ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางจิตใจ และสังคมกับระดับจิตอาสาของนักศึกษากลุ่มเจนเนอเรชั่น ซี ในจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
เจนเนอเรชั่น ซี, จิตอาสา, ลักษณะทางจิตใจ, ลักษณะทางสังคมบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะทางจิตใจและสังคม (2) ระดับจิตอาสา (3) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางจิตใจและสังคม และระดับจิตอาสาของนักศึกษาเจนเนอเรชั่น ซี โดยมีสมมุติฐานว่า ลักษณะทางจิตใจและสังคมมีความสัมพันธ์กับระดับจิตอาสา การศึกษาครั้งนี้เก็บข้อมูล จากนักศึกษาจำนวน 433 คน จากมหาวิทยาลัยในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบสอบถาม ใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานตัวแปรและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการศึกษาพบว่าลักษณะทางจิตใจประกอบด้วยทัศนคติทางสังคมอยู่ ในระดับปานกลาง การปรับตัวทางสังคมและความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในระดับมากและค่อนข้างมาก ส่วนลักษณะทางสังคมได้แก่การเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย เครือข่ายครอบครัว สังคมและความสัมพันธ์ ล้วนอยู่ในระดับมากระดับจิตอาสาอยู่ในระดับมากเช่นกัน ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ลักษณะทางจิตใจ การปรับตัวทางสังคมและความฉลาดทางอารมณ์รวมทั้งลักษณะทางสังคมได้แก่ เครือข่ายครอบครัวสังคมและความสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กับระดับจิตอาสาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติผลการศึกษา ดังกล่าวยอมรับสมมุติฐาน
References
กรมสุขภาพจิต, กระทรวงสาธารณสุข. (2543). คู่มือความฉลาดทางอารมณ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กิตติพล แต่งผิว. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อจิตอาสาในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนตำบลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี. (การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
กุลวดีทองไพบูลย์. (2558). เข้าใจเด็กยุคใหม่ Generation Z เพื่อการเลี้ยงลูกที่ดีขึ้น. สืบค้น 12 พฤษภาคม 2559, จาก http://th.theasianparent.com.
เฉลิมพงษ์ จันทร์สุขา. (2559). พฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนกับสังคมก้มหน้า: กรณีศึกษานักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่. ในการประชุมวิชาการเวทีวิจัยมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์: เอกภาพและความหลากหลายในมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 10 (น.209-223). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธราดล โพร้งพนม. (2554). สิ่งตอบแทนจากากรเป็นอาสาสมัครตามทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสังคม:กรณีศึกษาอาสาสมัครชาวญี่ปุ่น มูลนิธิร่มไทร. (ปริญญานิพนธ์บัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธิดาชนก วงศ์พิทักษ์. (2556). ปัจจัยจิตสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตอาสาของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
นิรมล สุวรรณโคตร. (2553). การปรับตัวของนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร. (ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปิ่นกนก วงศ์ปิ่นเพชร. (2553). ปัจจัยที่เกี่ยวกับจิตอาสาของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์ประยุกต์, 3(1),9-16.
พรพรม พรรคพวก. (2550). ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักเรียนช่วงชั้นปีที่ 4 ในสหวิทยาการเขต กรุงเทพตะวันออก กรุงเทพมหานคร. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม. (2550). แผนที่ความดี ฉบับ ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
ไพศาล วิสาโล, พระ. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการจัดการความดี ศึกษากรณีมูลนิธิพุทธฉือจื้อ. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
ภัทรา ลอยใหม่. (2554). ความฉลาดทางอารมณ์กับความพร้อมในการทำงาน. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิทยา ชีวรุโณทัย. (2555). รักและผูกพัน เจนเนอเรชั่น แซด. กรุงเทพฯ: บริษัทฐานการพิมพ์.
วิมลพรรณ อาภาเวท และเรณิศาชัยศุภมงคลลาภ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารกับพฤติกรรมจิตอาสาของวัยรุ่นเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลพระนคร.
ศุภรัตน์รัตนมุขย์. (2559). อาสาสมัคร: การพัฒนาตนเองและสังคม. สืบค้น 19 กันยายน 2559, จาก http://www.volunteerspirit.org/files/volunteer%20and%20human.pdf
สุวจีแตงอ่อน. (2557). แนวทางการพัฒนาชุมชนต้นตาลเพื่อเตรียมรับภาวะโลกร้อนในแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 2(1), 23-35
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาแห่งชาติ. (2552). คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์. สืบค้น 19 กันยายน 2559, จาก http://www.mua.go.th/users/tqf-ed/news/FilesNews/FilesNews3/News328072552.pdf.
อาทิตยา มากสาคร. (2013). ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตอาสาของนิสิตแพทย์ระดับปริญญาตรีคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. Rajabhat Journal of Sciences, Humanities & Social Sciences, 14(1), 42-52.
อรพินทร์ ชูชม,อัจฉรา สุขารมย์,และอุษา ศรีจินดารัตน์. (2549). การวิเคราะห์ปัจจัยทางจิตสังคมที่สัมพันธ์กับจิตสำนึกทางปัญญาและคุณภาพชีวิตของเยาวชนไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 12(1),24.
อรรรณพ นิรธร. (2559). เรื่องจริงวัยรุ่นยุคใหม่ Gen Z คนเกิดหลัง 1995. สืบค้น 20 มิถุนายน 2559, จาก http://bundlr.com/clips/530c9417664c9731c0000026.
Akinwande, M., Dikko, H., &Samson, A. (2015). Variance Inflation Factors: Inclusion of Suppressor Variable in Regression Analysis. Open Journal of Statistic, 5, 745-767. Retrived January 16, 2017, from http://www.scirp.org/journal/ojs.
Bandura, A. (1986). Social Learning Theory. NJ.: Prentice-Hall.
Carmines, E. &Zetter, R. (1979). Reliability and Validity Assessment. CA: Sage Publication.
Yamane,T. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. NY: Harper & Row
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น