ทัศนคติและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะประเภท Smartphone ในต่างประเทศของผู้ใช้บริการชาวไทย

ผู้แต่ง

  • กฤดา ศรีสมวงศ์
  • ลีลา เตี้ยงสูงเนิน

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, พฤติกรรมการใช้บริการ, อินเทอร์เน็ต, โทรศัพท์เคลื่อนที่, Smartphone ต่างประเทศ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ทัศนคติและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ บริการอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะประเภท Smartphone ในต่างประเทศของผู้ใช้บริการ ชาวไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของลักษณะทั่วไปส่วนบุคคลที่มีต่อการให้ความสำคัญกับส่วน ประสมทางการตลาดของผู้ใช้บริการที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในต่างประเทศผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะ ประเภท Smartphone และศึกษาอิทธิพลของคุณลักษณะทั่วไปส่วนบุคคล ส่วนประสมทางการตลาด และ ทัศนคติที่มีต่อพฤติกรรมการใช้บริการอินเทอร์เน็ตในต่างประเทศผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะประเภท Smartphone การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากคนไทยที่เคยเดินทางไปต่างประเทศในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะประเภท Smartphone ในต่างประเทศ จำนวน 400 คน โดยทำการเก็บข้อมูล ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา และทดสอบสมมุติฐานการวิจัยด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติที (t-test) การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson Correlation) และการทดสอบไคสแควร์ (gif.latex?\bar{x}2-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะส่วนบุคคลทั่วไปของผู้ใช้บริการฯ ที่มีความแตกต่างกันทางด้าน การประกอบอาชีพส่งผลต่อการให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะประเภท Smartphone ด้านบริการ และด้านการส่งเสริมการตลาด แตกต่างกัน และยังพบว่า ปัจจัยทางประชากรศาสตร์ ด้านเพศ อายุ อาชีพ สถานภาพ ระดับการศึกษา และอัตรา การเดินทางของผู้ใช้บริการฯ ส่งผลต่อการให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาดของผู้ให้บริการ และพฤติกรรมการใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะประเภท Smartphone ในต่างประเทศ นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ใช้บริการฯ ที่มีทัศนคติในด้านความเข้าใจ ด้านความรู้สึก และด้านพฤติกรรม แตกต่างกันมีพฤติกรรมการใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะประเภท Smartphone แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

เอไอเอส อินเตอร์เนชั่นแนล โรมมิ่ง เซอร์วิส. (2557). สืบค้น 2 กันยายน 2557, จาก http://www.ais.co.th/roaming/index.aspx

จิรวัฒน์ วงศ์สวัสดิวัฒน์. (2547). ทัศนคติ ความเชื่อ และพฤติกรรม: การวัด การพยากรณ์และการเปลี่ยนแปลง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ.

ชื่นสุมล บุนนาค. (2554). ทัศนคติและพฤติกรรมการ Chat ผ่านโทรศัพท์มือถือ Smartphone ของวัยรุ่นกลุ่ม Generation Y. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 8(2), 87-103.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วี. พริ้นท์ (1991).

ดีแทก. (2557). แพ็กเกจ Data Roaming. สืบค้น 3 กันยายน 2557, จาก http://www.dtac.co.th/postpaid/services/roaming#demoTab2

ทรูมูฟ. (2557). International Roaming Service. สืบค้น 30 สิงหาคม 2557, จาก http://truemove.truecorp.co.th/levelb/1707

ธีรกิติ นวรัตน ณ อยุธยา. (2557). การตลาดบริการแนวคิดและกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ: วี. พริ้นท์ (1991).

