สัญญะของตราสัญลักษณ์ของสโมสรฟุตบอลในไทยพรีเมียร์ลีก

ผู้แต่ง

  • ธีร์ คันโททอง

คำสำคัญ:

สัญญะ, ตราสัญลักษณ์, ไทยพรีเมียร์ลีก

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องสัญญะของตราสัญลักษณ์ของสโมสรฟุตบอลในไทยพรีเมียร์ลีกนี้ เป็นงานวิจัยเชิง คุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ใช้หลักการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กับแฟนคลับสโมสรฟุตบอลในไทยพรีเมียร์ลีก และศึกษาข้อมูล จากบทสัมภาษณ์ของผู้บริหารสโมสร จำนวน 5 สโมสร ผลการวิจัยพบว่า ตราสัญลักษณ์ของสโมสร ฟุตบอลในไทยพรีเมียร์ลีกนั้น มีที่มาและการออกแบบตราสัญลักษณ์ คือ การออกแบบที่สื่อถึงการครอบงำ ของอำนาจจากผู้เป็นเจ้าของสโมสร หรือการครองอำนาจจากชนชั้นผู้ปกครองในแต่ละสังคม แม้ว่า ความหมายที่ทางสโมสรได้ให้ไว้ในการออกแบบและสื่อสารจากตราสัญลักษณ์ต่อแฟนบอลนั้น คือ การให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในสโมสร มีความรู้สึกความเป็นเจ้าของ และสโมสรนั้นเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน แต่การสื่อถึงการครองำนาจนำ (Hegemony) ก็ยังได้สะท้อนออกมาจากตราสัญลักษณ์ที่ปรากฎอยู่ เมื่อมองในภาพรวมแล้วจะพบว่า ตราสัญลักษณ์ทั้งหมดนั้นจะสะท้อนถึงการครอบงำของอำนาจตาม โครงสร้างส่วนบนของกรัมชี ผู้คนในประชาสังคมจะถูก “ครองอำนาจนำ” (Hegemony) ทางความคิด ความเชื่อ ทัศนคติโดยกลุ่มผู้ปกครอง และโลกทัศน์ที่ถูกครอบงำ จะกลายไปเป็น “วัฒนธรรมร่วมของ ผู้คน” (Popular Culture) และแทรกซึมทั่วไป และในส่วนการรับรู้ของแฟนบอลที่มีต่อตราสัญลักษณ์ของ สโมสรนั้นจะรับรู้ด้านประวัติศาสตร์ตำนานของสโมสรและประวัติศาสตร์ของจังหวัด ซึ่งเป็นการรับรู้ของ แฟนบอลอันดับแรกๆ ส่วนการรับรู้ที่รองลงมา คือความภาคภูมิใจที่มีต่อสโมสร

References

กิ่งกาญจน์ เอี่ยมละออ. (2554). การแข่งขันในการครองอานาจนาทางความคิดระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ในการหาเสียงเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต) เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กิตติพงศ์ กุลโศภิน และ ปริญ ลักษิตามาศ. (2555). การรับรู้อัตลักษณ์ตราสินค้านิยมของสโมสรทีมฟุตบอลในประเทศไทย. (ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2555). สัญวิทยา โครงสร้างนิยม หลังโครงสร้างนิยมกับการศึกษารัฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิภาษา.

นพพร ประชากุล. (2549). คำนำเสนอบทแปล มายาคติ สรรนิพนธ์จาก Mythologies ของ Roland Barthes (วรรณวิมล อังคศิริสรรพ, แปล) แปลจากภาษาฝรั่งเศส. กรุงเทพมหานคร: คบไฟ.

ปรัศนีย์ สินพิมลบูรณ์. (2552). การรับรู้ภาพมายาต่อฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษของแฟนฟุตบอลชาวไทย. (บัณฑิตวิทยาลัย) เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิกิพีเดีย. (2558). พรีเมียร์ลีก. สืบค้น 24 เมษายน 2558, จาก http://th.wikipedia.org

วัชรพล พุทธรักษา. (2550). อันโตนิโอ กรัมชี กับการอธิบายการเมืองไทยร่วมสมัย. (วิทยานิพนธ์ สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วรุตม์ โอนพรัตน์วิบูล. (2553). ปัจจัยการสื่อสารกับการก่อตัวและการธำรงรักษากลุ่มแฟนคลับของสโมสรฟุตบอลในไทยพรีเมียร์ลีก. (วิทยานิพนธ์สาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สโมสรชลบุรี เอฟซี. (2558). ประวัติสโมสรชลบุรี เอฟซี. สืบค้น 23 เมษายน 2558, จาก http://www.chonburifootballclub.com

สโมสรบางกอกกล๊าส เอฟซี. (2558). ประวัติสโมสรสโมสรบางกอกกล๊าส เอฟซี. สืบค้น 23 เมษายน 2558, จาก http://www.bangkokglassfc.com

สโมสรราชบุรีมิตรผล เอฟซี. (2558). ประวัติสโมสรราชบุรีมิตรผล เอฟซี. สืบค้น 22 เมษายน 2558, จาก http://www.ratchaburifc.com

สโมสรศรีสะเกษ เอฟซี. (2558). ประวัติสโมสรศรีสะเกษ เอฟซี. สืบค้น 23 เมษายน 2558, จาก http://www.sisaketfc.net

สโมสรสุพรรณบุรี เอฟซี. (2558). ประวัติสโมสรสุพรรณบุรี เอฟซี. สืบค้น 22 เมษายน 2558, จาก http://www.suphanburifootballclub.com

Barthes, R. (1972). Mythologies: The Complete Edition, in a New Translation. London United Kingdom: Macmillan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-24