พฤติกรรมการเปิดรับและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกเปิดรับชมโทรทัศน์ช่องข่าวในระบบดิจิทัลของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • มาโนช รักไทยเจริญชีพ สาขาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการเปิดรับ, ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกเปิดรับชมข่าว, โทรทัศน์ในระบบดิจิทัล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับชมของผู้ชมรายการข่าวโทรทัศน์ ในระบบดิจิทัลของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกเปิด รับชมโทรทัศน์ช่องข่าวในระบบดิจิทัลของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการเลือกเปิดรับชมโทรทัศน์ช่องข่าวในระบบดิจิทัลของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร กับพฤติกรรมการเปิดรับชม

ผู้ศึกษาใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 400 คน ผลการศึกษาพบว่าลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ของ กลุ่มตัวอย่างมีรายได้ค่อนข้างสูงคือ 15,001-30,000 บาท ส่วนใหญ่จะมีอาชีพพนักงานเอกชน รวมทั้งกลุ่มตัวอย่างมีระดับการศึกษาอยู่ใน ระดับค่อนข้างสูง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นระดับปริญญาตรี ส่วนพฤติกรรมการเปิดรับชม พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเปิดรับชมด้านความถี่ในการรับชมของผู้ชมรายการข่าวโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล 4 วันต่อสัปดาห์ โดยเฉลี่ย 39 นาทีต่อวัน ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างใช้เวลาในการรับชม 75 นาทีมากที่สุด และใช้เวลาในการรับชมน้อยที่สุดคือรับชมวันละ 1 นาที ช่วงเวลาในการับชมคือในวันจันทร์ - ศุกร์ (เวลา 19.00-20.15 น.) กลุ่มตัวอย่างเปิดรับชมช่อง 16 ทีเอ็นเอ็น มากที่สุด โดยมีลักษณะการรับชมเรื่อยๆ ตั้งใจชมเฉพาะในช่วงที่สนใจ สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกรับชม ได้แก่ ปัจจัยด้านเนื้อหา รายการ และทางด้านความสัมพันธ์ ปัจจัยในการเลือกเปิดรับชม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเปิด รับชมทั้งในด้านความถี่ในการรับชม ระยะเวลาในการเปิดรับชม และลักษณะในการเปิดรับชม

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2542). การวิเคราะห์สื่อ แนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2547). สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: แบรนด์เอจ.

กาญจนา แก้วเทพ .(2553). แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติ สิงหาปัด .(2549). ประเด็นข่าวร้อน เบื้องหลังข่าวลึก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เนชั่นบุ๊คส์.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2553). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 9). ม.ป.ท.: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช). (2556). ทำไมถึงต้อง Digital TV (2D Animation). สืบค้นวันที่ 15 มกราคม 2558. จาก https://www.youtube.com/watch?v=gnZwJe2fZXQ

จิราภรณ์ สุวรรณวาจกกสิกิจ. (2547). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อสารมวลชน หน่วยที่ 1-5. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปรมะ สตะเวทิน. (2541). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2543). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพฯ :คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิวัฒน์ รัตนพันธุ์. (2554). การเปิดรับ ความพึงพอใจ และการใช้ประโยชน์ ของผู้ชมรายการ “ข่าวข้น คนข่าวเช้า” ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นสพ.กรุงเทพธุรกิจ, กสทช. ทดลองออกอากาศทีวีดิจิตอล 1-24 เม.ย. ฉบับวันที่ 1 เมษายน 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29