การศึกษาองค์ประกอบคุณงามความดีของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกำกับของรัฐ

ผู้แต่ง

  • ทัศนีย์ สมเสียง สาขาการวิจัยและการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สกล วรเจริญศรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • คมเพชร ฉัตรศุภกุล มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • วิไลลักษณ์ ลังกา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์องค์ประกอบ, คุณงามความดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของคุณงามความดีกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรีในปีการศึกษา 2559 ชั้นปีที่ 1-4 มหาวิทยาลัยกำกับของรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,200 คนโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม คุณงามความดีของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลการวัดคุณงามความดีของนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = 96.26, df = 82, p = 0.13, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, CFI = 1.00, RMSEA = 0.01, SRMR = 0.01) โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐาน อยู่ระหว่าง 0.80-0.95 ทุกองค์ประกอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีค่าความเชื่อมั่นเชิง โครงสร้างอยู่ระหว่าง 0.52-0.65 แสดงว่า โมเดลการวัดคุณงามความดีที่สร้างขึ้นสามารถนำมาอธิบาย การมีคุณงามความดีได้ โดยสามารถเรียงลำดับค่าน้ำหนักองค์ประกอบได้ดังนี้ ด้านความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว ด้านความเข้าใจในชีวิต ด้านความเป็นมนุษย์ ด้านการควบคุมอารมณ์ ด้านปัญญาและความรู้ และ ด้านความถูกต้องเที่ยงธรรม ตามลำดับ

References

กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. (2523). แนวทางการพัฒนาจริยธรรมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 – 2559. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

กร การันตี. 2549. ความถูกต้องเที่ยงธรรมนำมาซึ่งความสำเร็จที่ยั่งยืน. สืบค้น 9 ธันวาคม 2559, จาก http://www.richtraining.com.

จตุพร ศิลาเดช. (2543). ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนระดับประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. การวัดและประเมินผลบัณฑิตวิทยาลัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชลธิชา มั่นนวล. (2556). บทความปัญหาความเสื่อมโทรมทางคุณธรรมจริยธรรมของคนไทยในการแสดงความคิดเห็นเชิงลบปัญหาเล็กที่ไม่ควรมองข้าม. สืบค้น 12 ธันวาคม 2559, จาก http://sd-group1.blogspot.com.

ทินพันธุ์ นาคะตะ, (2557). คุณธรรม จริยธรรม กับศีลธรรม จากมุมมองของปรัชญา.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คบไฟ.

นภดล เทียนเพิ่มพูน. (2546). การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจ. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย). นครปฐม: สถาบันราชภัฏนครปฐม.

บุญจง เรืองสะอาด. (2536). ผลสรุปเบื้องต้น สภาพการอบรมและปลูกฝังจริยธรรมในโรงเรียนประถมศึกษา. (โครงการวิจัยและวางแผนเพื่อพัฒนาการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ชำระ–เพิ่มเติมช่วงที่ 1/ยุติ). (พิมพ์ครั้งที่17). (น. 51). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2528). ธรรมกับการพัฒนาชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (2520). อริยศีลธรรม (ชุดธรรมโฆษณ์). สุราษฎร์ธานี: ธรรมทานมูลนิธิ

พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2556). โมเดลสมการโครงสร้าง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: วัฒนาพาณิช.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปลสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2548). ความอดทน อดกลั้น เป็นส่วนสำคัญของการต่อสู้ชีวิต. สืบค้น 9 ธันวาคม 2559 จาก http://www.thaiday.com.

วศิน อินทสระ. (2549). พุทธจริยศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เม็ดทราย.

สมบูรณ์ ทินกร. (2535). การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถและความซื่อสัตย์ในการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำกับการใช้แบบฝึกหัดตามคู่มือครู. (ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. การมัธยมศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมสุดา ผู้วัฒน์ และอัจฉรา ธนะมัย. (2543). ความอดทน: แหล่งที่มาและปัจจัย. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุวิมล ว่องวานิช และนงลักษณ์ วิรัชชัย. (2543). ปัจจัยและกระบวนการที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรมระดับบุคคลเพื่อมุ่งความสำเร็จของส่วนรวมของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัย: การศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพ. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2557). มหาวิทยาลัยกำกับของรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้น 12 ธันวาคม 2559, จาก https://www.google.co.th.

Lawrence, K. (2000). Development of Moral Character and Moral Ideology Review of Child Development Research. New York: Russell Sage Foundation.

Maslow, A. (1987). Motivation and Personnality. New York: Harper and Row Publishers.

Peterson, C. & Seligman, M. E. P. (2004). Character Strengths and Virtues: A Handbook and Classification. New York: Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-25