของการตรวจสอบภายในในมุมมองของผู้รับการตรวจ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุษณา ภัทรมนตรี (2552) . การตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน. (แนวคิดและกรณีศึกษาภาควิชาบัญชี คณะบริหารธุรกิจ). กุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อุษณา ภัทรมนตรี (2550). การตรวจสอบภายในสมัยใหม่ (แนวคิดและกรณีศึกษา). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Kumsuprom, S. (2010). Structured approach to organizational ICT risk management: An empirical study in Thai businesses. (Ph.D. Dissertation). RMIT University, Australia

Yamane, Taro. (1970). Statistics, An Introductory Analysis, (2nd edition.) Tokyo: John Weatherhill, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-19