ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การบริหารความปลอดภัยขององค์กรและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของคนงานก่อสร้างในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
การรับรู้การบริหารความปลอดภัย, พฤติกรรมความปลอดภัย, อุบัติเหตุในการทำงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การบริหารความปลอดภัย ขององค์กรและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นหัวหน้างาน และคนงานก่อสร้างชาวไทยในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง จำนวน 357 คน ที่มีอายุการทำงาน ไม่น้อยกว่า 3 เดือน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test independent ค่า One way ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียวสัน โดยกำหนดค่าการยอมรับทางสถิติที่ 0.05 (p >0.05)
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของระดับการรับรู้การบริหารความปลอดภัยของ องค์กรโดยรวมอยู่ในระดับดี เมื่อจำแนกเป็นรายด้านทั้งหมด 4 ด้าน คือการจัดการองค์กร การจัดสภาพ แวดล้อมในการทำงาน การป้องกันอุบัติเหตุในการทำงาน และการจัดการสารเคมี มีคะแนนอยู่ในระดับดี การเปรียบเทียบปัจจัยด้านประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอายุงานกับพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานไม่มีความแตกต่าง กันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 มีเพียงรายได้ต่อเดือนที่พบว่า มีพฤติกรรมด้านความปลอดภัยใน การทำงานแตกต่างกัน ในกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท กับกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ ต่อเดือนมากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การบริหารความปลอดภัย ขององค์กรและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานพบว่า มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกทั้งในภาพ รวมและรายด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
กระทรวงแรงงาน. สำนักงานประกันสังคม.(2558). สถานการณ์สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ปี 2553 – 2557. สืบค้นวันที่ 17 สิงหาคม 2558 จาก http://www.sso.go.th/wpr/uploads/uploadImages/file/accidentanalyze53-57(1).pdf
แก้วฤทัย แก้วชัยเทียม. (2548). การรับรู้การจัดการความปลอดภัยและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
คมสันต์ ธงชัย, สุพรรณี ศรีอำพร, ภาณี ฤทธิ์มาก และสุพจน์ คำสะอาด. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการประสบอันตรายหรือบาดเจ็บจากการทำงานของคนงานก่อสร้างในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณัฐกิตติ์วัฒนพันธ์. (2549). การรับรู้ความปลอดภัยในการทำงานและพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของพนักงาน บริษัทผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ธัชพงษ์ แก้วเอื้อ. (2549). ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลปราณบุรี จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
นินนาท อ่อนหวาน. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในการทำงานของผู้ใช้แรงงานก่อสร้างในบริษัทรับเหมาในจังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
บริษัทอมตะ คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน). (2558). นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้จังหวัดระยอง. สืบค้นวันที่ 17 สิงหาคม 2558. จาก http://www.amata.com/thai/corporate_/.html
บุญชัย สอนพรหม. (2555). การศึกษาทัศนคติของคนงานก่อสร้างต่อสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุในอุตสาหกรรมก่อสร้าง: กรณีศึกษา บริษัท เอส ดับบลิว ที เทคโนโลยี แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
พิทยา แก้วคำแสน. (2553). การบริหารจัดการงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในงานก่อสร้างสำหรับผู้รับเหมา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รัตนาภรณ์เพ็ชรประพันธ์. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายโรงงาน. กรณีศึกษา: บริษัท ยูนีซัน จำกัด. หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
วุฒิพงษ์ กาสา. (2551). การป้องกันการกระทำผิดวินัยของข้าราชการตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัด ชลบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สถาปนิก ยืนยง. (2551). ปัจจัยเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการก่อสร้างอาคารพานิชยกรรมและอู่รถยนต์โดยสารของบริษัท 155 พีพีซีเอ็ม จำกัด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุธาทิพย์ รองสวัสดิ์. (2554). ปัจจัยการรับรู้เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ที่มีผลต่อพฤติกรรมในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ประจำการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.เชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เอมอัชฌา (รัตน์ริมจง) วัฒนบุรานนท์. (2548). ความปลอดภัย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Schemerhorn, J. R., Hunt, J. G. and Osborn, R. N. (2012). Organizational Behavior. (12th ed). New York: John Wiley & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น