รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อสอนวิศวศึกษาในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คำสำคัญ:
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, วิศวศึกษา, การพัฒนาครูบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิศวศึกษาสำหรับโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศึกษาคุณลักษณะครูสอนวิศวศึกษาในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเสนอรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อสอนวิศวศึกษาในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผลการวิจัยพบว่า
1. วิศวศึกษาสำหรับโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรเป็นหลักสูตรรายวิชาหรือกิจกรรมเพิ่มเติมมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีการคิดอย่างพอเพียง มีความเข้าใจท้องถิ่น มีความรู้และทักษะพื้นฐานวิศวกรรมศาสตร์บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคิดเป็นระบบแบบวิศวกร และมีจิตสำนึกบริการสังคม
2. คุณลักษณะครูสอนวิศวศึกษาสำหรับโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรมีจริยธรรมความเป็นครูและจิตสำนึกความเป็นท้องถิ่น มีความรู้และทักษะการจัดการเรียนรู้พื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และการจัดการเครือข่ายการจัดการเรียนรู้
3. รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อสอนวิศวศึกษาในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมี องค์ประกอบที่สำคัญคือ มีวิสัยทัศน์ แนวคิดและหลักการในการพัฒนาครูให้มีศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ พื้นฐานวิศวกรรมศาสตร์บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้คิดอย่างพอเพียง คิดเป็นระบบแบบวิศวกร มีความรู้และคุณธรรมเป็นพลเมืองโลกและความเป็นท้องถิ่นไทย
References
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2559). โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น. สืบค้น 5 ธันวาคม 2559, จาก http://www.dla.go.th/servlet/EbookServlet?ebookGroup=3
กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวทางการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง.
ธำรง เปรมปรีดิ์. (2542). คู่มือสำหรับการวางแผน เทคโนโลยีที่เหมาะสมและการจ้างงาน. เอกสารอัดสำเนา. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2558). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). การศึกษา 4.0 ความหวังของประเทศไทย. ในการศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา, 2-3.ไพฑูรย์ สินลารัตน์. บรรณาธิการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2557). การยกระดับคุณภาพครูไทย ในศตวรรษที่ 21. สืบค้น 25 พฤษภาคม 2559, จาก http://seminar.glf.or.th/file/DownloadFile/621
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็น พลเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2559). คู่มือวิทยากรในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง. กรุงเทพฯ: ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.
วิชาญ ภ่พูัฒน์. (2559). เทคโนโลยียั่งยืนกับการพัฒนา. เอกสารอัดสำเนา. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศุภรัตน์ รัตนมุขย์. (2556). รายงานผลการดำเนินวิจัย การเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองใส่ใจสังคม. สืบค้น 20 มีนาคม 2560, จาก www.psds.tu.ac.th>papera4.pdf
สินธะวา คามดิษฐ์. (2559). ประเทศไทย 4.0: การศึกษา 4.0. ใน การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา, 5-19. ไพฑูรย์ สินลารัตน์. บรรณาธิการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3) กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Guskey, T. R. (2000). Evaluation professional development. Retrieved November 1, 2016, from http://www2.rajsima.ac.th/media/panjai/p2.html
Kolmos, A., Du, X. Y., Holgaard, J. E., & Jensen L. P. (2008). Facilitation in a PBL environment. Aalborg University. Retrieved November 1, 2015, from http://www.ucpbl.net
Reeve, Edward M. (2013). Implementing science, technology, mathematics, and engineering (STEM) education in Thailand and in ASEAN.A Report Prepared for: The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST).
NAE and NRC (2009). Engineering in K-12 Education: Understanding the Status and Improving the Prospects. Retrieved November 1, 2015, from http://www.nae.edu/The Bridge.
UNESCO (2012). Progress report on the UNESCO Engineering Initiative (UEI). Retrieved December1, 2015, from http://www.unesco.org/new/fileadmin/MULTIMEDIA/HQ/SC/pdf/UEI_report_2012.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น