การพยากรณ์การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของประเทศไทยและเวียดนามด้วยแบบจำลอง ARIMAX

ผู้แต่ง

  • อนุวัฒน์ ชลไพศาล

คำสำคัญ:

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ, ดัชนีชี้นำ, แบบจำลอง ARIMAX

บทคัดย่อ

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทยและ เวียดนามในกรอบความร่วมมือต่างๆ ในปัจจุบัน บทความนี้ใช้แบบจำลอง ARIMAX เพื่ออธิบายปัจจัย ด้านเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของไทยและเวียดนามในรอบระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา และพยากรณ์ปริมาณการลงทุนของทั้งสองประเทศไปในอนาคต

ผลการศึกษาพบว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อประชากร อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง อัตราการเปิดประเทศ และอัตราแลกเปลี่ยน สามารถใช้เป็นตัวแปรชี้นำการลงทุนโดยตรงของสองประเทศได้ดี โดยอัตราการเปิดประเทศเป็นปัจจัยที่สร้างผลส่วนเพิ่มต่อการตัดสินใจลงทุนมากกว่าปัจจัยตัวอื่น ผลการศึกษานี้ยืนยันความสำคัญของนโยบายส่งเสริมการลงทุนในลักษณะเสรี นอกจากนี้แบบจำลองพยากรณ์ว่า ปริมาณการลงทุนโดยตรงของทั้งสองประเทศจะบรรจบกันในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2560

References

กมลวรรณ สารพานิช (2555). การพยากรณ์ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าด้วยวิธี ARIMA และ ARIMAX. วิทยานิพนธ์ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ชนินทร์ มีโภคีและคณะ (2554). การพัฒนาความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง. รายงานวิจัยเสนอ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Box, P. and Jenkins, M. (1970). Time Series Analysis: Forecasting and Control. San Francisco: Holden-Day

Brooks, D., Fan E., and SumulongL. (2003). FDI in DevelopingAsia: Trends, Effects and Issues for the WTO Negotiations. ADB Working Paper, 38.

Campos, N. andKinoshita Y. (2003). Why Does FDI Go Where It Goes? New Evidence from the Transition Economies. IMF Working Paper, 03/288.

Chakrabarti, A. (2001). The Determinants of Foreign Direct Investment: Sensitivity Analyses of Cross-country Regression. Kyklos54, 89-114.

Cooper, R. (2002). Growth and Inequality: the Role of Foreign Trade and Investment. Annual World Bank Conference on Development Economies 2001/2002.

Fujimura, M. and Edmonds C. (2006). Impact of Cross-border Transport Infrastructure on Trade and Investment in the GMS. ADB Discussion Paper, 48.

Moosa, A. (2002). Foreign Direct Investment: Theory, Evidence and Practice. New York: Palgrave Macmillan.

Pham, H. (2002). Regional Economic Development and Foreign Direct Investment Flows in Vietnam. Journal of the Asia Pacific Economy, 7(2), 182–202.

Sufian, M. and Sidiropoulos M. (2010). AnotherLook at the Determinant of FDI in MENA Countries. Journal of Economic Development, 35(2), 75-94.

Tien T. Q. (2009). Sudden Surge in FDI and Infrastructure Bottlenecks: the Case of Vietnam. ASEAN Economic Bulletin, 26(1), 58-76.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-23