ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้บรรยากาศองค์การกับการพัฒนาตนเองของพนักงานสายงานบริการลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • จิราวรรณ ปัญญาคำ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ศิวะนันท์ ศิวพิทักษ์ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • โสภณ แย้มกลิ่น คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การรับรู้บรรยากาศองค์การ, การพัฒนาตนเอง, พนักงานสายงานบริการลูกค้า

บทคัดย่อ

การรับรู้บรรยากาศองค์การเป็นความรู้สึกนึกคิดของพนักงานที่มีต่อหน่วยงานที่พวกเขาสังกัดอยู่ โดยความรู้สึกนึกคิดดังกล่าวจะสะท้อนให้เห็นถึงค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมของพนักงานภายใต้สภาพ แวดล้อมในการทำงาน ดังนั้นหากบรรยากาศองค์การดีการปฏิบัติหรือการพัฒนาตนเองของพนักงานก็ย่อม จะดีตามไปด้วย งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้บรรยากาศองค์การกับการพัฒนาตนเอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือพนักงานสายงานบริการลูกค้า ของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาไมโครบร๊านซ์ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 25 สาขา สาขาละ 8 คน รวมทั้งสิ้น 200 คน โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า บรรยากาศองค์การในภาพรวมมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับการพัฒนาตนเองของพนักงานสาย งานบริการลูกค้า ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาไมโครบร๊านซ์ในเขตกรุงเทพมหานคร ในระดับ ปานกลาง

References

กล้าหาญ ณ น่าน. (2555). หลักการจัดการและองค์การ. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

จรงกรณ์ บุญกรุด. (2549). บรรยากาศขององค์การที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงาน สายการผลิตของบริษัท ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ จำกัด (มหาชน) (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชูศักดิ์ เที่ยงตรง. (2555). การบริหารงานบุคคลในภาครัฐกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เด่นพงษ์ พลละคร. (2555). การพัฒนาบุคคล. วารสารเพิ่มผลผลิต, 28 (21 ธันวาคม 2555), 21.

บรรยงค์ โตจินดา. (2558). การบริหารงานบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2538). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2550). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

พจน์ เพชระบูรณิน. (2548). การพัฒนาตนเอง. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ภัคกัลป์ คเณศวรานันท์. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับการพัฒนาตนเองของพนักงานส่วนบริการข่ายสายนครหลวงที่ 4.2 บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ยุรพร ศุทธรัตน์. (2556). องค์การเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: แอคทีฟพริ้นท์.

รติกรณ์ จงวิศาล. (2554). มนุษยสัมพันธ์: พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วันชัย มีชาติ. (2549). การบริหารองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สงวน สุทธิเลิศอรุณ. (2550). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาฅน. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.

สุธี สุทธิสมบูรณ์ (2557). หลักการบริหารเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สวัสดิการสำนักงาน ก.พ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แนวคิดและทิศทางการพัฒนาประเทศช่วงแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: เม็ดทรายพริ้นติ้ง.

อุทุมพร จามรมาน. (2558). การจัดการองค์การ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Gregg , Russell T. (1957). The Administrative Process: Administrative Behavior in Education. New York: Harper Brothers Publishers.

Kinsbury, Joseph B. (1963). Personnel Administration for Thai Student. Bangkok: Institute of Public Administration.

Litwin, G. H. and Stringer, J. A. (1968). Motivation and Organization Climate. Boston: Harvard University.

Woodward, M., & Walker, A.R.P. (1994). Sugar consumption and dental caries: Evidence from 90 countries. Br Dent J, 176, 12.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-22