สาเหตุและลักษณะข้อมูลในการปรับงบการเงินย้อนหลังของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (กลุ่มทรัพยากร กลุ่มเทคโนโลยี และกลุ่มธุรกิจการเงิน)

ผู้แต่ง

  • สุฏิกา รักประสูติ

คำสำคัญ:

การปรับงบการเงินย้อนหลัง, การปรับงบการเงินย้อนหลังจากสาเหตุความผิดพลาด, ลักษณะข้อมูลที่เกิดจากความผิดพลาด

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องสาเหตุและลักษณะข้อมูลในการปรับงบการเงินย้อนหลัง ของบริษัทจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำหรับงบการเงินปี พ.ศ. 2557-2558 มุ่งศึกษาเพื่อ 1) ให้ทราบสาเหตุและ ลักษณะข้อมูลในการปรับงบการเงินย้อนหลัง 2) เปรียบเทียบขนาดและผลประกอบของการบริษัทที่ปรับ งบการเงินจากสาเหตุการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี และความผิดพลาด 3) วิเคราะห์ลักษณะข้อมูลที่มี การปรับงบการเงินย้อนหลังที่เกิดจากความผิดพลาด และ 4) เสนอแนะแนวทางการตรวจสอบสาเหตุที่ แท้จริงในการปรับงบการเงินย้อนหลังของบริษัทจดทะเบียนฯ 3 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มทรัพยากร กลุ่มเทคโนโลยี และกลุ่มธุรกิจการเงิน ผลการวิจัยพบว่า “สาเหตุการปรับงบการเงินย้อนหลังจาก สาเหตุการปรับใช้มาตรฐานบัญชีของบริษัทและจากสาเหตุความผิดพลาดพบในบริษัทขนาดเล็กมากกว่า ขนาดใหญ่” และ “ บริษัทกลุ่มตัวอย่างที่มีผลประกอบการขาดทุนมีการปรับงบการเงินย้อนหลังจาก สาเหตุการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี และความผิดพลาด มากกว่าบริษัทที่มีผลประกอบการที่มีกำไร” ตลอดจนพบว่า “ลักษณะข้อมูลของบริษัทที่ปรับงบการเงินย้อนหลังจากสาเหตุความผิดพลาดมีลักษณะ ข้อมูลมีลักษณะแตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่เกิดจากบริษัทย่อย สำหรับผลการตรวจสอบหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อเสนอแนะแนวทางการตรวจสอบพบว่า กิจกิจการที่มีการเติบโตสูงจะมีการปรับงบการเงินย้อนหลังจาก ความผิดพลาดลดลง ดังนั้นกิจการที่มีผลการดำเนินงานขาดทุน อาจเป็นสาเหตุที่แท้จริงให้มีการปรับงบ การเงินย้อนหลังสาเหตุจากความผิดพลาดดังกล่าว

References

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2559). ข้อมูลบริษัทจดทะเบียน, สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.set.or.th/set/commonslookup.do

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2559). FSTHL: FTSE SET Large Cap. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2559, จาก http://marketdata.set.or.th/mkt/ftsequotation.do?indexID=FSTHL&language=th&country=TH

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 (ปรับปรุง 2558) เรื่อง นโยบายบัญชีการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางการบัญชีและข้อผิดพลาด. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2558 จาก http://www.fap.or.th/images/column_1450922956/TAS%208-web.pdf

Albring, S. M., Huang, S. X., Pereira, R., & Xu, X. (2013). The effects of accounting restatements on firm growth. Journal of Accounting and Public Policy, 32(5), 357-376.

Anderson, K. L., & Yohn, T. L. (2002).The effect of 10K restatements on firm value, information asymmetries, and investors’ reliance on earnings. Information Asymmetries, and Investors’ Reliance on Earnings (September 2002).

Carrol, A., & Laing, G. (2016). Manipulation of earnings through correction of prior period errors (AASB108): An empirical test.e-Journal of Social & Behavioural Research in Business, 7(1), 16.

Dechow, P. M., Ge, W., Larson, C. R., & Sloan, R. G. (2011). Predicting Material Accounting Misstatements. Contemporary Accounting Research, 28(1), 17-82.

Palmrose, Z. V., & Scholz, S. (2000). Restated financial statements and auditor litigation. Available at SSRN 248455.

Park, J. J. (2009). Assessing the materiality of financial misstatements. Journal of Corporation Law, 34, 513.

Raghunandan, K., & Rama, D. V. (2007). Determinants of audit committee diligence. Accounting Horizons, 21(3), 265-279.

Scholz, S. (2014). Financial Restatement Trends in the United States: 2003-2012. Retrieved August 20, 2016. Fromhttp://www.thecaq.org/docs/reports-and-publications/financial-restatementtrends-in-the-united-states-2003-2012.pdf

Wang, Y. F. (2013). Internal control and financial quality: evidence from post-SOX restatement. Accounting & Taxation, 5(1), 19-28.

Zhihua, W. Y. W. (2008). The Theoretical Review of Financial Restatement Research [J]. Securities Market Herald, 3, 011

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-22