ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความพร้อมของนักตรวจสอบภาษีเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: กรณีศึกษาสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่

ผู้แต่ง

  • ลภัสรดา รังสิพราหมณ์กุล สาขาวิชาธุรกิจอาเซียนคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ธนิดา จิตร์น้อมรัตน์ สาขาวิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, ความพร้อมนักตรวจสอบภาษี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพร้อมของนักตรวจสอบภาษี สำนักบริหาร ภาษีธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับ ความพร้อมของนักตรวจสอบภาษีสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รวมทั้งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความพร้อมเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของนักตรวจสอบภาษี สำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ การศึกษาใช้วิธีวิจัยแบบผสมคือ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกมาทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณด้วยการเก็บ ข้อมูลจากแบบสอบถามเพื่อมาวิเคราะห์ทางสถิติตัวอย่างที่เก็บได้จากนักตรวจสอบภาษีสำนักบริหารภาษี ธุรกิจขนาดใหญ่มีจำนวน 194 ชุด วิเคราะห์สถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ

ผลการศึกษาเชิงสถิติได้ข้อสรุปว่า 1) นักตรวจสอบภาษีของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ที่ มีเพศ อายุ และอายุการทำงาน ที่แตกต่างกัน มีความพร้อมเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแตก ต่างกัน 2) ปัจจัยด้านนโยบายขององค์กรมีความสัมพันธ์กับความพร้อมเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน เฉพาะในด้านบัญชี ด้านภาษี ด้านกฎหมาย และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) ปัจจัยด้านแรง สนับสนุนจากองค์กร มีความสัมพันธ์กับความพร้อมเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เฉพาะในด้านบัญชี ด้านภาษีและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

References

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2558). สรุปข้อมูลเรื่อง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สืบค้น 16 มกราคม 2559, จาก http://cec.dip.go.th/Portals/6/.../4%20AEC%20เตรียมความพร้อม.docx

กรมสรรพากร. (2555). ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในกรสรรพากร. สืบค้น 21 มกราคม 2559, จาก http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/download/jortor/c3-23-2-55.pdf

กรมสรรพากร. (2556). แผนยุทธศาสตร์กรมสรรพากรเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สืบค้น 21 มกราคม 2559, จาก http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/AEC/2-1-StrategyMap-RD-AEC.pdf

กรมสรรพากร. (2559). รายชื่อข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ สังกัดสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่. สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://10.20.25.2/jortor/fperson/NameByOff.php

กระทรวงการคลัง. (2553). อำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลัง. สืบค้น 18 มกราคม 2559, จาก http://www.mof.go.th/home/overall_1.html

กิติยาภรณ์ อินธิปีก. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในประเทศไทยเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

นฤมล สุมรรคา. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของบุคคลากรทางบัญชีเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษา: สถานประกอบการ จังหวัดสระบุรี (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สามารถชาย จอมวิญญา. (2554). การเตรียมความพร้อมข้าราชการไทยสู่ประชาคมอาเซียน. ในสำนักงาน ก.พ., มิติใหม่ที่ท้าทาย (น.119). นนทบุรี: สำนักงาน ก.พ..

อารีรัตน์ แก้วศรี. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของเจ้าหน้าที่จัดเก็บภาษีเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษา: สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Yamane Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29