คุณลักษณะบัณฑิตทันตแพทย์ที่พึงประสงค์ในประชาคมอาเซียน

ผู้แต่ง

  • วัชรินทร์ จงกลสถิต สาขาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • พิณสุดา สิริธรังศรี วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • สุวิมล ว่องวาณิช ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

บัณฑิตทันตแพทย์, ประชาคมอาเซียน

บทคัดย่อ

การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนก่อให้เกิดการเปิดเสรีบริการสุขภาพ ส่งผลกระทบต่อวิชาชีพทันตกรรม และระบบบริการสุขภาพช่องปากรวม ทั้งต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตบัณฑิตทันตแพทย์ของไทย ซึ่งต้องเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษาในด้านต่างๆ เพื่อรองรับประชาคมอาเซียนการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะบัณฑิตทันตแพทย์ที่พึงประสงค์ในประชาคมอาเซียน โดยมี กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ คณาจารย์ทันตแพทย์และนักศึกษาทันตแพทย์จาก คณะทันตแพทยศาสตร์ 9 สถาบัน และ 2) ผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้บริหารคณะทันตแพทยศาสตร์ กรรมการทันตแพทยสภา และตัวแทนกระทรวงสาธารณสุข มีการศึกษา 2 ขั้นตอน คือ (1) การศึกษา เชิงปริมาณเพื่อให้ได้คุณลักษณะบัณฑิตทันตแพทย์ที่พึงประสงค์เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน และ (2) การสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเพิ่มเติมผลการศึกษาเชิงปริมาณ

ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 882 คน ประกอบด้วยคณาจารย์ 342 คน และนักศึกษาทันตแพทย์ 540 คน มีความเห็นว่าคุณลักษณะบัณฑิตทันตแพทย์ที่พึงประสงค์ด้านความรู้มีความสำคัญมากที่สุด (4.58 ± 0.43) และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคิดเห็นต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์กับ คุณลักษณะในปัจจุบัน พบว่า คุณลักษณะด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านทักษะทางวิชาชีพ และ ด้านความเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ผลจากการสัมภาษณ์พบว่า บัณฑิตทันตแพทย์ที่พึงประสงค์ในประชาคมอาเซียนประกอบด้วย คุณลักษณะ 4 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านจิตพิสัย (2) ด้านพุทธิพิสัย (3) ด้านทักษะทางวิชาชีพทันตกรรม และ (4) ด้านทักษะทางสังคมประชาคมอาเซียนซึ่งจะมีการเคลื่อนย้ายของผู้รับบริการ จัดตั้งสถานพยาบาล และการเคลื่อนย้ายของผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ต้องคำนึงถึงสมดุลของระบบบริการสุขภาพช่องปาก สำหรับทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2555). แผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมบริการสุขภาพกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ พ.ศ. 2556-2560. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมธุรกิจบริการสุขภาพ.

กุลธิดา สิงห์สี. (2556). อุดมศึกษาไทยในอาเซียนรูปแบบแนวโน้มและทิศทางการปรับตัวในอนาคต. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง, 2(2), 11.

จารุวรรณ ธาดาเดช. (2556). การรับรองมาตรฐานสากลโรงพยาบาลในประเทศไทย : สถานการณ์และแนวโน้ม. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 43(3), 313-321.

จินตนา อาจสันเที๊ยะ และ สายสมร เฉลยกิตติ. (2559). การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารพยาบาลทหารบก, 17(1), 10-16.

ชาญณรงค์ สังขอยุทธ์ และ ชะเอมพัชนี. (2557). กำลังคนด้านสุขภาพเมื่ออาเซียนไร้พรมแดน: บทเรียนจากสหภาพยุโรป. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข,.

ณตพล ศุภณัฐเศรษฐกุล. (2557). ความพร้อมและความต้องการจำเป็นของนักศึกษาแพทย์ในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการประกอบวิชาชีพแพทย์ภายใต้การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 14(3), 9.

ทันตแพทยสภา. (2555). เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมของทันตแพทยสภา. เอกสารอัดสำเนา

ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายการศึกษา.

