การรู้เท่าทันการสื่อสารกับการขับเคลื่อนวาระปฏิรูปสังคมไทยในยุคดิจิทัล
คำสำคัญ:
รู้เท่าทันการสื่อสาร, ปฏิรูปการสื่อสาร, ความเป็นพลเมืองดิจิทัล, พลเมืองในสังคมประชาธิปไตยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะการรู้เท่าทันการสื่อสาร ทัศนะและพฤติกรรมการสื่อสารที่สะท้อนความเป็นพลเมืองดิจิทัลในสังคมประชาธิปไตย และเพื่อแสวงหาแนวทางการส่งเสริมการรู้เท่าทันการสื่อสารเพื่อปฏิรูปสังคมไทยด้านการสื่อสารในยุคดิจิทัล ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายประชากรในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คนและ ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละและค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่า ระดับการรู้เท่าทันการสื่อสารของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มระดับปานกลาง ร้อยละ 54.5 ส่วนกลุ่มระดับสูงมีเพียงร้อยละ 14.75 กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ ที่อาจเกิดผลกระทบทางลบในระดับน้อยที่สุด ส่วนใหญ่เป็นการใช้สื่อออนไลน์มากเกินไปจนกระทบต่อสุขภาพ ต่อการงานหรือการเรียน และทำให้ขาดการติดต่อแบบเผชิญหน้ากับบุคคลใกล้ชิดเป็นเวลานาน ส่วนพฤติกรรมการสื่อสารที่สะท้อนความเป็นพลเมืองดิจิทัลในสังคมประชาธิปไตย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีบทบาทในการตรวจสอบสังคมน้อย และคาดหวังให้สื่อมีบทบาทตรวจสอบสังคมและสร้างสรรค์สติปัญญา แก่ประชาชนมากขึ้น
แนวทางการปฏิรูปสังคมไทยด้านการสื่อสารในยุคดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าควรสอน การรู้เท่าทันการสื่อสารในหลักสูตรตั้งแต่มัธยมศึกษาถึงอุดมศึกษา และมีเครือข่ายส่งเสริมการเรียนรู้ เท่าทันการสื่อสารให้สังคมตรวจสอบคุณภาพสื่อและสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และรับผิดชอบ ดังนั้น วาระการปฏิรูปสังคมที่สำคัญคือ การส่งเสริมการรู้เท่าทันการสื่อสารเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัล ในสังคมประชาธิปไตยเน้นส่งเสริมมิติการสร้างสรรค์และมีส่วนร่วม
References
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สืบค้น 30 มิถุนายน 2559, จาก http://www.mict.go.th/assets/portals/1/files/590613_4Digital_Economy_Plan-Book.pdf
กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
การดา ร่วมพุ่ม. (2558). บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับการสร้างสังคมรู้เท่าทันสื่อ. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 9(1), มกราคม – มิถุนายน, 79-99.
ไทยรัฐฉบับพิมพ์. (2559, 2 พฤษภาคม). ไขรหัส “ประเทศไทย 4.0” สร้างเศรษฐกิจใหม่ ก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง. ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้น 30 มิถุนายน 2559, จาก http://www.thairath.co.th/content/613903
เบลลันกา, เจมส์ และ แบรนต์, รอน. (บ.ก.) (2556). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 (ฉบับปรับปรุง) (21 st century skills: Rethinking how students learn). (วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรืองและ อธิป จิตตฤกษ์, ผู้แปล). กรุงเทพ: โอเพ่นเวิด์ลส. (ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ.2010)
พิรงรอง รามสูต. (2554). การปฏิรูปสื่อในประเทศไทย. วารสารอิศราปริทัศน์,1(1), 147-164.
Center for Media Literacy.(n.d.). What is Media Literacy? A Definition...and More. Retrieved October 1, 2014, from http://www.medialit.org/reading-room/what-media-literacy-definitionand-more
Hobbs, R. and Moore, D.C. (2013). Discovering Media Literacy. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
Kuder, G.F., and Richardson, M.W. (1973).The Theory of the Estimation of Test Reliability. Psychometrika,2, 151-160.
Nupairoj, N. (2015). Media Literacy Learning Scheme for Thai Generation Y. (Doctoral dissertation). Bangkok: National Institute of Development Administration.
Ribble, M. (2011). Digital Citizenship in Schools. Retrieved June 10, 2015, from https://www.iste.org/docs/excerpts/DIGCI2-excerpt.pdf
The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO). (2013a). Global media and information literacy assessment framework: Country readiness and competencies. Paris, France: UNESCO. Retrieved October 1, 2014, from http://www.unesco.org/new/en/communication-and-information/resources/publications-and-communication-materials/publications/full-list/global-mediaand-information-literacy-assessment-framework/
The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO). (2013b). Media and Information Literacy: Policy and Strategy Guideline. Retrieved December1, 2016, from
Yamane, T. (1973). Statistics. New York: Harper and Row Publication.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น