ความคิดเห็นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐมที่มีต่อการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา

ผู้แต่ง

  • ธนาชัย สุขวณิช คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความคิดเห็น, องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม, การศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรในความต้องการศึกษาต่อ ในระดับบัณฑิตศึกษาของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐมและเปรียบเทียบความคิดเห็นของ บุคลากรในความต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล

กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม จำนวนทั้งสิ้น 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติ ที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบ ความแตกต่าง กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ทดสอบค่าสถิติตาม (t–test Independent) และกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มขึ้นไป โดยใช้สถิติ F-test (one-way ANOVA) ในกรณีที่ผลการทดสอบสมมติฐานให้ค่าแตกต่างกัน โดยวิธีทดสอบรายคู่ของเชฟเฟ (Scheffe’s test) การวิจัยพบว่า บุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัด นครปฐมที่มีความคิดเห็นต่อการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ย สูงที่สุด ด้านการประกอบอาชีพ รองลงมาด้านเหตุผลส่วนตัว ด้านสังคม ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านบุคคลที่เกี่ยวข้อง ส่วนการเปรียบเทียบระดับความต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาของบุคลากร องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐมจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า บุคลากรขององค์การบริหารส่วน จังหวัดนครปฐมที่มีเพศ อายุ ตำแหน่ง ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาไม่ แตกต่างกัน ยกเว้นบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐมที่มีอายุงานต่างกันมีความคิดเห็น ต่อการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาในด้านบุคคลที่เกี่ยวข้องแตกต่างกัน บุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐมที่มีรายได้ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาในด้านเหตุผล ส่วนตัว ด้านการประกอบอาชีพ และด้านบุคคลที่เกี่ยวข้องแตกต่างกัน และบุคลากรขององค์การบริหาร ส่วนจังหวัดนครปฐมที่มีประเภทข้าราชการ พนักงานทั่วไปและพนักงานตามภารกิจ ต่างกันมีความคิด เห็นต่อการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาในด้านบุคคลที่เกี่ยวข้องแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

References

เจือจันทร์ จงสถิตอยู่. (2525). ความต้องการทางการศึกษาโอกาสและการเลือก. วารสารการศึกษาแห่งชาติ, 16(2), 11-17.

ชิดชนนี โพธิ์สุวัฒนากุล. (2544). การศึกษาแรงจูงใจในการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. (ปริญญานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2551,

ทฤษฎีมาสโลว์. สืบค้นจาก http://thesisavenue.blogspot.com/2008/09/maslows-general-theory-of-human.html

ทองหล่อ นาคหอม. (2535). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับปริญญาโทวิชาเอกการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2533 – 2534. (ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธนาชัยวัฒน์ เดชาสินธ์เจริญ. (2553). ความต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น

วันวิสาข์ แก้วสมบูรณ์. (2554) เหตุจูงใจในการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา. สืบค้น 21 เมษายน ปี พ.ศ. 2554. จาก www.tsu.ac.th/grad/report_/files/06044949200949.doc

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพฯ: เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม. (2555). รายงานผลการดำเนินการ ปี 2555. องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นงานบริหารงานบุคคล, นครปฐม.

อัมพร ณ สงขลา. (2539). เหตุจูงใจในการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. (ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

Best, J.W. (1981). Research in Education. New Jersey: Prentice – Hall. Best.

Maslow, (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-25