พฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนในชั้นเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ผู้แต่ง

  • ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, สมาร์ทโฟน, นักศึกษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนในชั้นเรียนของนักศึกษา และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนในชั้นเรียนและผลการเรียนของนักศึกษา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จำนวน 323 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบไคสแควร์

ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนในชั้นเรียนเพื่อค้นคว้าข้อมูล ในขณะทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมาย (ร้อยละ 50.5) และในบางครั้งได้นำสมาร์ทโฟนมาใช้เพื่อค้นหา เนื้อหาที่ไม่เข้าใจเพิ่มเติมในระหว่างเรียน (ร้อยละ 46.8) นอกจากนี้ นักศึกษานำสมาร์ทโฟนมาใช้ถ่ายรูป PowerPoint ของอาจารย์แทนการจดบันทึกในบางครั้ง (ร้อยละ 47.7) และนำมาใช้เพื่อติดต่อ/ตามเพื่อนให้มาเข้าเรียนบางครั้ง (ร้อยละ 56.7) อย่างไรก็ดี พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลาน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของคาบเรียนในการแอบใช้สมาร์ทโฟนโดยไม่เกี่ยวข้องกับการเรียน (ร้อยละ 47.7) โดยมีวัตถุประสงค์ ในด้านสื่อสังคมออนไลน์เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ และอินสตาแกรม (ร้อยละ 59.1) ทั้งนี้ช่วงเวลาที่นักศึกษาส่วนใหญ่แอบใช้สมาร์ทโฟนในชั้นเรียนคือ ช่วงที่อาจารย์เน้นสอนแบบบรรยาย (ร้อยละ 39.6) และ 2) พฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนในชั้นเรียนมีความสัมพันธ์กับผลการเรียนของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05

ข้อเสนอแนะ คือ 1) อาจารย์ผู้สอนควรตกลงกฎหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้สมาร์ทโฟนในชั้นเรียนร่วมกับนักศึกษาอย่างชัดเจน 2) อาจารย์ผู้สอนควรปรับเปลี่ยนวิธีการสอนโดยลดการบรรยาย และเน้นกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนโดยให้นักศึกษาได้ค้นคว้าหรือเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสมาร์ทโฟน และ 3) อาจารย์ผู้สอนอาจปรับแผนการสอนรายคาบโดยเพิ่มช่วง “Technology Breaks” กล่าวคือ เป็นการอนุญาตให้นักศึกษาใช้สมาร์ทโฟนได้ในระหว่างการพักช่วงระยะเวลาสั้นๆ ระหว่างเรียนประมาณ 1-2 นาที เพื่อให้นักศึกษาได้เช็คข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์ และหลังจากนั้นจึงกลับมาเข้าสู่เนื้อหาของบทเรียนต่อ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้นักศึกษาแอบใช้สมาร์ทโฟน และจะช่วยทำให้นักศึกษามีสมาธิในระหว่างเรียนมากขึ้น

References

ชื่นสุมล บุนนาค. (2554). ทัศนคติและพฤติกรรมการ Chat ผ่านโทรศัพท์มือถือ Smartphone ของวัยรุ่นกลุ่ม Generation Y. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 8(2), 87-103.

ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2558). ความพึงพอใจของนักศึกษาจีนที่มีต่อการเรียน ในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 26(3), 32-41.

บุษรา ประกอบธรรม. (2556). การศึกษาการยอมรับเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 27(81), 93-108.

เบญจวรรณ์ ธนูวาศ, ปารณีย์ สันเจริญ, นิตชา รัตนเสถียร, สุรัตน์ แก้วสกุล และเกรียงศักดิ์ ปัทมเรขา. (2557). การแอบใช้สมาร์ทโฟนระหว่างเรียนในชั้นเรียนของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 33(4), 209-222.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2555). สมาร์ทโฟน. สืบค้น 23 มีนาคม 2558, จาก http://www.thaiglossary.org/node/59286

อัศวิน แสงพิกุล. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อาฟีฟี ลาเต๊ะ, ศรัชฌา กาญจนสิงห์, จิระนันท์ อนันต์ไทย และสรณ์สิริ โททอง. (2555). ทัศนคติที่มีผลต่อการใช้ Facebook ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 23(3), 80-97.

Alfawareh, H. M. & Jusoh, S. (2014). Smartphones Usage among University Students: Najran University Case. International Journal of Academic Research, 6(2), 321-326.

Al-Menayes, J. J. (2014). The Relationship Between Mobile Social Media Use and Academic Performance in University Students. New Media and Mass Communication, 25(2014), 23-29.

Jacobsen, W. C. & Forste, R. (2011). The Wired Generation: Academic and Social Outcomes of Electronic Media Use Among University Students. Cyberpsychology, Behavior, and Social Networking, 14(5), 275-280.

Jena, R. K. (2014). The Impact and Penetration of Smartphone Usage in Student’s Life. Global Journal of Business Management, 8(1), 29-35.

Lepp, A., Barkley, J. E., & Karpinski, A. C. (2015). The Relationship Between Cell Phone Use and Academic Performance in a Sample of U.S. College Students. SAGE Open, (January-March), 1-9.

Lupton, D. (2012). Digital Sociology: An Introduction. Sydney: University of Sydney.

Martin, C. (2011). In-Class Texting Behaviors among College Students. Retrieved March 23, 2015 from http://www.unh.edu/news/docs/UNHtextingstudy.pdf

Mok, JY., et al. (2014). Latent Class Analysis on Internet and Smartphone Addiction in College Students. Neuropsychiatric Disease and Treatment, 2014(10), 817-828.

Morphitou, R. N. & Morphitis, A. (2014). The Use of Smartphones among Students in Relation to Their Education and Social Life. Retrieved March 23, 2015, from http://www.icicte.org/Proceedings2014/Papers%202014/2.4%20Morphitou.pdf

Ravizza, S. (2014). Suffering the Web in Class?. Retrieved October 2, 2014, from http://msutoday.msu.edu/news/2014/surfing-the-web-in-class-bad-idea/

Rosen, L.D., Carrier, M. & Cheever, N. A. (2013). Facebook and Texting Made Me Do It: Media-Induced Task-Switching While Studying. Computers in Human Behavior, 29, 948-958.

Tindell, D. R. & Bohlander, R. W. (2012). The Use and Abuse of Cell Phones and Text Messaging in the Classroom: A Survey of College Students. College Teaching, 6, 1-9.

Wei, F.-Y. F. (2012). Text Messaging in Class May Affect College Students’ Learning. Retrieved September 22, 2015, from http://www.sciencedaily.com/releases/2012/04/120404101822.htm

Wei, F.-Y. F., Wang, Y. K. & Klausner, M. (2012). Rethinking College Students’ Self-Regulation and Sustained Attention: Does Text Messaging During Class Influence Cognitive Learning?. Communication Education, 61(3), 185-204.

Yu, F. (2012). Mobile/Smart Phone Use in Higher Education. Retrieved March 23, 2015, from http://www.swdsi.org/swdsi2012/proceedings_2012/papers/papers/pa144.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30