การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ตามแนวคิดเอเอแอลซี เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความหมายและการเรียนรู้อย่างมีความสุข ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
คำสำคัญ:
รูปแบบการเรียนการสอน, ภาษาไทย, การเรียนรู้อย่างมีความหมาย, การเรียนรู้อย่างมีความสุข, ประถมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพ ปัญหา ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ปัญหา การจัด การเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยตาม แนวคิดเอเอแอลซี เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความหมายและการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น
กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนภาษาไทยในสถานศึกษาเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครจำนวน 260 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 2 ห้องเรียน เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็น หน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามครูภาษาไทย รูปแบบการเรียนการสอน แบบวัดมโนทัศน์พื้นฐาน แบบวัดการเชื่อมโยงมโนทัศน์ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบสอบถามความสุข และแบบสังเกตพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการหาสหสัมพันธ์แบบ Pearson (Pearson Product Moment Correlation)
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. การสำรวจสภาพ ปัญหา ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบสอบถามครูผู้สอนภาษาไทย ในภาพรวม พบว่า สภาพการจัดการ เรียนรู้ครูปฏิบัติในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.26 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.05 ปัญหา การจัดการเรียนรู้ครูพบปัญหาในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.22 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.01 ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ปัญหา การจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ครูควรเลือกใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ไม่ซับซ้อน คิดเป็นร้อยละ 25 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย คิดเป็นร้อยละ 28.13 เลือกใช้สื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย คิดเป็นร้อยละ 31.25 และใช้เกณฑ์ การประเมินที่สอดคล้องกับสภาพจริง คิดเป็น ร้อยละ 34.38
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นการเรียนการสอนซึ่งมี 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ตรวจสอบและปรับมโนทัศน์ ขั้นที่ 2 จัดโครงสร้างความคิด ขั้นที่ 3 กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ขั้นที่ 4 ประยุกต์กลวิธีการเรียนรู้ภาษา ขั้นที่ 5 พัฒนาการคิดเชื่อมโยง และ 4) การวัดและประเมินผล จากการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสม ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.70 ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.18
3. ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า 1) กลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ การเรียนรู้ภาษาไทยอย่างมีความหมายหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) กลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ภาษาไทยอย่างมีความหมายหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) กลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ภาษาไทยอย่างมีความหมาย สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4) กลุ่มทดลองมีความสามารถการเชื่อมโยงมโนทัศน์การเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 5) กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีความสุขในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.68 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.02 6) กลุ่มทดลองมีระดับความคิดเห็นการเรียนรู้อย่างมีความสุขสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 7) การเรียนรู้อย่างมีความหมายกับการเรียนรู้อย่างมีความสุขมีความสัมพันธ์ เท่ากับ 0.81 และการเรียนรู้อย่างมีความสุขขึ้นอยู่กับการเรียนรู้อย่างมีความหมาย คิดเป็นร้อยละ 66
References
คณาจารย์สมานมิตร. (2547). หลักการสอนภาษาไทยสำหรับเยาวชน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
จันทร์แรม สุวรรณไตรย์. (2532). การเปรียบเทียบวิธีสอนโดยการนำเสนอโครงสร้างความคิดล่วงหน้ากับการสอนตามปกติในวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นิลุบล เกตุแก้ว. (2555). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้หลักการใช้ภาษาไทยในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญช่วย มีจิต. (2554). ภาษาไทยคือหัวใจของทุกวิชา. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2558, จาก https://www.gotoknow.org/posts/470949.
ประยอม ซองทอง. (2556). ภาษาไทยเป็นหัวใจของชาติ. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2558, จาก http://www.autoinfo.co.th/page/th/article_event/detail.php?id=32298.
พรรณิภา กิจเอก. (2550). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2557). การเสริมสร้างคุณลักษณะเด็กไทยและพุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
วิจารณ์ พานิช. (2557). การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอส.อาร์. พริ้นท์ติ้ง แมส โปรดักส์.
วิภา เกียรติธนะบำรุง. (2537). ผลของการใช้เทคนิคการสอนแบบจัดกรอบมโนทัศน์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริพร มโนพิเชฐวัฒนา. (2547). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ แบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ที่กระตือรือร้น เรื่องร่างกายมนุษย์. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศุภวรรณ์ เล็กวิไล. (2539). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านอย่างมีวิจารญาณด้วยกลวิธีการเรียนภาษาโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุจริต เพียรชอบ. (2525). การจัดการศึกษาภาษาไทย. เอกสารการสอนภาษาไทย หน่วยที่ 1-8 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.
_______. (2526). การจัดการเรียนการสอนภาษาไทย. เอกสารการสอนภาษาไทย หน่วยที่ 1-8. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์. (2522). วิธีสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สุวรรณี ยหะกร. (2554). การวัดและประเมินผลการเรียนภาษาไทยระดับประถมศึกษา เรื่องการวัดและประเมินผลการเรียนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. ประมวลสาระชุดวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาไทย หน่วยที่ 15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ไสว ฟักขาว. (2536). การพัฒนาระบบการเรียนการสอนเพื่อการเรียนรู้อย่างมีความหมายในวิชาเคมี. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนงค์ รุ่งแจ้ง. (2553). ปัญหาการเรียน การสอน และการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน. สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2557, จาก http://www.huso.kku.ac.th/upload_news/pdf/Mon40916fgzk3Er.อนงค์.pdf.
Ausubel, D. P. (1969). School Learning: An Introduction to Educational Psychology. New York: Holt Rinehart and Winston.
Ausubel, D. P., Novak, J. D. & Hanesian, H. (1978). Educational Psychology: A Cognitive View (2nd edition). New York: Holt, Rinehart, and Winston.
Bodolus, J. E. (1987, May). The Use of Concept Mapping Strategy to Facilitate Meaning of Ninth Grade Students in Science. Dissertation Abstract International, 47(5), 3387-A
Chamot, A. U. & Kupper, L. (1989). Learning Strategies in Foreign Language Instruction. Foreign Language Annals, 22(1), 13-21.
Gardner, P. L. (1977). Logical Connection in Science. A Summary of the Finding Research Education. Research in Science Education, 7(1), 9-24.
Hartley, J. & Davies, I. K. (1976). Preinstructional Strategies: the Role of Pretests, Behavioral Objectives, Overviews and Advance Organizers. Review of Education Research, 46(2),239-265.
Joyce, B. R., & Weil, M. (1996). Models of Teaching. (5th ed). Boston: Allyn & Bacon.
Lavie, B. & Zion, B. (1988). Enhancing Meaningful Learning in an Environmental Education Program: A Case Study of a Class Empowered Through the Use of Novak’s and Gowin’s Principles of Learning How to Learn, Concept Mapping, Interviewing and Educating. Dissertation Abstract International, 48(4), 2590-A.
McKeachie, W. J., Pintrich, P. R., Lin, Y. G., & Smith, D. A. F. (1987). Teaching and Learning in the College Classroom: A Review of the Literature. Ann Arbor, MI: National Center for Research to Improve Postsecondary Teaching and Learning.
Novak, J. D. (1984, January). Applying Learning Psychology and Philosophy of Science to Biology Teaching. The American Biology Teacher, 43(1), 12-22.
Oxford, L. & Crookall, D. (1989). Language Learning Strategies, the Communicative Approach, and Their Classroom Implication. Foreign Language Annals, 22(1), 29-39.
Thomas. (2007). Through the Lens of Experience. Texas: The University of Texas at Austin.
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis (2nd Edition). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น