การศึกษาแรงจูงใจของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในการเรียนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนกวดวิชา

ผู้แต่ง

  • ชวิศา พิศาลวัชรินทร์ สาขาภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาอาชีพ คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • กษมา สุวรรณรักษ์ คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

แรงจูงใจภายใน, แรงจูงใจภายนอก, โรงเรียนกวดวิชา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจภายในและแรงจูงใจภายนอกของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในการเรียนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนกวดวิชาและปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจของผู้เรียน ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จากผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยของแรงจูงใจภายในและภายนอกอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x&space;} = 2.51-3.50) โดยในส่วนของแรงจูงใจภายในพบว่า ‘ต้องการเก่งภาษาอังกฤษ’ ได้รับคะแนนเฉลี่ยสูงสุด (gif.latex?\bar{x&space;} = 4.41) และ ‘สนใจในสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา’ ได้รับคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด (gif.latex?\bar{x&space;} = 2.82) ในส่วนของแรงจูงใจภายนอก ‘จะได้เปรียบผู้อื่นในการเลือกอาชีพ และมีรายได้มากขึ้นในอนาคต’ ได้รับคะแนนเฉลี่ยสูงสุด (gif.latex?\bar{x&space;} = 4.18) และ ‘มีความคาดหวังว่าจะได้รับรางวัลตอบแทนจากผู้ปกครอง หากผลการเรียนภาษาอังกฤษดีขึ้น’ ได้รับคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด (gif.latex?\bar{x&space;} = 2.09) นอกจากนี้ จากการสัมภาษณ์พบว่ามีปัจจัย 6 ประการที่มีผลต่อแรงจูงใจของผู้เรียน ประกอบด้วย การประกอบอาชีพในอนาคต การศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ความสำเร็จในการเรียนภาษาอังกฤษ บุคคลมีชื่อเสียงที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาอังกฤษ ภาพลักษณ์ของโรงเรียนกวดวิชา และความคาดหวังของผู้ปกครอง ผลการวิจัยในครั้งนี้นำมาซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหลักสูตรและแนวทางการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับแรงจูงใจของผู้เรียนมากยิ่งขึ้น

References

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. (2560). ไทยและความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ความคืบหน้าและทิศทางอนาคต. สืบค้น 30 พฤษภาคม 2562, จาก http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/asean-media-center-20170418-160330-711791.pdf

กฤษณา ศรีจันทร์แดง, และไกรชิต สุตะเมือง. (2557). แรงจูงใจในการสมัครเข้าทำงานในกลุ่มประเทศอาเซียนของนักศึกษาระดับปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาดและการบริหารธุรกิจ, 4(1), 44-65.

เผิง ลี่ติง. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาจีนของนักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 15(28), 27-38.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2545). การกวดวิชาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

ศุภิกา นิรัติศัย. (2561). ทัศนคติ แรงจูงใจ และพฤติกรรมการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 9(2), 138-170.

Dörnyei, Z. (1994). Motivation and motivating in the foreign language classroom. Modern Language Journal, 78(3), 273-284.

Gardner, R. C., & Lambert, W. E. (1972). Attitudes and motivation in second language learning. Rowley, MA: Newbury House Publishers.

Gardner, R. C. (1985). Social psychology and second language learning: The role of attitudes and motivation. London: Edward Arnold.

Lee, C. W., & Kim, M. S. (2017). The motivation for learning Korean among the Taiwanese. Ecoforum, 6(3), 1-8. Retrieved May 25, 2019, from https://pdfs.semanticscholar.org/c4e3/ccc5ca4e622b42e915c069b36cc51a3cde3e.pdf?_ga=2.69176657.1108319397.1556364883-1323528718.1556364883

Maduerawae, H. (2014). Attitudes and motivation in english language learning: A case study of Attarkiah Islamiah School (Master’s Thesis). Bangkok: National Institute of Development Administration.

Murtiana, R. (2011). Student’s perceptions of native speaker and non-native speaker teachers: Implication for teacher education. Paper presented at the 5th International Seminar: Teacher Education in the Era of World Englishes, Satya Wacana Christian University, Salatiga.

Thongsonkleep, K., & Suwanarak, K. (2018). Students’ perceptions towards the roles of local English language tutors and problems of learning English in preparation for the AEC. NIDA Journal of Language and Communication, 22(30), 1-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-23