นวัตกรรมการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมไม่เหมาะสมของเด็กและเยาวชน 3 ซ. (ซ่าส์ ซิ่ง เซ็กและเสพยา)

ผู้แต่ง

  • วลัยพร รัตนเศรษฐ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

นวัตกรรมการเรียนรู้, ปัญหาอาชญา, พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนวัตกรรมการเรียนรู้โครงการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและพฤติกรรมไม่เหมาะสม ของเด็กและเยาวชน กรณีซิ่ง ซ่า มั่วเซ็กส์ เสพยา (โครงการ 3 ซ.) ผู้วิจัยได้กำหนดรูปแบบการดำเนินการ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน และความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจภูธร จังหวัดจันทบุรี พร้อมกันนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาถึงต้นเหตุของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อเด็กและเยาวชน

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเอกสาร การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และเทคนิคการวิจัยเชิงปริมาณในการสำรวจความคิดเห็น

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดำเนินงาน การแก้ไขปัญหาเกิดจากการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวมถึงการเปลี่ยนกลยุทธ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำให้การปฏิบัติหน้าที่ สามารถสร้างความประใจให้กับเด็กและเยาวชนโดยการเข้าร่วมโครงการ 3 ซ.

เมื่อพิจารณาจากความสำเร็จในการดำเนินงาน พบว่าเด็กและเยาวชนเลิกประพฤติตนในรูปแบบ 3 ซ. นอกจากนี้ ภายหลังจากการเข้าร่วมโครงการ กลุ่มเด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมที่เคารพพ่อ แม่ สนใจดนตรีมากขึ้น และมีระเบียบวินัยมากขึ้น ส่งผลให้ชุมชนและสังคมในภาพรวมมีความสุขในชีวิต และทรัพย์สินมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังพบว่า สาเหตุที่แท้จริงของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเกิดจากปัจจัย ภายในครอบครัวที่แตกแยก พ่อแม่ไม่ได้เป็นแบบอย่างที่ดี รวมถึงการสนับสนุนลูกหลานในลักษณะที่ ไม่ถูกต้อง

สำหรับข้อเสนอแนะโครงการ 3 ซ. ควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและขยายผลไปยัง จังหวัดอื่นๆ โดยภาครัฐควรให้การสนับสนุนด้านงบประมาณในการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืน และภาคสังคมต้องเข้าใจเด็กและเยาวชนและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมที่ ไม่เหมาะสมด้วย

References

Carroll, J. (2006). One in Four Parents Worry That Their Children Watch Too Much TV. “GALLUP NEWS SERVICE. ”Retrieved April 29, 2010, from http://www.gallup.com/poll/2558/one-four-parents-worry-their-children-watch-too-much.aspx.

Carroll, J. (2008). Abstinence Plus Programs Can Reduce Risky Sexual Behaviors In Youth. “medicalnewstoday. ”Retrieved April28, 2010, from http://www.medicalnewstoday.com/articles/97107.php.

Carroll, J. (2010). “America’s Children: Data on Child Well-Being.”Centers for Disease Control and Prevention. Retrieved May 5, 2010, from http://www.cdc.gov/Features/dsChildHealthData.

Chanthaburi Provincial Police. (2010). Offender Statistics of Chanthaburi Provincial Police. Chanthaburi: Chanthaburi Provincial Police.

Chanthaburi Provincial Statistical Office. (2010). Provincial Statistic Report of Chanthaburi. Chanthaburi : Chanthaburi Provincial Statistical Office.

Chanthaburi Provincial Statistical Office. (2010). Criminal statistics. Retrieved April 29, 2010, from http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries13.html.

Chanthaburi Provincial Governors Office. (2010). Provincial Development Plans of Chanthaburi. Chanthaburi: Chanthaburi Provincial Governors Office.

Goldstein, P.A, Harootunian, B. and Conoley, C.J. (1994). Student aggression:prevention, management, and replacement training. New York: Guilford Press.

Huff, E. (2010). Watching television causes aggressive behavior in young children. “naturalnews.”. Retrieved May 5, 2010, from http://www.naturalnews.com/028096_televisionaggressive_behavior.html.

Jones, F. 2009. Parents living in a common-law has harmful effects on kids. “Lifesitenews.” Retrieved May 5, 2010, May 10, 2010, from http://www.lifesitenews.com/news/archive/ldn/2009/mar/09031306.

Pranijal, H.M, & Robert, A.J. (in press). Social endocrinology: Hormones and social motivation. To appear in The Handbook of Social Motivation, edited by David Dunning. New York: Psychology Press.

Ruschmann, P. (2010). Regulating Violence in Entertainment. New York: Chelsea.

Staub, E. (2003). The psychology of good and evil: why children, adults, and groups helpand harm others. United Kingdom: Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29