การสร้างอัตลักษณ์เด็กผู้หญิงผ่านวรรณกรรมนิทานเรื่อง “กุ๋งกิ๋ง”

ผู้แต่ง

  • เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์, การรับรู้, เด็กผู้หญิง, นิทาน

บทคัดย่อ

การสร้างอัตลักษณ์เด็กผู้หญิงผ่านวรรณกรรมนิทานเรื่อง “กุ๋งกิ๋ง” เป็นการใช้สื่อที่มีอิทธิพลต่อเด็กผู้หญิง คือ นิทานเรื่อง “กุ๋งกิ๋ง” มาเป็นการสร้างอัตลักษณ์ในการส่งเสริมพฤติกรรมของเด็กในวัยอายุ 3-4 ปี โดยมีการวิเคราะห์อัตลักษณ์ของเด็กผู้หญิงในนิทานเรื่อง “กุ๋งกิ๋ง” จำนวน 4 ชุด 16 เล่ม มีการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) ได้แก่ ภาษาที่ใช้เขียนนิทานเป็นกลอนสี่สุภาพประมาณ 11 บท ต่อ 1 เรื่อง มีการ ใช้คำง่ายๆ เหมือนภาษาพูดและภาพประกอบ จะใช้ภาพการ์ตูนมีสีสันสดใส น่าสนใจและเป็นสีที่เป็นไปตามธรรมชาติ สื่อถึงอารมณ์ของตัวละคร ส่วนการรับรู้อัตลักษณ์ของเด็กผู้หญิงในนิทานเรื่อง “กุ๋งกิ๋ง” ได้มีการสัมภาษณ์จากผู้ปกครองและครูระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาล 1 จำนวน 5 คน ถึงพฤติกรรมการรับรู้ ในขณะที่เล่านิทาน และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเด็กๆ พบว่าส่วนใหญ่คุณแม่จะเป็นคนเล่านิทาน ซึ่งเด็กแต่ละคนอาจจะมีการรับรู้แตกต่างกัน ทำให้ความหมายที่ถูกประกอบสร้างขึ้นมีความหลากหลาย (Polysemy) เนื่องจากมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดการเข้าใจไม่เหมือนกัน สุดท้ายจะนำมาสรุป โดยการนำทฤษฎีวัฒนธรรมศึกษาในเรื่องอัตลักษณ์มาเชื่อมโยงถึงการสร้างอัตลักษณ์ของเด็กผู้หญิงจาก การได้รับฟังนิทานเรื่อง “กุ๋งกิ๋ง” คือ มีการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นเด็กผู้หญิงในชนชั้นกลาง แสดงออกถึง พฤติกรรมการกินอยู่ การสร้างบุคลิกภาพ การใช้เวลาว่าง การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม

References

กล่อมจิตต์ พลายเวช. (2527). รายงานผลการวิจัยทุนวิจัยคณะอักษรศาสตร์เรื่องหนังสือสำหรับเด็กใน ช่วงปี พ.ศ.2525-2529. กรุงเทพ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา แก้วเทพ. (2553). แนวพินิจใหม่ในสื่อสารการศึกษา. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2556). สื่อสารมวลชน ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ และนันทกา สุธรรมประเสริฐ และเอกธิดา เสริมทอง. (2554). ผู้คนที่หลากหลายในการสื่อสาร : เด็ก สตรี และผู้สูงวัย. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับการสื่อสารศึกษา. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

กิติยวดี บุญซื่อ และคณะ. (2540). ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

กิ่งแก้ว อัตถากร. (2519). คติชนวิทยา. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู.

เกริก ยุ้นพันธุ์. (2539). การเล่านิทาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ: สุวีริยาสาสน์

ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2527). บทสคริปต์การทำหนังสือสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร.

ชิตาภา สุขพลำ. (2548). การสื่อสารระหว่างบุคคล. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

นิตยา คชภักดี. (2543). ขั้นตอนการพัฒนาของเด็กปฐมวัยตั้งแต่ปฏิสนธิถึง 5 ปี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

บริษัท แปลน ฟอร์ คิดส์ จำกัด. (2558). นิทานเรื่องกุ๋งกิ๋ง. สืบค้น 13 เมษายน 2558, จาก https://www.planforkids.com/

ลาวัณย์ สังขพันธานนท์. (2552). การประกอบสร้างอัตลักษณะในนิทานพื้นเมืองลาวลุ่ม. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร,6 (3),107-125.

วรเชษฐ หอมจันทร์. (2540). การรับรู้ของเยาวชนในเขตชุมชนคลองเตยเกี่ยวกับบทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในการชักจูงเยาวชนไปสู่การสร้างพฤติกรรมเบี่ยงเบน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตคณะนิเทศศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรัชญ์ วานิชวัฒนากุล. (2548). การสื่อสารความหมายใน “การ์ตูนไทยพันธุ์ใหม่” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สิริวรรณ ฤทธิสาร. การเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยที่ใช้วิธีการสอนแบบการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบภาพและวิธีการสอนแบบปกติ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

Buckingham, D. (2012). Children and media: a cultural studies approach. Year 5 Nº. 2 Jan./June 2012 – São Paulo – Brasil p. 93 – 121

Den B., B. V.,& Den B., J. V. (2000). Children and Media: Multidisciplinary Approaches. APD, Netherlands: CBGS & Garant Publisher.

Geertz, C. (1973). The Interpretation of cultures. New York: A Member of the Perseus Books Group.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30