การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานด้านการเลือกหลักทรัพย์และด้านการจับจังหวะเวลาการลงทุนระหว่างกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สุพรรษา ลอรี่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • ธีราลักษณ์ สัจจะวาที คณะบัญชี การเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยพายัพ

คำสำคัญ:

ผลการดำเนินงานด้านการเลือกหลักทรัพย์, ผลการดำเนินงานด้านการจับจังหวะเวลาการลงทุน, กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF), กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลการดำเนินงานด้านการเลือกหลักทรัพย์ลงทุน (2) ศึกษาผลการดำเนินงานด้านการจับจังหวะเวลาการลงทุน (3) เปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่างกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) การวัดผลการดำเนินงานด้านการเลือกหลักทรัพย์ใช้มาตรวัด Treynor (1965) Sharpe (1966) และ Jensen (1968) การวัดผลการดำเนินงานด้านการจับจังหวะเวลาการลงทุนใช้มาตรวัด Treynor and Mazuy (1966) และ Henriksson and Merton (1981) รวมจำนวนกองทุนทั้งสิ้น 109 กองทุน โดยใช้ข้อมูลรายสัปดาห์ สถิติเชิงอนุมานที่นำมาใช้ ได้แก่ สถิติ Binomial test สถิติ t-test ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05

ผลการศึกษาผลการดำเนินงานด้านการเลือกหลักทรัพย์ของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) โดยมาตรวัด Treynor พบว่ากองทุนรวมส่วนใหญ่มีผลการดำเนินงานที่ต่ำกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ตลาด ผลการดำเนินงานด้านการเลือกหลักทรัพย์ของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) โดยมาตรวัด Treynor และ Sharpe พบว่ากองทุนรวมส่วนใหญ่มีผลการดำเนินงานที่ต่ำกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ตลาด สำหรับผลการดำเนินงานด้านการจับจังหวะเวลาการลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ซึ่งวัดผลโดยมาตรวัด Treynor and Mazuy และ Henriksson and Merton พบว่ากองทุนรวมส่วนใหญ่ มีผลการดำเนินงานที่ต่ำกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ตลาด ณ ระดับนัยสำคัญที่ 0.01 ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน สรุปได้ว่าผลการดำเนินงานของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) สูงกว่าผลการดำเนินงานของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ณ ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 และ 0.01

References

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2561ก). RMF คืออะไร. สืบค้น 4 ธันวาคม 2562, จาก https://www.set.or.th/education/th/begin/mutualfund_content09.pdf.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2561ข). LTF คืออะไร. สืบค้น 4 ธันวาคม 2562, จาก https://www.set.or.th/education/th/begin/mutualfund_content08.pdf.

ธีราลักษณ์ สัจจะวาที. (2557). ผลการดำเนินงานจากการจับจังหวะเวลาการลงทุน. สุทธิปริทัศน์, 28(85), 23-44.

พจนกร สุขวุฒิชัย, และชัยวัฒน์ นิ่มอนุสสรณ์กุล. (2560). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพผลการดำเนินงานของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF). สืบค้น 3 ธันวาคม 2562, จาก https://www.econ.cmu.ac.th/econ_paper/admin/files/paper/581632028/069%20%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%20%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%20581632028.pdf.

พรอนงค์ บุษราตระกูล. (2546). การลงทุนพื้นฐานและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฤทธิ์ชาติ นิมมานเหมินท์ และคณะ. (2561). ผลการดำเนินงานด้านการจับจังหวะเวลาการลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในประเทศไทย โดยใช้แบบจำลองของ Treynor and Mazuy (1966) และแบบจำลองของHenriksson and Merton (1981). ธุรกิจปริทัศน์, 10(2), 55-74.

สุกัญญา ภู่สุวรรณรัตน์. (2553). การประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2561). รายงานประจำปี. สืบค้น 4 ธันวาคม 2562, จาก https://www.sec.or.th/TH/Pages/Information/pagelinkAP/Annual-Reports.aspx.

Dellva, W. L., DeMaskey, A. L., & Smith, C. A. (2001). Selectivity and market timing performance of fidelity sector mutual funds. The Financial Review, 36, 39-54.

Fama, E. (1972). Components of investment performance. The Journal of Finance, 27, 551-568.

Henriksson, R. D., & Merton, R. C. (1981). On market timing and investment performance II. statistical procedures for evaluating forecasting skills. Journal of Business, 54, 513-533.

Jegasothy, K., Tippet, J., & Satjawathee, T. (2005). Evaluation of the joint behavior of performance and risk in the Thailand Equity Fund Market. Global Business & Economics Anthology, December 2005, 158-163.

Jensen, M.C. (1968). The performance of mutual funds in the period 1945-1964. The Journal of Finance, 23, 389-416.

Longani, R., Satjawathee, T., & Jeagasothy, J. (2013). Selectivity and market timing performance in a developing country’s fund industry: Thai Equity Funds case. Journal of Applied Finance and Banking, 3, 89-108.

Sharpe, W.F. (1966). Mutual fund performance. Journal of Business, 39, 119-138.

Sotouki, S. (2014). Timing and selection ability of long-term equity funds in Thailand (Master's thesis). Bangkok: International University of the Thai Chamber of Commerce.

Treynor, J. L. (1965). How to rate management of investment funds. Harvard Business Review, 43, 63-75.

Treynor, J. L., & Mazuy, K. K. (1966). Can mutual fund outguess the market?. Harvard Business Review, 44, 131-136.

Veit, E. T., & Cheney, J. M. (1982). Are mutual funds market timers?. Journal of Portfolio Management, 8, 35-42.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-23