รูปแบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • สมาพร ลี้ภัยรัตน์ สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • ธานี เกสทอง ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • นันทิยา น้อยจันทร์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การบริหารคุณภาพ, ประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา 2) สร้างรูปแบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา มีขั้นตอนการวิจัย ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา โดยศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา โดยการตรวจสอบรูปแบบด้วยวิธีการสัมมนา อิงผู้เชี่ยวชาญ และขั้นตอนที่ 3 ประเมินรูปแบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา โดยการประเมินจากผู้อำนวยการโรงเรียนมาตรฐานสากล ผลการวิจัย พบว่า 1. การวิเคราะห์ องค์ประกอบการบริหารคุณภาพสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษาได้ 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร 2) การพัฒนาบุคลากร 3) การสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนา 4) การสร้างทีมงานในการ พัฒนานักเรียน 5) การควบคุมคุณภาพ 6) คุณภาพนักเรียน 7) การนำนโยบายคุณภาพสู่การปฏิบัติ และ 8) การบริหารจัดการ 2. รูปแบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย 3 ส่วนได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ส่วนที่ 2 เนื้อหาประกอบด้วยองค์ประกอบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล และกระบวนการบริหารคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล ส่วนที่ 3 เงื่อนไขความสำเร็จ และ 3. การประเมินรูปแบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก

References

ช่วงโชติ พันธุเวช. (2551). การจัดการศึกษาเชิงคุณภาพ SIPPO. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ดวงรัตน์ เรืองอุไร. (2558). แนวคิดของโจเซฟ เอ็ม จูรัน (Joseph M Juran). สืบค้น 2 ตุลาคม 2558, จาก https://www.gotoknow.org/posts/454819

ธีระ รุณเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดการและบริหารการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2545). ยอดกลยุทธ์การบริหารสำหรับองค์การยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์, ฉัตยาพร เสมอใจ, ชัยวัฒน์ เชี่ยวเชิงสันติ, ธีรพร พัดภู่ และสุภัทร อนามัย. (2546). TQM กลยุทธ์การสร้างองค์การคุณภาพ. กรุงเทพฯ: ธรรมกมลการพิมพ์.

นิตย์ สัมมาพันธ์. (2546). ภาวะผู้นำ : พลังขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

นุชนรา รัตนศิระประภา. (2557, กันยายน – ธันวาคม). สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณลักษณะโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(3), 507-528.

ปัฐวิกร พลอยประเสริฐ. (2552). อิทธิพลของการบริหารองค์กรตามหลักการ TQM ที่มีต่อการพัฒนานวัตกรรม. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพ ฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปรีชาชาญ อินทรชิต. (2556). การพัฒนายุทธศาสตร์สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีสมรรถนะสูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พิษณุ วระแสน. (2555). แนวทางการแก้ไขปัญหา การลงข้อมูลการตกเกรดสินค้าผิดพลาดในกระบวนการคัดแยกแผ่นเหล็ก. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ระยอง: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เมธี น้อมนิล. (2556). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของครูโรงเรียนเอกชนจังหวัดกำแพงเพชร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

เรขา ศรีวิชัย. (2554). รูปแบบการบริหารงานสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผล ในจังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2545). การจัดการคุณภาพจาก TQC ถึง TQM ISO 9000 และการประกันคุณภาพ. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

วีระเดช เชื้อนาม. (2547). เขย่า Balanced Scorecard แล้วลงมือทำทีละขั้นตอนตลอดแนว. กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง.

ศุภลักษณ์ เศษธะพานิช. (2550). ระบบการบริหารที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศของสถานศึกษา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีนิพนธ์). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมกิต บุญยะโพธิ์. (2555). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุชาดา บูรณะเดชาชัย. (2556). การบริหารศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในกลุ่มประเทศอาเซียน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากลฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย (2554). มัธยมศึกษายุคใหม่ สู่มาตรฐานสากล 2561. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2557). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) ของโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล ปี 2557-2558. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

European Mentoring & Coaching Council. (2015). About the European Quality Award (EQA). Retrieved September 15, 2015, from http://www.emccouncil.org/eu/en/accreditation/eqa.

Evans, J. R. (2006). Quality management, organization, startegy. New York: West Publishing.

Evans, J. R., and Lindsay, W. M. (1999). The management and control of quality. New York: West Publishing.

Hodgetts, R. M. (1999). Modern Human Relations at work (7thed). New York: Dryden Press.

Marquardt, M. J. (1996). Building the learning organization : A system approch to quantum improvement and global success. New York: McGraw-Hill.

Ministry of Ministration. (2000). The school excellence model : A guide Singapore. The School Appraisal Branch, Schools Division, Singapore: Ministry of Ministration.

Spring. (2015). The Singapore Quality Awards. Retrieved January 13, 2015, from

http://spring.gov.sq/portal/product/awards/sqa.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-19