จารึกภาษาสันสกฤตในอินเดียและกัมพูชา: บรรทัดฐานความงามของอลังการ
คำสำคัญ:
จารึกภาษาสันสกฤตในอินเดียและกัมพูชา, อลังการ, ศัพทาลังการ, อรรถาลังการบทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาจารึกภาษาสันสกฤตในประเทศอินเดียและกัมพูชา ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตกลุ่มจารึกภาษาสันสกฤตจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีความงามในด้านอลังการ ได้แก่ จารึกบนเสาหินอัลละฮะบาดของพระเจ้าสมุทรคุปตะ จารึกเมืองมันทโสร์ของพระเจ้ายโศธรมัน จารึกหฑาหาของพระเจ้าอีศานวรมัน จารึกหันไชยของพระเจ้าภววรมันที่ 2 จารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาท พระขรรค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ผลการศึกษาพบว่ากวีผู้แต่งจารึกภาษาสันสกฤตทั้งในประเทศอินเดียและกัมพูชาต่างประจักษ์ถึงคุณค่าของอลังการ ซึ่งอลังการนี้เองเป็นบรรทัดฐานที่กำหนดความงามของเสียงและความหมายให้ ลึกซึ้งคมคาย การสร้างสรรค์อลังการที่ปรากฏในจารึกภาษาสันสกฤตได้ยืนยันให้เห็นว่ากวีมีความรอบรู้ในเทพปกรณัมธรรมชาติวิทยา เพื่อใช้เปรียบเทียบสิ่งที่กวีกล่าวถึงจนกลายเป็นขนบวรรณศิลป์ และสามารถสร้างสรรค์คุณลักษณะของอลังการทั้งศัพทาลังการและอรรถาลังการให้ประสานสอดคล้องกันอย่างยอดเยี่ยม โดยเฉพาะอรรถาลังการที่ต้องอาศัยการวิเคราะห์ตีความ เนื่องจากคำศัพท์ส่วนมากใน จารึกมิได้สื่อความหมายตามรูปศัพท์อย่างตรงไปตรงมา อลังการอันเป็นบรรทัดฐานความงามในจารึก ภาษาสันสกฤตประเทศอินเดียและกัมพูชาจึงมีพลังทางวรรณศิลป์แห่งยุคสมัยสืบทอดมาอย่างยาวนาน
References
กรมศิลปากร.(2513). ประชุมจารึกภาคที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
กุสุมา รักษมณี. (2549). การวิเคราะห์วรรณคดีไทยตามทฤษฏีวรรณคดีสันสกฤต. กรุงเทพฯ : โครงการตำราภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เกื้อพันธุ์ นาคบุปผา. (2520). พระอินทร์ในวรรณคดีสันสกฤต บาลี และวรรณคดีไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา. (2523). จารึกภาษาสันสกฤตที่สำคัญในประเทศอินเดีย ระหว่าง ค.ศ.150-532. กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา. (2530). อลังการ. คีตวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา. (2544). คำบรรยายเรื่อง จารึกภาษาสันสกฤตในอินเดียและกัมพูชา. ภาษา-จารึก 7. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา และอุเทน วงศ์สถิตย์. (2557). การวิจัยจารึกปราสาทหันไชย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จำลอง สารพัดนึก. (2530). ประวัติวรรณคดีสันสกฤต.กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บรรจบ บรรณรุจิ. (2555). ประวัติศาสตร์อินเดียโบราณ. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.
ป.ส.ศาสตรี. (2550). อลังการศาสตร์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
ลัลนา ศิริเจริญ. (2524). อลังการในมหาชาติคำหลวง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วันดี อิ่มสวาสดิ์. (2521). พราหมณ์ในคัมภีร์พระไตรปิฏก (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. (2537). ธรรมเนียมการจารึกเรื่องกษัตริย์อินเดีย ลังกา พม่า เขมรกับศิลาจารึกหลักที่ 1. ภาษา-จารึก ฉบับ ภาควิชาภาษาตะวันออก 20 ปี กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออกคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Basham, A.L. (1971). The wonder that was India. Calcutta: Fontana Book.
Sircar, D. C. (1965). Select Inscriptions Bearing on Indian History and Civilization,Vol 1. Calcutta: University of Calcutta.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น