การเปิดรับเครื่องมือการสื่อสารการตลาดและการรับรู้การสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางจากข้าวตราวาวด้าของผู้บริโภค

ผู้แต่ง

  • ณภิญา มุสิกะรักษ์ กรมการข้าว
  • ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การเปิดรับ, การรับรู้, การสื่อสารการตลาด, การตัดสินใจซื้อ, เครื่องสำอางจากข้าวตราวาวด้า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเปิดรับเครื่องมือการสื่อสารการตลาดเครื่องสำอาง จากข้าวตราวาวด้าของผู้บริโภค 2) การรับรู้สารจากการสื่อสารการตลาดของเครื่องสำอางจากข้าวตรา วาวด้าของผู้บริโภค 3) การตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางจากข้าวตราวาวด้าของผู้บริโภค 4) เปรียบเทียบ ความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์และการเปิดรับเครื่องมือการสื่อสารการตลาดกับ กระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางจากข้าวตราวาวด้าของผู้บริโภค 5) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทาง ประชากรศาสตร์และการเปิดรับเครื่องมือการสื่อสารการตลาดกับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอาง จากข้าวตราวาวด้าของผู้บริโภค 6) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สารจากการสื่อสารการตลาดตาม ส่วนประสมทางการตลาดกับกระบวนการตัดสินใจซื้อและพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางจากข้าว ตราวาวด้าของผู้บริโภค

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริโภคที่มีอายุระหว่าง 18–60 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์ ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยแต่ละคู่ด้วยวิธีการของฟิชเชอร์ และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยค่าสถิติ ไคสแควร์และสหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างเปิดรับเครื่องมือการสื่อสารการตลาดประเภทการส่งเสริม การขายมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การขายโดยพนักงาน การประชาสัมพันธ์ การตลาดทางตรง และ การโฆษณา 2) กลุ่มตัวอย่างรับรู้สารจากการสื่อสารการตลาดของเครื่องสำอางจากข้าวตราวาวด้าตาม ส่วนประสมทางการตลาดโดยภาพรวมในระดับปานกลาง 3) กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นต่อกระบวนการ ตัดสินใจซื้อทั้งด้านการรับรู้ปัญหา การค้นหาข้อมูล และการประเมินทางเลือกโดยภาพรวมในระดับมาก ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะซื้อ 4) กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ ระดับการศึกษา อาชีพ ความสนใจในเรื่องออร์แกนิค ความสนใจในข้อมูลข่าวสารผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติและสมุนไพร และโรคประจำตัวเป็นภูมิแพ้ที่ แตกต่างกันมีกระบวนการตัดสินใจซื้อแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การเปิดรับเครื่องมือ การสื่อสารการตลาดทั้ง 5 ประเภทที่แตกต่างกันมีกระบวนการตัดสินใจซื้อแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ .05 5) กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ความสนใจในเรื่องออร์แกนิค ความสนใจ ในข้อมูลข่าวสารผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติและสมุนไพรมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ เครื่องสำอางจากข้าวตราวาวด้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีแนวโน้มซื้อมากกว่าไม่ซื้อ การเปิดรับเครื่องมือการสื่อสารการตลาดทั้ง 5 ประเภทมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 6) การรับรู้สารจากการสื่อสารการตลาดของเครื่องสำอางจาก ข้าวตราวาวด้าตามส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจซื้อในทิศทางเดียวกัน ระดับสูง (r=0.715) และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมดึงผู้ประกอบการเครื่องสำอางรวมกลุ่มคลัสเตอร์เสริมศักยภาพรองรับ AEC. (ม.ป.ป.). สืบค้น 1 พฤษภาคม 2558, จาก http://www.thaicosmeticcluster.com/.

เกวลี ปุตุละ.(2549). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อเครื่องสำอางของนักศึกษา. (รายงานวิจัย). เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

คลังข้อมูลอุตสาหกรรมเวชสำอาง. (ม.ป.ป.). สืบค้น 8 สิงหาคม 2558, จาก http://www.nstda.or.th/industry/cosmetics-industry?tmpl=component&print=1&page=.

จำเนียร ช่วงโชติ. (2515). จิตวิทยาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: การศาสนา.

จอมรัฐ เจริญพันธุวงศ์. (2548). การรับรู้ข้อมูลการสื่อสารการตลาดของผู้บริโภคเครื่องสำอางในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. (การศึกษาปัญหาพิเศษ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปรมะ สตะเวทิน. (2538). หลักนิเทศศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

พัณณ์ชิตา ภัทรคำประสิทธิ์. (2555). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอางแบรนด์ใหม่ของผู้บริโภคในเขต อ.เมือง จ.ชลบุรี. (งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

มลิฉัตร บุญจารุพัฒน์. (2554). การสื่อสารการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางที่ผลิตโดยประเทศเกาหลีของผู้บริโภคหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัญฑิต).นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2542). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิกิพีเดีย. เครื่องสำอาง. สืบค้น 30 ตุลาคม 2558, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/เครื่องสำอาง.

วิลาสิณี โฆษิตชัยวัฒน์. (2559, 12 กุมภาพันธ์). กรรมการผู้จัดการ บริษัทโป๋วเอวี๋ยน จำกัด.

สัมภาษณ์โดย ณภิญา มุสิกะรักษ์. บริษัท เคเบิลหัวหิน จำกัด. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.

สุภาภรณ์ ปิติพร. (ม.ป.ป.). ข้าว ความลับแห่งสุขภาพ และความงาม. สืบค้น 12 กันยายน 2558, จาก www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID:9510000107428.

เสรี วงษ์มณฑา. (2540). การตลาดเชิงปฎิบัติ. กรุงเทพฯ: ไดมอนด์ อิน บิสซิเนสเวิร์ด.

_______ . (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและโซเท็กซ์.

_______ . (2547). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ศิริลักษณ์ สุวรรณวงศ์. (2538). ทฤษฎีและเทคนิคการสุ่มตัวอย่าง. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, วลัยลักษณ์ อัตธีวงศ์, ปณิศา ลัญชานนท์ และพิมพา หิรัญกิตติ. (2549). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

Becler, S. L. (1972). Discovering Mass Communication. Illinois: Scott Foresman and Glenview.

Blackwell, R.D., Miniard, P. W. and Engle. J.F.(2001). Consumer Behavior. (9thed.) New York: Harcourt.

Defleur, M.L., and Ball-Rokeach, S.J. (1996). Theories of Mass Communication. London: Longman

Klapper, J.T. (1960). The effects of Communication. New York: Free Press.

Kotler,P.(2003). Marketing Management. 11th. New Jersey: Prentice Hall Inc.

Schramm, W.(1973). Handbook of Communication. Chicage: Roand Mc Nally College Publishing

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-25