พัชราวลัย วงศ์บุญสิน. (2557). แพทย์และพยาบาลความท้าทายในตลาดศูนย์กลางสุขภาพ AEC. สืบค้น 26 ธันวาคม 2559, จาก http://www.thai-aec.com/957-ixzz3ypLmAiKe

พิศาล เทพสิทธา. (2556). ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับการประกอบวิชาชีพของทันตแพทย์ไทย. วารสารทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, 6(26), 7.

ละเอียด แจ่มจันทร์ และ สายสมร เฉลยกิตติ. (2557). พลเมืองอาเซียน: แนวคิดในการจัดการศึกษาพยาบาลศาสตร์. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 155-161.

วิจิตร ศรีสุพรรณ, สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ และ กฤษดา แสวงดี. (2555). การเตรียมความพร้อมของวิชาชีพการพยาบาลเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารการพยาบาล, 27(3), 6.

วิชัย ตันศิริ. (2556). ความเป็นพลเมืองเพื่อสังคมธรรมาธิปไตย. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.

สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ. (2553). ยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทยในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานครฯ: บางกอกบล็อก.

สุนีย์ สุขสว่าง. (2553). ผลิตแพทย์นานาชาติสังคมได้อะไร?. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.

อรวรรณ จุลวงษ์. (2557). การดูแลข้ามวัฒนธรรมในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(1), 1-6.

ADEA. (2011). ADEA Competencies for the New General Dentist: (As approved by the 2008 ADEA House of Delegates). J Dent Educ, 75(7), 932-935.

Cowpe, J., Plasschaert, A., Harzer, W., Vinkka-Puhakka, H., & Walmsley, A. D. (2010). Profile and competences for the graduating European dentist - update 2009. Eur J Dent Educ, 14(4), 193-202.

Donaldson, M. E., Gadbury-Amyot, C. C., Khajotia, S. S., Nattestad, A., Norton, N. S., Zubiaurre, L. A., & Turner, S. P. (2008). Dental education in a flat world: advocating for increased

global collaboration and standardization. J Dent Educ, 72(4), 408-421.

Gerlinger, T., & Schmucker, R. (2007). Transnational migration of health professionals in the European Union. Cad Saude Publica, 23(Suppl 2), S184-192.

Gonzalez, M. A. G., Abu Kasim, N. H., & Naimie, Z. (2013). Soft skills and dental education. European Journal of Dental Education, 17(2), 73-82.

Guinto, R. L., Curran, U. Z., Suphanchaimat, R., & Pocock, N. S. (2015). Universal health coverage in ‘One ASEAN’: are migrants included? Glob Health Action, 8, 25749.

Kittrakulrat, J., Jongjatuporn, W., Jurjai, R., Jarupanich, N., & Pongpirul, K. (2014). The ASEAN economic community and medical qualification. Glob Health Action, 7, 24535.

Komabayashi, T., Razak, A. A. A., & Bird, W. F. (2007). Dental education in Malaysia. Int Dent J, 57(6), 429-432.

Komabayashi, T., Zhu, Q., Jiang, J., Hu, D. Y., Kim, K. J., Tada, S. & Bird, W. F. (2006) Education of dentists in China. Int Dent J, 56(5), 272-276

Nash, D. A. (2010). Ethics, empathy, and the education of dentists. J Dent Educ, 74(6), 567-578.

Rowland, M. L., Bean, C. Y., & Casamassimo, P. S. (2006). A snapshot of cultural competency education in US dental schools. J Dent Educ, 70(9), 982-990.

Saleh, L., Kuthy, R. A., Chalkley, Y., & Mescher, K. M. (2006). An assessment of cross-cultural education in U.S. dental schools. J Dent Educ, 70(6), 610-623.

Scherp, H. W. (1971). Dental Caries: Prospects for Prevention. Science, 173(4003), 1199-1205.

Wibulpolprasert, S., Pachanee, C., Pitayarangsarit, S., & Hempisut, P. (2004). International service trade and its implications for human resources for health: a case study of Thailand. Hum Resour Health, 2(1), 10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29