ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเอกชนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำทางวิชาการ, คุณภาพการจัดการเรียนรู้, ปัจจัยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา คุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูเอกชน ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและคุณภาพการจัดการ เรียนรู้ของครูเอกชนและวิเคราะห์ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเอกชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 335 คน จาก 25 โรงเรียน สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ สถิติใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และภารกิจของสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงสุด ส่วนด้านการนิเทศติดตามการปฏิบัติงานของ ครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) คุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูเอกชนในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านการวางแผนและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนด้านผลงานการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาศักยภาพผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพการจัดการเรียน รู้ของครูมีความสัมพันธ์กันในทางบวกและอยู่ในระดับสูง (r =.722) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ชุด ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สามารถพยากรณ์คุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูเอกชน ได้ร้อยละ 61.30
References
กอบศักดิ์ มูลมัย. (2554). ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ สาขาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม) ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ชฎากาญจน์ เจริญชนม์. (2553). ภาวะผู้นำทางวิชาการที่มีผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1. (วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ศึกษาศาสตร์). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปฐม ปริปุนณังกูร. (2554). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2. (สารนิพนธ์ สาขาการบริหารการศึกษา). สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ทวีวรรณ จันทนาคิน. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของ ผู้บริหารสถานศึกษากับพฤติกรรมการสอนที่มีประสิทธิผลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. (วิทยานิพน์ สาขาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี
ธีระ รุญเจริญ. (2546). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง
ธีรวุฒิ เอกะกุล . (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ. (2542). การนิเทศการศึกษา: ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วารีรัตน์ ทองหมู่. (2554). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอวังสะพุง สังกัดนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. (วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
วิษณุ จุลวรรณ. (2547). การวิเคราะห์องค์ประกอบของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสระบุรี. พระนครศรีอยุธยา: สถาบันราชภัฎพระนครศรีอยุธยา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). คุณภาพของครูสู่คุณภาพแห่งการเรียนรู้ = Quality Teachers For Quality Learning: A Review of Teacher Education GREEN PAPER October 1997. (สุรศักดิ์ หลาบมาลา, ผู้แปลและเรียบเรียง). กรุงเทพฯ: สำนักงานปฏิรูปวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
อมรรัตน์ สาริย์มา. (2552). พฤติกรรมความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5. (วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ศึกษาศาสตร์). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Glickman, D. (2007). Supervision and instructional Leadership:A developmental approach. (7th ed.). Boston: Pearson international ed.
Hallinger, P. (2005). Instructional Leadership and the School Principal: A Passing Fancy that Refused to Fade Away, Leadership and Policy in schools, 4(3), 221-239 .
McEwan, K. (2003). 7 Steps to Effective Instructional Leadership. California: Corwin Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น