ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อนโยบายการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนขนาดเล็ก
คำสำคัญ:
นโยบายการจัดการศึกษา, การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม, โรงเรียนขนาดเล็กบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษานโยบายการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียน ขนาดเล็ก 2) เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อนโยบายการจัดการศึกษาทางไกลผ่าน ดาวเทียมของโรงเรียนขนาดเล็ก และ 3) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อนโยบายการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 322 โรงเรียน จำนวนผู้ให้ข้อมูล จำนวน 644 คน โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ผลด้วยสถิติพื้นฐานและเทคนิคการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) นโยบายการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนขนาดเล็ก ยังต้องมีการปรับปรุงการดำเนินงานในทุกด้าน 2) ปัจจัยเบื้องต้น ผู้บริหารสถานศึกษามีความพร้อมของอยู่ในระดับดี แต่การจัดทำแผนนิเทศกำกับติดตามการจัดการศึกษาทางไกลยังต้องมีการปรับปรุงแก้ไขปัจจัยด้านกระบวนการ ได้แก่ การบริหารจัดการ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล และการมีส่วนร่วม ยังต้องมีการปรับปรุงการดำเนินงานและปัจจัยด้านผลผลิต ได้แก่ ความพึงพอใจของของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีมากที่สุด ส่วนการสร้างความพึงพอใจให้นักเรียนและผู้ปกครองยังต้องปรับปรุงการดำเนินงาน และ 3) ปัจจัยทางบวกที่มีอิทธิพลทางตรงต่อนโยบายการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนขนาดเล็ก ได้แก่ ความพร้อมของผู้บริหาร ความพร้อมของนักเรียน การบริหารจัดการ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การมีส่วนร่วม ความพึงพอใจของผู้บริหารและครผู้สอน ส่วนปัจจัยทางบวกทีมอิทธิพลทางอ้อมต่อนโยบายการจัดการศึกษา ทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนขนาดเล็ก ได้แก่ ความพร้อมของผู้บริหาร ความพร้อมของครูผู้สอน สื่อวัสดุอุปกรณ์ คุณภาพของเครือข่าย การวัดและประเมินผล และการมีส่วนร่วม โดยปัจจัยทางลบที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อนโยบายการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนขนาดเล็กคือ คุณภาพของเครือข่ายและความพร้อมของนักเรียน ตามลำดับ
References
ดิษฐ์ลดา ปันคำมา. (2551). การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 22. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์ (2557). การพัฒนารูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 25(3) 19-34.
บุญเฑียร ขัติเนตร. (2548). การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในโรงเรียนขยายโอกาส ในเขตอำเภอจริม จังหวัดน่าน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ประสาท วันทนะ. (2552). ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ไพโรจน์ คงเกิด. (2553). การประเมินโครงการจัดการศึกษาวิธีทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนวัดท่าพญา อำเภอปากพนัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
ภาสกร เรืองรอง, รุจโรจน์ แก้วอุไร, ทิพย์รัตน์ สิทธิวงษ์, วณิชชา แม่นยำ, วิลาวัลย์ สมยาโรน, ศรันยู หมื่นเดช และชไมพร ศรีสุราช (2558). Tablet PC: สื่อการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 26(2),1-12.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พ.ศ. 2558 – 2561 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (อัดสำเนา). กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). รายงานผลการดำเนินงานการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television: DLTV). (อัดสำเนา). กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. (ม.ป.ป.). แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม. (อัดสำเนา). สุพรรณบุรี: ม.ป.ท.
สุธาศินี สีนวนแก้ว. (2553). ปัจจัยความสำเร็จของการใช้ ICT เพื่อการพัฒนาสังคมสู่สังคมคุณภาพในประเทศกำลังพัฒนา. วารสารวิทยบริการ (ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2553), 126-138.
สุมาลี สังข์ศิริ. (2545ก). การจัดการศึกษานอกระบบด้วยวิธีการศึกษาทางไกลเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สุมาลี สังข์ศิริ. (2545ข). การจัดการศึกษานอกระบบด้วยวิธีการศึกษาทางไกลเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศิริรัตน์ แสงชีวงษ์. (2554). แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของผู้บริหารโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. (วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต), กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อุไรวรรณ กรุณานนทกิจจา. (2547). ความพึงพอใจของครูและนักเรียนโรงเรียนวังไกลกังวนระดับประถมศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Ballantine, J.H. (1997). Sociology of Education: A Systematic Analysis. (p.15) Russia: St. Petersburg Press.
Darren. P. (2005). Transactional distance and learner autonomy as predictors of Student performance in distance learning courses delivered by three modalities. Ph. D. dissertation. TulaneUniversity Dissertation. from website http://wwwlib.Umi.com/dissertations/fullcit/3170380. (2006, July 28)
Holmberg, B. (1960). Growth andStructure of Distance Education. Australia : Croom Helm Ltd.
Kamra, A.D. (1997). Accessibility and Teacher Utilization of the Newer Media in Jamaica. Junior Secondary Classroom Dissertation Abstracts International.
Lunenburg, F.C. and Ornstein, A.C. (1996). Educational administration: Concept and practices. Belmont, CA: Wadswort.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น