ปัจจัยที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวในการตัดสินใจมาท่องเที่ยว โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งอน อันเนื่องมาจาก พระราชดำริ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ศิวรัตน์ กุศล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ธรรญชนก เพชรานนท์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งอนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, การตัดสินใจของนักท่องเที่ยว, ปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวในการตัดสินใจมาท่องเที่ยว โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งอน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้กลุ่ม ตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำงอนฯ บริเวณ พื้นที่ชุมชนบ้านยางและพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 ทั้งกลุ่มที่เดินทางไป-กลับ และกลุ่มที่พักค้างแรม จำนวน 191 ตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบบังเอิญ ผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อปัจจัยดึงดูดในการตัดสินใจเดินทางมา ท่องเที่ยวโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งอนฯนั้น พบว่า การที่แหล่งท่องเที่ยวมีความเชื่อมโยงกับแหล่ง ท่องเที่ยวอื่นๆ ใกล้เคียง มีผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสิ่ง ดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวมากยิ่งขึ้น ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้าน ประชากรศาสตร์กับตัวแปรด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นปัจจัยผลักดันในการเดินทางมาท่องเที่ยวโดย ใช้สถิติการทดสอบไคสแควร์นั้น พบว่า รายได้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ทั้งด้านค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว และระยะเวลาในการท่องเที่ยว และเมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย คะแนนความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อปัจจัยดึงดูดในการตัดสินใจเลือกมาท่องเที่ยวระหว่างตัวแปร ด้านประชากรศาสตร์และตัวแปรด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยว ด้วยการด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบทางเดียว พบว่า นักท่องเที่ยวที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน จะมีค่าเฉลี่ยคะแนน ความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน และนักท่องเที่ยวที่มีลักษณะพฤติกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่ การมีประสบการณ์ เคยเดินทางมาท่องเที่ยวแล้วและความต้องการกลับมาท่องเที่ยวอีกครั้งที่แตกต่างกัน จะมีค่าเฉลี่ยคะแนน ความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน

References

จุฑาภรณ์ ฮาร์ล และศศิธร ง้วนพันธ์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาดและการบริหารธุรกิจ, 4(3), 415-426.

ชฎาภรณ์ แซ่ตั้ง. (2559). ปัจจัยต่อการตัดสินใจใช้บริการท่องเที่ยว ณ อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(1), 45-52.

ฐณผการจ คงอินทร์. (2545). การศึกษาศักยภาพของชุมชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อการพัฒนาแบบ ยั่งยืน: กรณีศึกษาบ้านนาตีน ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เทพกร ณ สงขลา และบัญชา สมบูรณ์สุข. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกับการจัดการทรัพยากรเกษตรของท้องถิ่น กรณีศึกษาท่องเที่ยวเชิงเกษตรช้างกลางจังหวัดนครศรีธรรมราช.

ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. เอกสารการประชุมโครงการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12 วันที่ 28 มกราคม 2554 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นันตพร ศรีวิไล, ปยิ กนิฏฐ์ โชติวนิช และจาตุรงค์ ศรีวงษ์วรรณะ. (2556). ปจั จัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกมาท่องเที่ยว จังหวัดนครพนม. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(2), 91-106.

น้ำฝน จันทร์นวล. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 6(2), 53-60.

นิรันดร ทัพไชย. (2550). กลยุทธ์การตลาดใน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

ศิโรรัตน์ หอมนาน. (2547). ศักยภาพการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรหมู่บ้านรอบบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศทรัพยากรน้ำ. (2557). โครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่งอนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. สืบค้น 16 กันยายน 2558, จาก http://www.dwr.go.th/news/2/news-2-0-24124.html

สกุล จริยาแจ่มสิทธิ์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 10(1), 105-114.

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่). (2557). โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งอน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. สืบค้น 16 กันยายน 2558, จาก http://www.fca16.com/newblog/blog.php?id=royalproject187.

แสงเดือน รตินธร. (2555). ปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวชาวจีนในการตัดสินใจเลือกมาท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 18(2), 84-104.

อรอนงค์ ฤาชาฤทธิ์. (2545). ศักยภาพของตำบลสัมปทวนในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

อาร์ม นาครทรรพและสุรชัย จันทร์จรัส. (2556). ระยะเวลาการพำนักและการกลับมาท่องเที่ยวในเชียงคาน. วารสารเศรษฐศาสตร์ประยุกต์, 20(2), 23-36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-24