ปัจจัยเชิงเหตุของพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมของนักศึกษา ปริญญาตรีมหาวิทยาลัยภาครัฐในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ปิ่นกนก วงศ์ปิ่นเพ็ชร์ คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสิ่งแวดล้อม, เจตคติต่อพฤติกรรมสิ่งแวดล้อม, การรับรู้ความสามารถของตนในการแสดง พฤติกรรมสิ่งแวดล้อม, ค่านิยมส่วนบุคคล, ความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรมสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมของนักศึกษาปริญญาตรี และ เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยภาครัฐในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีจาก มหาวิทยาลัยภาครัฐในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 446 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์แบบจำลองโครงสร้าง ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ผลการวิจัยพบว่าระดับพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมของนักศึกษาปริญญาตรีมหาวิทยาลัย ภาครัฐในเขตกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับมาก และผลการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิง สาเหตุของพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมของนักศึกษาปริญญาตรีมหาวิทยาลัยภาครัฐในเขตกรุงเทพมหานครมี ความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยผลการวิจัยพบว่าเจตคติต่อพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพล ทางตรงต่อความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมแต่ไม่พบว่ามีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรม สิ่งแวดล้อมการรับรู้ความสามารถของตนในการแสดงพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลทางตรงต่อ ความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมค่านิยมส่วนบุคคลมีอิทธิพล ทางตรงต่อความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรมสิ่งแวดล้อม แต่ไม่พบว่ามีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรม สิ่งแวดล้อมอย่างไรก็ตามผลวิจัยพบว่าค่านิยมส่วนบุคคลมีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมผ่าน การรับรู้ความสามารถของตนในการแสดงพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมและความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรม สิ่งแวดล้อมสำหรับความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมพบว่ามีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรม สิ่งแวดล้อม

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2558). คนเราตัดสินใจเพื่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: ส.ไพบูลย์การพิมพ์.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์, สุภมาส อังศุโชติ, และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2550). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS. กรุงเทพฯ: บริษัท มิสชั่น มีเดีย จำกัด.

สุรเมศวร์ พิริยะวัฒน์ สรวิศ นฤปิติ และธิษัณย์ พฤทธิพงษ์. (ม.ป.ป.). ทฤษฎีทัศนคติและพฤติกรรม: ทางเลือกสำหรับการวิเคราะห์พฤติกรรมการเดินทาง. สืบค้น 24 กุมภาพันธ์ 2560, จาก www.surames.com/images/.../TRP-01_surames%20piriyawat.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

อรพินทร์ ชูชม. (2545). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือทางพฤติกรรมศาสตร์. (เอกสารประกอบคำสอน). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Ajzen, I. (1991). The Theory of Planned Behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50,179-211.

Bronfman, N. C., Cisternas, P. C., Vazquez, E. L., De la Maza, C., & Oyanedel, J. C. (2015). Understaning Attitudes and Pro-Environmental Behaviors in a Chilean Community, Sustainability, 7, 14133-14152.

Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A First Course in Factor Analysis (2nd ed.). Hillsdale, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

De Groot, J. I. M., & Steg, L. (2009). Mean or green: which values can promote stable pro-environmental behavior?. A Journal of the Society for Conservation Biology, 2(2), 61-66.

De Leeuw, A., Valois, P., Ajzen, I., & Schmidt, P. (2015). Using the theory of planned behavior to identify key beliefs underlying pro-environmental behavior in high-school students: Implications for educational interventions, Journal of Environmental Psychology, 42, 128-138

Hassen, M. N. A., Farhan, M. P., Almsafir, M. K., & Alias, R. (2015). Exploring Environmental Behavior at Green Office Building Using Theory of Planned Behavior (TPB), In Proceeding of the 3nd National Graduate Conference (Nat Grad 2015) (p. 360-365). Universiti Tenaga Nasional, Putrajaya Campus.

Juraite, K. (2002). Environmental Consciousness and Mass Communication: Construction of Public Opinion on the Environment in the Mass Media. Department of Sociology, Vytautas Magnus University, Kaunas, Lithuania.

Lee, J. W. C., & Tanusia, A. (2016) .Energy conservation behavioral intention: attitudes, subjective norm and self efficacy. In Proceeding of 2016 International Conference on New Energy and Future Energy System (p.1-12). IOP Publishing Ltd.

Manika, D., Wells, V .K., Gregory-Smith, D., & Gentry, M. (2015). The Impact of Individual Attitudinal and Organisational Variables on Workplace Environmentally Friendly Behaviours. Journal of Business Ethics, 126(4), 663–684.

Mas’odl, A., Sulaiman, Z., Hashim, N. H. & Khalifah, Z. (2016). The Moderating Role of Integrated Persuasive Communication Message Towards Pro-Environmental Behaviour. The Social Sciences, 11(20), 4924-4931.

Sahin, E., Ertepinar, H., & Teksoz, G. (2012). University students’ behaviors pertaining to sustainability: A structural equation model with sustainability-related attributes, International Journal of Environmental & Science Education, 7(3), 459-478.

Tabernero, C., & Hernández, B. (2011). Self-Efficacy and Intrinsic Motivation Guiding Environmental Behavior. Environment and Behavior, 43(5), 658-675.

Manolas, E. (2015). Promoting Pro-environmental Behavior: Overcoming Barriers, Aegean Journal of Environmental Sciences, 1, 13-21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-23