วิธีการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพ: ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปวิธีการเสียภาษีโดยการประเมินตนเอง
คำสำคัญ:
วิธีการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพ, วิธีการเสียภาษีโดยการประเมินตนเอง, กฎหมายภาษีที่ซับซ้อน, หลักความง่าย, หลักความแน่นอนชัดเจน, และหลักความสะดวก, แบบแสดงรายการเสียภาษีที่ซับซ้อนต้นทุนในการปฏิบัติตามกฎหมายภาษี, การยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีผ่านทางระบบทางอิเล็กทรอนิกส์, การหนีภาษี, ความสูญเสียรายได้ทางภาษี, การปฏิบัติตามกฎหมายภาษีโดยสมัครใจ, การปรับปรุงการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีโดยสมัครใจบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเสียภาษีโดยการประเมินตนเองโดยการศึกษาจากเอกสาร ซึ่งผู้เขียนพบว่า ความง่าย และความแน่นอนชัดเจนของกฎหมายภาษี และวิธีการในการจัดเก็บ ภาษีที่ง่าย แน่นอนชัดเจน และสะดวกเป็นลักษณะของกฎหมายภาษีและวิธีการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพ ประเทศไทยรับเอาวิธีการเสียภาษีโดยการประเมินตนเองมาใช้ วิธีการเสียภาษีโดยการประเมินตนเอง สะดวกสำหรับผู้จัดเก็บภาษี และลดต้นทุนในภาครัฐบาลซึ่งสนับสนุนความมีประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี อย่างไรก็ตาม วิธีการเสียภาษีโดยการประเมินตนเองเพิ่มค่าใช้จ่ายให้แก่ภาคเอกชน เพราะผู้เสียภาษีต้อง กรอกแบบแสดงรายการเสียภาษีที่ซับซ้อนอันเป็นผลมาจากกฎหมายภาษีที่ซับซ้อน สิ่งนี้ไม่สอดคล้องกับหลักความง่าย ความแน่นอนชัดเจน และความสะดวก ความซับซ้อนในกฎหมายภาษีนำไปสู่แบบแสดงรายการ เสียภาษีที่ซับซ้อน และเพิ่มต้นทุนในการปฏิบัติตามกฎหมายภาษี ในปัจจุบันมีอย่างน้อย 3 มาตรการ ในการแก้ไขอุปสรรคในการกรอกแบบแสดงรายการเสียภาษีและช่วยเหลือผู้ไม่มีความรู้ทางด้านภาษี กล่าวคือ การช่วยเหลือของผู้จัดเก็บภาษีในการคำนวณภาษี การจัดหาคู่มือภาษีให้แก่ผู้เสียภาษี และการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีและการจ่ายภาษีผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์
นอกจากมาตรการข้างต้น มาตรการที่ผู้เขียนได้เสนอแนะในบทความนี้ดังต่อไปนี้จะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลไทยในการปรับปรุงวิธีการเสียภาษีโดยการประเมินตนเองได้แก่ รัฐบาลควรให้เงินช่วยเหลือการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ความซับซ้อนของกฎหมายภาษีควรลดลง (เช่น การยกเลิกรายจ่ายในทางภาษีบางรายการน่าจะช่วยทำให้กฎหมายภาษีง่ายขึ้น) การยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ควรที่จะได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ควรมีการบังคับทางกฎหมายเพื่อให้มีการจัดเก็บเอกสารและจัดทำบัญชี และบทลงโทษสำหรับการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายควรมีอยู่อย่างพอเหมาะพอควร
วิธีการเสียภาษีโดยการประเมินตนเองอาจนำไปสู่การหนีภาษีและความสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีเพื่อที่จะก่อให้เกิดความมีประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีให้มากยิ่งขึ้น วิธีการเสียภาษีโดยการประเมินตนเองควรได้รับการออกแบบและทำงานเพื่อลดต้นทุนการปฏิบัติตามกฎหมายของผู้เสียภาษีและสนับสนุนการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีโดยสมัครใจ มาตรการที่ผู้เขียนได้เสนอแนะดังต่อไปนี้จะช่วยปรับปรุงการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีโดยสมัครใจได้แก่ การให้การศึกษาเกี่ยวกับวิธีการเสียภาษีโดยการประเมินตนเอง การทำให้กฎหมายภาษีและกระบวนการจัดเก็บภาษีง่ายขึ้น การปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ (เช่น