การพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • พงษ์ศักดิ์ คมแก้ว
  • จินต์ วิภาตะกลัศ
  • กฤษณะ ดาราเรือง

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การบริหารจัดการศึกษา, มจร.

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาระดับการบริหารจัดการตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) แนวปฏิบัติของผู้บริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 และประสิทธิผลการบริหารจัดการ ศึกษาของ มจร. 2) เปรียบเทียบความเห็นของผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรที่มีต่อการบริหารจัดการตามพันธกิจ แนวปฏิบัติผู้บริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 และประสิทธิผลการบริหารจัดการศึกษาของ มจร. 3) วิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการศึกษาของ มจร. และ 4) นำเสนอแนวทางการบริหารจัดการศึกษา ที่มีประสิทธิผลของ มจร. ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการศึกษาของ มจร. ในประเทศไทย จำนวน 1,364 รูป/คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณแบบ สเต็ปไวซ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพรวมการบริหารจัดการตามพันธกิจหลักของ มจร. แนวปฏิบัติของผู้บริหารตาม หลักพรหมวิหาร 4 และประสิทธิผลการบริหารจัดการศึกษาของ มจร. ทุกด้านอยู่ในระดับสูง 2) ทัศนคติของผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร ที่มีต่อการบริหารจัดการตามพันธกิจหลักของ มจร. มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ส่วนแนวปฏิบัติของผู้บริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 และประสิทธิผลการบริหารจัดการศึกษาของ มจร. พบว่าไม่แตกต่างกัน 3) มี 10 ตัวแปรจาก 61 ตัวแปร เป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการ ศึกษาของ มจร. โดยทั้ง 10 ตัวแปรดังกล่าวสามารถอธิบายความแปรปรวนหรือทำนายประสิทธิผลฯ ได้ร้อยละ 42.70 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ 4) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของ มจร. ประกอบด้วย 1) การพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารและบุคลากร 2) พัฒนากระบวนการเรียนการสอน กิจกรรมเสริม หลักสูตร ตลอดจนการบริหารจัดการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษาของ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 3) พัฒนาการบริหารจัดการงบประมาณ 4) สร้างวัฒนธรรมองค์การที่ดี ให้เกิดขึ้นในองค์การและ 5) พัฒนาเครือข่ายเพื่อการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาการจัดการศึกษา

References

พระเทพปริยัติเมธี (สฤษฏิ์สิริธโร). (2553). ภาวะผู้นำเชิงพุทธกับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย. (รายงานวิจัย). พระนครรศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุทัศน์ ติสฺสรวาที, สมบูรณ์ บุญฤทธิ์, สุพรต บุญอ่อน, บุญหนา จิมานัง, และไฉไลฤดี ยุวนะศิริ. (2556). แนวทางการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สืบค้นวันที่ 6 พศจิกายน 2558, จาก http://www.mcu.ac.th/site/philosophy.php.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2540). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2556). รายงานประเมินตนเองมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). เกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษา 2554. สืบค้นวันที่ 10 พศจิกายน 2558, จาก http://www.ubu.ac.th/web/files_up/09f2012020911364560.pdf.

สุพล เครือมโนรมณ์. (2553). การใช้หลักพุทธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อรสา ภาววิมล. (2553). การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาไทย ตามแนวคิดจัดการความรู้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

Arnold, H. J., & Feldman, D. C. (1986). Organizational behavior. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-22