สมรรถนะทางนวัตกรรมของเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ศจีพรรณ แสงอ่อน
  • กฤษณะ ดาราเรือง
  • สมเดช สิทธิพงศ์พิทยา

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, นวัตกรรม, เทศบาล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจัยภาวะผู้นำ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การจัดการความรู้ บรรยากาศองค์การ และสมรรถนะทางนวัตกรรมของเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการ 2) เปรียบเทียบสภาพปัจจัยภาวะผู้นำ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การจัดการความรู้ บรรยากาศองค์การ และสมรรถนะทางนวัตกรรมจำแนกตามประเภทของเทศบาล 3) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยเชิง เหตุผลที่ส่งผลต่อสมรรถนะทางนวัตกรรม และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลตามแบบจำลองสมการ โครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล และพนักงานของเทศบาล จำนวน 1,000 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การจัดการความรู้ บรรยากาศ องค์การ และสมรรถนะทางนวัตกรรมอยู่ในระดับสูง 2) เทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบลมี สภาพภาวะผู้นำ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การจัดการความรู้ บรรยากาศองค์การ และสมรรถนะทาง นวัตกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ทุกตัวแปรเชิงสังเกตที่ใช้ในการศึกษาเป็น องค์ประกอบเชิงยืนยันตามแบบจำลองสมการโครงสร้าง มีค่า Chi-square = 201.74 df = 182 P-value = 0.1506 RMSEA = 0.027 และมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ > 0.50 ทุกตัวแปร และ 4) สมรรถนะทาง นวัตกรรมได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในระดับต่ำและการจัดการความรู้ ในระดับปานกลาง และในขณะเดียวกันได้รับอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกมาจากภาวะผู้นำในระดับสูง และ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในระดับปานกลางโดยส่งผ่านการจัดการความรู้ โดยปัจจัยทั้งหมดดังกล่าว สามารถทำนายตัวแปรตามคือ สมรรถนะทางนวัตกรรมได้ร้อยละ 68 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กฤษณะ ดาราเรือง. (2559). การรับรู้ระดับบุคคลด้านวัฒนธรรมองค์การและการจัดการความรู้ที่มีอิทธิพลต่อนวัตกรรมของกลุ่มบริษัท KTIS. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(2), 58.

โกศล จิตวิรัตน์ และเนตร์พัณณา ยาวิราช. (2559). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยางพาราแปรรูปขั้นต้นภายใต้การเปลี่ยนแปลงในลักษณะเชิงพลวัต. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(1), 154.

ภานุ ลิมมานนท์. (2546). กลยุทธ์การจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พีดับบลิวพริ้นติ้ง.

รุจิภาส โพธิ์ทองแสงอรุณ, กอบกูล จันทรโคลิกา และภูมิพร ธรรมสถิตย์เดช. (2558). ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลทำให้เกิดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการดำเนินงานอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 20(3), 83.

วรเดช จันทรศร. (2541). ปรัชญาการบริหารภาครัฐ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สหายบล็อกและการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). PMQA การพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: วิชั่นพริ้นต์ แอนด์ มีเดีย.

สุทธนู ศรีไสย์. (2551). สถิติประยุกต์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์, อัจฉรา จันทร์ฉาย และประกอบ คุปรัตน์. (2554). ความสามารถในการจัดการความรู้กับความสามารถทางนวัตกรรมของผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรมในประเทศไทย. พัฒนบริหารศาสตร์, 51(1).

Amabile, T. M. (1988). A model of creativity and innovation in organizations, in Shaw, B.M. and Cummings, L. L. (Eds), Research in Organizational Behavior, (10), 123-67.

Avlonitis, G.J., Kouremenos, A., & Tzokas, N. (1994). Assessing the innovativeness of organizations and its antecedents: project innovstrat. European Journal of Marketing. 28(11), 5-28.

Bass, B. M. (1985). Leadership and Performance Beyond Expectations. New York: Free Press.

Diamantopoulos, A. and Siguaw, J. A. (2000). Introducing LISREL. London: Sage Publications.

Dubrin, A. J. (1984). Foundation of Organization Behavior. New York: Pergamon Press.

Hooper, D., Coughlan, J., & Mullen, M. (2008). Structural equation modeling: Guidelines for determining model fit. Electronic Journal of Business Research Methods, 6(1), 53-60.

Katz, D. (1964). The motivational basis of organizational behavior. Behavioral Science, (9), 131-133.

Kline, R. B. (1998). Principles and practice of structural equation modeling. NY: Guilford Press.

Marquardt, M. J. (1996). Building The Learning Organization: A Systems Approach to Quantum improvement and Global Success. New York: Mc Graw – Hill.

McDonough, E. (1993). Faster new product development, integrating the effects of technology and the characteristics of the project leader and team. Journal of Product Innovation Management, (10), 241-250.

Miller, D. & Friesen, P. (1983). Strategy-making and environment: The third link. Strategic Management Journal, 4(3), 221-235.

Mondy, R. W., Noe, R. M., & Premeaux, S. R. (1999). Human Resource Management. (7th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Sallis, E., & Jones, G. (2002). Knowledge Management in Education. London: Kogan.

Senge, P. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization, Doubleday, New York: Doubleday.

Steiger, J. H. (1990), Structural model evaluation and modification. Multivariate Behavioral Research, 25,214-12.

Thamain, H. J. (1990). Managing technological team efforts towards product success. Journal of Product Innovation Management, (7), 5-18.

Thamain, H. J. (1996). Managing self-directed teams’ efforts toward innovative results. Engineering Management Journal, (8), 31-39.

Tidd, J., Bessant, J., and Pavitt, K. (2001). Managing innovation: Integrating technology and organization change. (2nd ed.). Chichester: John Wiley.

Ullman, J. B. (2001). Structural equation modeling. In B. G. Tabachnick & L. S. Fidell (2001). Using Multivariate Statistics (4th ed& pp 653- 771). Needham Heights, MA: Allyn & Bacon.

Van de Ven, A. H. (1986). Central Problems in the Management of Innovation. Management Science, 32(5), 590-607.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-22