การคำนวณความรับผิดในการเสียภาษีโดยอัตโนมัติและระบบเลขหมายประจำตัวผู้เสียภาษี) การฝึกฝนเจ้าหน้าที่ผู้จัดเก็บภาษีให้มีความสามารถในการตรวจสอบผู้ที่ละเลยหน้าที่ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีการกำหนดบทลงโทษที่พอเหมาะพอควรกับบุคคลซึ่งเพิกเฉยไม่เก็บเอกสารและบัญชีให้เหมาะสม นักธุรกิจและผู้มีวิชาชีพควรมีหน้าที่แสดงสำเนาแบบแสดงรายการเสียภาษีและใบเสร็จชำระค่าภาษีต่อหน่วยงานของรัฐบาลหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องในเวลาต่อใบอนุญาตประกอบธุรกิจหรือใบประกอบวิชาชีพ กรมสรรพากรควรจัดส่งแบบแสดงรายการเสียภาษีไปให้ประชาชนโดยเร็วหลังสิ้นสุดปีภาษี และผู้ที่ไม่ได้รับแบบแสดงรายการเสียภาษีควรแจ้งต่อกรมสรรพากรภายในเวลาที่กำหนด
References
Chennells, L. (1997). The Windfall Tax. Fiscal Studies, 18(3)
Foreman, A. & Mowles, G. (2002). Zurich Tax Handbook 2002-03. Harlow: Pearson Education Limited.
Green, S. (1996). Self-assessment: A New Era for United Kingdom Taxpayers, But What About the Costs British Tax Review 1996. London: Sweet & Maxwell.
Hedges, A. & Bromley, C. (2001). Public attitudes towards Taxation. London: Fabian Society.
Homer, A. & Burrows, R. (2002).Tolley’s Tax Guide 2002-2003. (21st ed). Surrey: Lexis NexisButterworths Tolley.
James, S. (2012). A Dictionary of Taxation. (2nd ed). Glos: Edward Elgar Publishing Limited.
James, S. & Nobes, C. (2000).The Economics of Taxation. (7thed). Essex: Pearson Education.
Lymer, A. et al. (2003). Taxation: Policy and Practice. (10thed). Birmingham: Accounting Education.
Melville, A. (2004). Taxation: Finance Act 2003. (9th ed). Essex: Pearson Education Limited.
Morse, G. & Williams, D. (2004). Davies: Principles of Tax Law. (5th ed). London: Sweet & Maxwell.
Mumford, A. (1996). Self-assessment for Income Tax: The Relevance of Historical and Constitutional Difference. British Tax Review 1996. London: Sweet & Maxwell.
Musgrave, R.A. & Musgrave, P.B. (1984). Public Finance in Theory and Practice. (4th ed). New York: McGraw-Hill Book.
Nightingale, K. (2000). Taxation Theory and Practice. (3rd ed). Essex: Pearson Education.
Sandford, C. (1980). Tax Compliance Costs, Evasion and Avoidance. Income Redistribution: the Limits to
Redistribution. David Collard, Richard Lecomber and Martin Slater, eds. Bristol: John Wright & Sons.
Shipwright, A. & Keeling, E. (1998). Revenue Law. (2nd ed). London: Blackstone Press.
Slemrod, J. & Yitzhaki, S. (1996). The Costs of Taxation and the Marginal Efficiency Cost of Funds. Washington, D.C.: IMF.
Smith, A. (2000). The Wealth of Nations. (Edwin Cannan, ed). New York: The Modern Library.
Tanzi, V. & Zee, H. (2001). Tax Policy for Developing Countries. Washington, D.C.: IMF.
The World Bank. (1991). Lessons of Tax Reform. Washington, D.C.: The World Bank.
The World Bank. (2000). Thailand Public Finance in Transition. Washington, D.C.: The World Bank.
The World Bank. (2002). Thailand’s Troubled Tax Computerization Project. Retrieved on 15/03/2002, from http://www1.worldbank.org/publicsector/egov/Thai_taxcs.htm
Thirsk, W. (1991). Lessons from Tax Reform: An Overview. Tax Policy in Developing Countries. (JavadKhalilzadeh-Shirazi and Anwar Shah, eds). Washington, D.C.: The World Bank.
Tiley, J. (2005). Revenue Law. (5th ed). Oxford: Hart Publishing.
Whitehouse, C. et al. (2003). Revenue Law-Principles and Practice. (21st ed). London: Reed Elsevier (UK) Ltd.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น