อิทธิพลของภาพลักษณ์ของพรีเซ็นเตอร์ ที่มีชื่อเสียงในวงการฟุตบอลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์กีฬาฟุตบอลของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ภาพลักษณ์พรีเซ็นเตอร์, กีฬา, การตัดสินใจซื้อบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจ ซื้อสินค้าประเภทอุปกรณ์กีฬาฟุตบอลของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร และ 2. เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยทางด้านภาพลักษณ์ของพรีเซ็นเตอร์ที่มีชื่อเสียงในวงการฟุตบอลไทยต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ประเภทอุปกรณ์กีฬาฟุตบอลของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานครที่ซื้ออุปกรณ์กีฬาฟุตบอล จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำหรับการวิจัย สถิติสำหรับการวิเคราะห์สมมติฐาน ได้แก่ t-test, One Way ANOVA และ Multiple Regression
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทางส่วนบุคคล ได้แก่ อายุที่แตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ประเภทอุปกรณ์กีฬาฟุตบอลของผู้บริโภคในจังหวัดกรงุเทพมหานคร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 และปัจจัยทางด้านภาพลักษณ์ของพรีเซ็นเตอร์ ได้แก่ การสร้างแรงจูงใจให้เกิดความต้องการ ซื้อสินค้า และด้านการเตือนใจให้ซื้อสินค้า มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทอุปกรณ์กีฬาฟุตบอล ของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2541). การวิเคราะห์สื่อ แนวคิดและเทคนิค. ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กัลยา กมลรัตน์. (2553). ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อชุดชั้นในชายในกรุงเทพมหานคร. (การศึกษาตามหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กิตติคุณ บุญเกตุ. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ของผู้บริโภคในจังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์) คณะสถิติประยุกต์) กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
กิตติพงศ์ กุลโศภิน. (2555). การรับรู้อัตลักษณ์ตราสินค้านิยมของสโมสรทีมฟุตบอลในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
ทัศนีย์ ศรีสวัสดิ์. (2557). อิทธิพลของการใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงอ้างอิงและชื่อเสียงของตราสินค้าที่ส่งผลต่อการรับรู้ด้านภาพลักษณ์ตราสินค้าและคุณค่าของตราสินค้ากระเป๋าแบรนด์หรูหราของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ภัสราพร รัตนชาติ. (2557). ภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือของบุคคลที่มีชื่อเสียงและกลยุทธ์การค้าปลีกที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางบนห้างสรรพสินค้าของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศรีกัญญา มงคลศิริ. (2547). การสร้างแบรนด์และการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพมหานคร: เลิฟ แอนด เลิฟ.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). พฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2552). การบริหารตลาดยุคใหม่ฉบับปรับปรุงใหม่ปี 2552. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สุพจน์ ไพบูลย์พุฒิพงศ์. (2554). อิทธิพลของการเป็นผู้สนับสนุนด้านกีฬาSports Sponsorship) ในการแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์ พรีเมียร์ลีกที่มีผลต่อการจดจำ ตราสินค้าของผู้เข้าชมในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น