การพัฒนาชุดการเรียนรู้เรื่องจิตวิทยาสำหรับครู สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี
คำสำคัญ:
ชุดการเรียนรู้ด้วยตนอง, จิตวิทยาสำหรับครู, นิสิตระดับปริญญาตรีบทคัดย่อ
งานวิจัย เรื่อง การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่องจิตวิทยาสำหรับครู สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่องจิตวิทยาสำหรับครู และ 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่องจิตวิทยาสำหรับครู กลุ่มเป้าหมายในครั้งนี้ คือ นิสิตที่มีความประสงค์จะประกอบวิชาชีพครู แต่ไม่ใช่นิสิต คณะศึกษาศาสตร์ และไม่เคยลงทะเบียนเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู และสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 12 คน ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกอย่างเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง จิตวิทยาสำหรับครู 2) แบบสอบถาม ความคิดเห็นที่มีต่อชุด การเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง จิตวิทยาสำหรับครู และ 3) ประเด็นการสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า
1) ชุดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ได้เนื้อหามาจากการวิเคราะห์มาตรฐานคุรุสภา หลักสูตร 4 จิตวิทยา สำหรับครู ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ จำนวน 5 หน่วย ได้แก่ จิตวิทยาพัฒนาการ ทฤษฎีการเรียนรู้ ทางจิตวิทยา การตั้งเป้าหมายและแรงจูงใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคล และการบริหารจัดการชั้นเรียน ซึ่งแต่ละหน่วยมี องค์ประกอบ คือ กรอบแนวคิด จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสำคัญ คำชี้แจง แบบทดสอบ ก่อนการศึกษาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เนื้อหาและคำถามท้ายบท แบบทดสอบหลังการศึกษาชุดการเรียนรู้ ด้วยตนเอง เฉลยแบบทดสอบ เฉลยคำถามท้ายบท หนังสืออ่านประกอบ และบรรณานุกรม
2) ผลการศึกษาผลการพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่องจิตวิทยาสำหรับครู พบว่า ชุด การเรียนรู้ มีประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้ เท่ากับ 85.83/87.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 และกลุ่มเป้าหมายมีร้อยละความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการศึกษาชุดการเรียนรู้ด้วย ตนเอง เท่ากับ 41.66
นอกจากนี้กลุ่มเป้าหมายมีความคิดเห็นต่อการใช้ชุดการเรียนรู้ด้านเนื้อหาและด้านการประเมินผล การเรียนรู้อยู่ในระดับมาก และยังมีความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง จิตวิทยา สำหรับครู ไม่เพียงแต่มีประโยชน์ในแง่ของการเพิ่มพูนความรู้ในเรื่องจิตวิทยาสำหรับครู เท่านั้น แต่มี ประโยชน์สำหรับการพัฒนาตนเอง โดยเฉพาะในหน่วยที่ 3 ซึ่งเป็นเนื้อหาในแง่ของการตั้งเป้าหมายและ แรงจูงใจด้วย ซึ่งช่วยให้นิสิตสามารถตั้งเป้าหมายและแรงจูงใจทางการเรียนได้ และยังช่วยให้นิสิตสามารถ บริหารจัดการเวลาในการเรียนรู้ของตนเองได้ เนื่องจากนิสิตสามารถใช้เวลานอกเหนือจากเวลาเรียนและ ภาระงานต่างๆ ของตนเองในการศึกษาชุดการเรียนรู้ และเลือกสถานที่ในการศึกษาที่นิสิตพอใจที่ช่วย กระตุ้นให้นิสิตเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ชุดการเรียนรู้ และไม่เกิดความกดดันขณะเรียน
References
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2543). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: หจก.เอส อาร์ พริ้นติ้ง.
บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.
เผชิญ กิจระการ. (2544). การวิเคราะห์สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (E1/E2). วารสารการวัดผลการศึกษา, 7(4), 44-51.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544). ระเบียบวิธีการศึกษาทางสังคมศาสตร์. คณะครุศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏพระนคร.
เพ็ญศรี สร้อยเพชร. (2542). บทเรียนสำเร็จรูป. นครปฐม: สถาบันราชภัฏนครปฐม.
ยืน ภู่สุวรรณ. (2544). การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้. สืบค้น 20 สิงหาคม 2558, จาก http://www.thaicai.com/articles/learning_network.html.
เรขา อินทรกำแหง. (2553). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง วิชา 150203 สุนทรียภาพของชีวิตทางด้านนาฏศิลป์. คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ลัดดา ศุขปรีดี. (2522). เทคโนโลยีการเรียนการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิฆเณศ.
สมคิด อิสระวัฒน์. (2532). การเรียนรู้ด้วยตนเอง. วารสารการศึกษานอกระบบ, 4(2), 73-80.
_____. (2538). ลักษณะการเรียนรู้ด้วยตัวเองของคนไทย. คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมใจ กงเติม. (2551). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อเสริมสร้างคุณธรรม 8 ประการ สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. คณะครุศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2556). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2552). วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมการเรียนรู้โดยการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
อัชรา เอิบสุขสิริ. (2556). จิตวิทยาสำหรับครู. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอมอร บริบูรณ์. 2553. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษา การศึกษานอกโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นระหว่างการจัดการเรียนรู้จากชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการเรียนรู้). อยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
Knowles, M.S. (1975). Self-Direct Learning: A Guide for Learners and Teachers. Chicago: Follet Publishing Company.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น