รูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ชเพื่อผู้บริหารระดับกลางในธุรกิจตัวแทนขายรถยนต์
คำสำคัญ:
ทักษะการโค้ช, การโค้ช, ผู้บริหารระดับกลางของธุรกิจตัวแทนขายรถยนต์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการโค้ชของผู้บริหารระดับกลางของธุรกิจตัวแทนขายรถยนต์2) สร้างรูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ชของผู้บริหารระดับกลางของธุรกิจตัวแทนขายรถยนต์ 3) การประเมินการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ชของผู้บริหารระดับกลางของธุรกิจตัวแทนขายรถยนต์ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารระดับกลางในส่วนงานต่างๆ ของธุรกิจตัวแทนขายรถยนต์รายใหญ่รายหนึ่งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ปลายเปิด ประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ช ของผู้บริหารระดับกลางของธุรกิจตัวแทนขายรถยนต์ ด้วยการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t –test)
ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะการโค้ชที่สําคัญ ประกอบด้วย 1) การสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อโค้ชชี่ 2) การใช้คำถามที่ดีและเป็นคำถามที่ทรงพลัง 3) การรับฟังอย่างตั้งใจ 4) การให้ข้อมูลป้อนกลับเชิงบวก 5) การจูงใจและการให้กำลังใจ 6) การกำหนดเป้าหมายของผู้รับการโค้ช 2. รูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ช จัดทำเป็นชุดคู่มือที่มุ่งการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะการโค้ชที่นำไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดทักษะการโค้ชของผู้บริหารระดับกลางของธุรกิจตัวแทนขายรถยนต์อย่างยั่งยืน 3. ผลการประเมินการใช้รูปแบบ สามารถนําไปปรับใช้ได้จริงในกระบวนการสอนงาน การติดตามงาน และการประเมินผลงาน ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรม และพัฒนาผลการปฏิบัติงานของทีมงาน รวมถึงทําให้สัมพันธภาพระหว่างทีมงานดีขึ้น ซึ่งทักษะการโค้ชที่มีประสิทธิภาพและมีการดำเนินการอย่างเหมาะสม จะช่วยให้บุคลากรเกิดการพัฒนาศักยภาพในการทำงานได้อย่างแท้จริง และเป็นแรงผลักดันให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
References
กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์. (2560). ยุทธศาสตร์ยานยนต์ไทยสู่ความยั่งยืน. สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.aic.or.th
ชาติชาย คงเพ็ชรดิษฐ์, ธีรวัฒน์ จันทึก, และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการสื่อสารเพื่อการเจรจาเชิงผลได้ของพนักงานบริหารงานลูกค้า ในบริษัทตัวแทนโฆษณา. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 9(2), 247-268.
ปกรณ์ วงศ์รัตนพิบูลย์. (2557). ใช้ชีวิตคิดแบบโค้ช เพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
พสุธิดา ตันตราจิณ, และธีรวัฒน์ จันทึก. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพการเป็นผู้นำของบุคลากรรุ่นใหม่ เพื่อมุ่งสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ในธุรกิจการประกันภัย. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 9(2), 169-193.
พสุธิดา ตันตราจิณ, พิไลพรรณ นวานุช, ไกรภพ กฤตสวนนท์, และสุภัคศิริ ปราการเจริญ. (2559). ทุนมนุษย์: การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(ฉบับพิเศษ), 115-123.
วาสนา ศรีอัครลาภ, จิราวรรณ คงคล้าย, และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการโค้ชทางปัญญาในงานบริหารและบริการของภาครัฐ. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 9(2), 339-357.
ศิรภัสสรณ์ วงศ์ทองดี. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริรัตน์ ศิริวรรณ. (2557). การโค้ชเพื่อผลการปฏิบัติงานที่ยอดเยี่ยม. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
สถาบันโค้ชไทย. (2559). เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรโค้ชมืออาชีพมาตรฐานสากลของสถาบันโค้ชไทย. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สุธินี ฤกษ์ขำ. (2557). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลักการและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมลา พรหมมา. (2559). รูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ชของผู้นำทางการพยาบาล (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.
อัจฉรา จุ้ยเจริญ. (2558). คู่มือการโค้ช เพื่อผู้นำยุคใหม่. กรุงเทพฯ: แอคคอมแอนด์อิมเมจ.
Chernoff, A. (2007). Workplace coaching: Developing leadership skills (Master's thesis). CA: Royal Roads University.
Harrion, R., & Kessels, J. (2004). Human resource development in a knowledge economy. Basingstoke: Palgrave-Macmillan.
Hass, S. A. (1992). Coaching: Developing key players. Journal of Nursing Administration, 22(6), 54-58.
Hassett, J. (2006). Five critical factors that will increase coaching success. The Journal of Legal Marketing, 8(11), 1-4.
Kramer, M., Maquire, P., & Schmalenberg, C. (2007). Nurse manager support, what is it?, Structures and Practice that promote it. Nursing Administration Quarterly, 31(4), 325-340.
McClelland, D.C. (1973). Testing for competence rather than for intelligence. American Psychologist, 28(1), 114.
Weiss, S.D. (2013). Leadership-driven HR. Canada: John Wiley & Sons Canada.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น