การศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมเกื้อหนุนต่อการสร้างสังคมความเป็นผู้ประกอบการ: กรณีศึกษาประเทศไทย
คำสำคัญ:
ปัจจัยสภาพแวดล้อมเกื้อหนุนต่อการสร้างสังคมความเป็นผู้ประกอบการ, โครงการสำรวจสังคม, ความเป็นผู้ประกอบการระดับโลก, เอเชียบทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมเกื้อหนุนต่อการสร้างสังคม ความเป็นผู้ประกอบการของประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2558 และทำการศึกษาเปรียบเทียบระดับปัจจัยสภาพแวดล้อมเกื้อหนุนของประเทศไทยกับประเทศในกลุ่มเอเชียจำนวน 8 ประเทศซึ่งเป็นสมาชิก ของโครงการสำรวจสังคมความเป็นผู้ประกอบการระดับโลก Global Entrepreneurship Monitor (GEM) อันได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เวียดนาม จีน และไต้หวัน โดยอาศัยข้อมูลทุติยภูมิของโครงการ GEM ในส่วนการสำรวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (National Expert Survey: NES) จำนวน 36 คนใน 9 สาขาธุรกิจของแต่ละประเทศ ซึ่งทำการสอบถามระดับปัจจัยสภาพแวดล้อมเกื้อหนุนต่อการสร้างสังคมความเป็นผู้ประกอบการ ผลการศึกษาในปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยมีปัจจัยสภาพแวดล้อมเกื้อหนุนที่พร้อมสำหรับผู้ประกอบการในด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความเท่าเทียมทางสังคมและวัฒนธรรม และด้านการเปิดกว้างของตลาด โดยมีระดับการประเมินเฉลี่ยอยู่ที่ 3.83 3.35 และ 3.15 ตามลำดับ นอกจากนี้ จากการเปรียบเทียบระดับปัจจัยสภาพแวดล้อมเกื้อหนุนของประเทศไทยกับประเทศในกลุ่มเอเชียจำนวน 8 ประเทศ พบว่า ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางการเงิน ด้านนโยบายของภาครัฐ ด้านมาตรการสนับสนุนของภาครัฐ ด้านการถ่ายโอน ความรู้เพื่อการวิจัยและพัฒนา และด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ อยู่ในช่วง 3 อันดับสุดท้าย จากการเปรียบเทียบในแต่ละมิติ ซึ่งเป็นปัจจัยสภาพแวดล้อมเกื้อหนุนที่จำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไขเพื่อที่จะส่งเสริมสังคมความเป็นผู้ประกอบการให้พัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืนของประเทศไทย
References
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.(2558). รายงานสถานการณ์ SMEs ปี 2558. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2558, จาก http://www.sme.go.th/th/index.php/data-alert/alert/report-smes-year/report-year/report-year-2558
สุชาติ ไตรภพสกุล. (2558). รายงานสถานภาพระดับความเป็นผู้ประกอบการของประเทศไทยจากโครงการการศึกษาสังคมความเป็นผู้ประกอบการระดับโลกของ Global Entrepreneurship Monitor (GEM). วารสาร BU Academic Review, 14(2), 50-68.
Ács, Z. J., Autio, E., & Szerb, L. (2014). National systems of entrepreneurship: Measurement issues and policy implications. Research Policy, 43(3), 476-494.
Bosma, N., Jones, K., Autio, E., & Levie, J. (2008). Global Entrepreneurship Monitor 2007. Babson College, London Business School, and Global Entrepreneurship Research Association (GERA).
Bosma, N., Coduras, A., Litovsky, Y., & Seaman, J. (2012). GEM Manual: A report on the design, data and quality control of the Global Entrepreneurship Monitor. Global Entrepreneurship Research Association.
Feld, B. (2012). Startup communities: Building an entrepreneurial ecosystem in your city. John Wiley & Sons.
Isenberg, D. (2011). The entrepreneurship ecosystem strategy as a new paradigm for economic policy: Principles for cultivating entrepreneurship. Presentation at the Institute of International and European Affairs.
Kantis, H. D., & Federico, J. S. (2012). Entrepreneurial Ecosystems in Latin America: the role of policies. International Research and Policy Roundtable (Kauffman Foundation), Liverpool, UK.
Kelly, D., Singer, S., & Herrington, M. (2016). Global Entrepreneurship Monitor (GEM) Global Report 2015/2016, Global Entrepreneurship Research Association.
Malecki, E. J. (2011). Connecting local entrepreneurial ecosystems to global innovation networks: open innovation, double networks and knowledge integration. International Journal of Entrepreneurship and Innovation Management, 14(1), 36-59.
Mason, C., & Brown, R. (2014). Entrepreneurial ecosystems and growth oriented entrepreneurship. Final Report to OECD, Paris.
Moore, J. F. (1993). Predators and prey: a new ecology of competition. Harvard business review, 71(3), 75-83.
Napier, G & Hansen, C (2011). Ecosystems for Young Scaleable Firms, FORA Group.
Zacharakis, A. L., Shepherd, D. A., & Coombs, J. E. (2003). The development of venture-capital-backed internet companies: An ecosystem perspective. Journal of Business Venturing, 18(2), 217-231.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น