แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการออกแบบเครื่องแต่กายสตรีจากผ้าฝ้าย: กรณีศึกษาชุมชนทอผ้าฝ้ายบ้านเฮี้ย อำเภอปัว จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • จักรพันธ์ สุระประเสริฐ

คำสำคัญ:

ผ้าฝ้ายทอมือ, รูปแบบเครื่องแต่งกาย, แนวทางการออกแบบเครื่องแต่งกาย

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อค้นหาแนวทาง พัฒนาการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีจากผ้าฝ้ายทอมือของชุมชนทอผ้าฝ้ายบ้านเฮี้ย อำเภอปัว จังหวัดน่าน ซึ่งการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาลักษณะเด่นของลายผ้าฝ้ายทอมือที่ชุมชน มีอยู่โดยการลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลจากชุมชนแม่เฮี้ย ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาปัญหาและความต้องการใน การขยายกลุ่มลูกค้า โดยการสัมภาษณ์ตัวแทนชุมชนและตัวแทนจำหน่าย จำนวน 100 คน และขั้นตอนที่ 3 การนำหลักการออกแบบเครื่องแต่งกายไปใช้วิเคราะห์ปัญหาจากลักษณะตัวอย่างเครื่องแต่งกายที่ชุมชน มีอยู่ ด้วยการศึกษาผ้าฝ้าย การสัมภาษณ์ตัวแทนชุมชน และการวิเคราะห์ตัวอย่างเครื่องแต่งกาย จากผ้าฝ้าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสังเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

จากการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการวิจัยได้ว่า ลักษณะของผ้าทอมือที่ชุมชนมีอยู่คือ ผ้าทอลายน้ำไหล และผ้าทอลายขิด รูปแบบเครื่องแต่งกายที่ชุมชนมีอยู่ไม่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายใหม่ ชุมชนไม่มีความรู้ในการใช้หลักและกระบวนการในการออกแบบเครื่องแต่งกาย จากการวิเคราะห์ทำให้ได้แนวทางพัฒนาการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีจากผ้าฝ้ายที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้หลักในการออกแบบ

References

กมลทิพย์ คำใจ. (2550). การวิจัยและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนไทลื้อ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่สู่ความยั่งยืน. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่.

จุฑารัตน์ ตั้งสมบูรณ์. (2547). กลยุทธ์ทางการตลาดของผ้าทอพื้นเมือง กรณีศึกษา: ผ้าทอพื้นเมืองของจังหวัดราชบุรี. ปริญญานิพนธ์ ธก.ม. (การตลาด), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ดวงพร ตั้งวงศ์. (2544). การพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าพื้นเมืองไทยทรงดำ อำเภอเขาย้อยจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (2551). มรดกวัฒนธรรมผ้าทอไทลื้อ. ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นวลแข ปาลิวณิช. (2542). ความรู้เรื่องผ้าและเส้นใย. กรุงเทพฯ: บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น.

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. (2548). คู่มือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ลำแพน จอมเมือง และ สุทธิพงษ์วสุโสภาพล. (2546). ผ้าทอไทลื้อ: เศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง. รายงานการวิจัยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

นฤทิ์ วัฒนภู. (2555). ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.

นวลน้อย บุญวงษ์. (2542). หลักการออกแบบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยะลักษณ์ พุทธวงศ์ และ วชิราภรณ์ วรพงศ์พัฒนา. (2551). รายงานการวิจัยโครงการวิจัยแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจชุมชนในเขตภาคเหนือ สู่ระดับสากลอย่างยั่งยืน. กลุ่มทอผ้าไหม บ้านเนินไทรพัฒนา.

พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง. (2550). การออกแบบและพัฒนาแฟชั่นและมัณฑนภัณฑ์. กรุงเทพมหานคร: วิสคอมเซ็นเตอร์.

พัดชา อุทิศวรรณกุล. เอกสารประกอบการสอน Fashion and Merchandise การจัดการบริหารสินค้าแฟชั่น. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชานฤมิตศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัน บุญสิงห์. (2556). ผ้าทอในอำเภอเวียงเชียงรุ้ง. edited by ปรัชญ์ หาญกล้า.

รถ เดชทัน. (2556). ผ้าทอในอำเภอเวียงเชียงรุ้ง. edited by ปรัชญ์ หาญกล้า.

สุพรรณ สมไทยและคณะ. (2550). การออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านโดยแนวคิดจากวัฒนธรรมชาวไทยทรงดำ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, กรุงเทพฯ.

สุวิทย์ วงศ์รุจิราวาณิชย์. (2554). ดีไซน์...เปลี่ยนโลก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ.

เสาวลักษณ์ คงคาฉุยฉาย. (2549). ศิลปการตกแต่งเสื้อ = Decorative arts for clothing. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-24