มองพนันฟุตบอลผ่านเครื่องมือเศรษฐศาสตร์

ผู้แต่ง

  • วิษณุ วงศ์สินศิริกุล หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

เกมพนันฟตุบอล, เว็บไซต์พนันฟุตบอล, โต๊ะพนันบอล, ความยืดหยุ่น, อุปสงค์ต่อรายได้, อุปสงค์ที่คาดหวัง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของนักศึกษาที่ตัดสินใจเข้าสู่ตลาดเกมพนัน ฟุตบอล2)ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความถี่และค่าใช้จ่ายในการเล่นพนันฟุตบอล และ 3) ศึกษาความยืดหยุ่น อุปสงค์ในการเล่นพนันฟุตบอลต่อรายได้ (Income Elasticity) รวมไปถึงอุปสงค์ที่คาดหวังต่อการเล่นพนันฟุตบอล (Gambling Pent-Up Demand)

ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า 1) นักศึกษาที่เล่นพนันฟุตบอลส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษาชาย ที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค โดยอาศัยอยู่กับพ่อ แม่หรือผู้ปกครอง นักศึกษาที่มีรายได้ส่วนตัวเพิ่มขึ้นและรายจ่ายส่วนตัวลดลงมีโอกาสที่จะเล่นพนันฟุตบอลมากขึ้น 2) นักศึกษาที่เล่นพนันฟุตบอลที่มีรายจ่ายส่วนตัวในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น มีแนวโน้มของการวางเงินเดิมพันต่อครั้งและความถี่ในการเล่นพนันฟุตบอลเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่นักศึกษาที่ครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้นและนักศึกษาที่มีรายได้ส่วนตัวเพิ่มขึ้นจะมีความถี่ในการเล่นพนันฟุตบอลลดลง นักศึกษาที่เล่นพนันฟุตบอลผ่านเว็บไซด์ รับแทงพนันจะวางเงินเดิมพันและมีความถี่ในการเล่นพนันฟุตบอลสูงกว่านักศึกษาที่เล่นพนันฟุตบอลผ่านโต๊ะพนันบอล 3) หากประเทศไทยอนุญาตให้มีร้านรับแทงพนันฟุตบอลถูกกฎหมาย การเล่นพนันผ่านร้านรับพนันถูกกฎหมาย (อุปสงค์ที่คาดหวังหรือ Pent-Up Demand) ถือเป็นสินค้าบริการที่มีค่าความยืดหยุ่น อุปสงค์ต่อรายได้ต่ำ โดยหากรายได้นักศึกษาที่เล่นพนันฟุตบอลเพิ่มขึ้น 1 บาท นักศึกษาจะวางเดิมพัน ผ่านร้านรับพนันฟุตบอลถูกกฎหมายเพิ่มขึ้น 0.40 บาท

References

ผาสุก พงษ์ไพจิตร, สังศิต พิริยะรังสรรค์, และนวลน้อย ตรีรัตน์. (2543). หวย ซ่อง บ่อน ยาบ้า: เศรษฐกิจนอกกฎหมายกับนโยบายสาธารณะในประเทศไทย. เชียงใหม่: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

วิษณุ วงศ์สินศิริกุล. (2546). การพนันทางอินเทอร์เน็ต: หายนะตัวใหม่ของสังคมไทย. ในสังศิต พิริยะรังสรรค์และคณะ. เศรษฐกิจการพนัน: ทางเลือกเชิงนโยบาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล.

วิษณุ วงศ์สินศิริกุล. (2555). พนันฟุตบอล: อมตะแห่งเกมพนัน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

สังศิต พิริยะรังสรรค์ และคณะ. (2557). โครงการศึกษาวิจัยกิจการสลากกินแบ่งไทยเพื่อการพัฒนา: องค์ความรู้ กรอบแนวคิด และแนวทางการพัฒนาองค์กร. กรุงเทพฯ: สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

สรชัย พิศาลบุตร, มนฤดี กีรติพรานนท์, กมลทิพย์ อาร์ธอส, และวิษณุ วงศ์สินศิริกุล. (2557). การศึกษาสถานการณ์พฤติกรรมและผลกระทบการพนันในประเทศไทย ประจำปี 2556: กรณีสถาบันการศึกษา. กรุงเทพฯ:สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

Kitchen, H. and Powells, S. (1991). Lottery expenditures in Canada: A regional analysis of determinants and incidence. Applied Economics, 23, 1845-1852

Layton, A. and Worthington, A. (1999). The impact of socio-economic factors on gambling expenditure. International Journal of Social Economics, 26(1-3), 430-440

Manzin, M. and Biloslavo, R. (2008). Online Gambling: Today’s Possibilities and Tomorrow’s Opportunities. Managing Global Transitions, 6, 95-110.

Pugh, P. and Webley, P. (2000). Adolescent participation in the U.K. National lottery games. Journal of Adolescence, 23, 1-11

Wood, T. R. and Williams, R.J. (2007). Problem gambling on the internet: Implications for internet gambling policy in North America. New Media & Society, 9, 520-542.

Pent-up-demand. Retrieved July 2, 2015, from http://www.businessdictionary.com/definition/pent-updemand.html

Pent Up Demand. Retrieved July 2, 2015, from http://www.investopedia.com/terms/p/pent-up-demand.asp

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29