นุชจรินทร์ ศรีสุวรรณ์. (2553). พฤติกรรมการใช้งานและปัจจัยที่มีผลในการเลือกใช้แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน กรณีศึกษา: นักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (งานค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

มนทิรา พิชนาหะรี. (2550). ทัศนคติต่อบริการโมบายล์อินเตอร์เน็ตของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่. (งานค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ลัดดาวัลย์ รุกขวรกุล. (2553). อินเทอร์เน็ตโทรศัพท์เคลื่อนที่กับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ: กรณีศึกษากลุ่มนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ. (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิทวัส รุ่งเรื่องพล. (2558). หลักการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 9). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์, องอาจ ปทะวานิช, ปณิศา มีจินดา, จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์ และอรทัย เลิศวรรณวิทย์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร

สำนักงานคณะกรรมการการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2555). ปัญหาจากการใช้บริการโรมมิ่ง (Roaming). สืบค้น 1 กันยายน 2555, จาก http://tcp.nbtc.go.th/tci_uploads/userfiles/files/roamingcase.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2555). มือถือไปเมืองนอก (Mobile Passport). สืบค้น 1 กันยายน 2555, จาก http://tcp.nbtc.go.th/tci_uploads/userfiles/files/book/MobilePassport(1).pdf

สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง. (2558). การเดินทางเข้าออก (ตามด่าน). สืบค้น 5 มกราคม 2558, จาก http://www. immigration. go.th/

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). สรุปผลที่สำคัญสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2556. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2556, จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/ themes/files/icthh56.pdf.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2556. สืบค้น 25 สิงหาคม 2556, จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/icthhRep56.pdf.

สุวัฒน์ ศิรินิรันดร์ และภาวนา สายชู. (2555). MBA Handbook (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ท.

Best, J. W. (1981). Research in Education. (4th ed). Englewood Cliffs, NJ: Prentice–Hall.

Booms, B. H., & Bitner, M. J. (1981), “Marketing Strategies and Organization Structures for Service Firms”, in Donnelly, J.H., George, W.R. (Eds), Marketing of Services, Conference Proceedings: American Marketing Association (pp. 47-51). Chicago.

Cronbach, L. J. (1977). Educational Psychology. New York: Harcourt Brace Jevanovich.

Eagly, A. H. & Chaiken, S. (1993). The Psychology of Attitudes. Fort Worth, Texas: Harcourt Brace Jonovich.

Fishbein, M., & Ajzen, I. (1975). Belief, Attitude, Intention, and Behavior: An introduction to theory and Research. Reading, MA: Addison-Wesley.

Insko, C. A. (1985). Conformity and Group Size: The Concern with Being Right and the Concern with Being Liked. Personality and Social Psychology Bulletin, 11, 41-50.

International Telecommunication Union (2014). Key ICT indicators for developed and developing countries and the world (totals and penetration rates). Retrieved July 21, 2014, from

http://www.itu.int/en/ITU-D/Statistics/Pages/stat/default.aspx

International Telecommunication Union (2014). Mobile-Cellular Telephone Subscriptions. Retrieved July 21, 2014, from http://www.itu.int/en/ITU-D/Statistics/Pages/stat/default.aspx

Jane, M. & Melanie, B. (2014). Qualitative Methodology: A Practical Guide. London: SAGE.

Juniper Research. (2014). Mobile Roaming to Represent 8% of Global Operator Billed Service Revenues by 2018. Retrieved October 2, 2016, from http://www.juniperresearch.com/press-release/mobile-roaming-pr1.

Katz, D. (1960). The Functional Approach to the Study of Attitudes. In Public Opinion Quarterly, 24, 163-204.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2009). Marketing management. (6th ed). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Kretch, D., Crutchfield, R. S. & Ballachey, E. L. (1962). Individual in Society: A Textbook of Social Psychology. New York: McGraw-Hill.

Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives of Psychology, 140, 1–55.

McCarthy, J. E. (1964). Basic Marketing. A Managerial Approach. Homewood, IL: Irwin.

Petty, R. E., Wegener, D. T. & Fabrigar, L. R. (1997). Attitudes and Attitude Change. Annual Review of Psychology, 48, 609-647.

Rosenberg, M. (1965). Society and the Adolescent Self-image. Princeton, NJ: Princeton University Press.

Thurstone, L. L. (1959). The measurement of values. Chicago: The University of Chicago Press.

Triandis, H. C. (1971). Attitude and Attitude Change. New York: John Wiley & Sons.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-24