ความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับความน่าเชื่อถือและความเชื่อมั่นต่อทูตตราสินค้าของผู้ใช้บริการสถาบันการเงินในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อังค์วรา เพียรธรรม สาขาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • พรพรหม ชมงาม คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การยอมรับ, ความน่าเชื่อถือ, ทูตตราสินค้า, สถาบันการเงิน, กรุงเทพมหานคร, ความเชื่อมั่น

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับของผู้ใช้บริการสถาบันการเงินที่มีต่อการใช้ทูตตราสินค้า ความน่าเชื่อถือของผู้ใช้บริการสถาบันการเงินที่มีต่อทูตตราสินค้า ความเชื่อมั่นของผู้ใช้บริการสถาบันการเงินที่มีต่อทูตตราสินค้าของผู้ใช้บริการสถาบันการเงินในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการใช้ทูตตราสินค้าของผู้ใช้บริการสถาบันการเงินในเขตกรุงเทพมหานคร โดยทำการศึกษาผู้ใช้บริการสถาบันการเงินที่เป็นสถาบันการเงินพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน แบ่งเป็นผู้ใช้บริการสถาบันการเงินที่เป็นธนาคารพาณิชย์ ขนาดใหญ่ จำนวน 180 คน ผู้ใช้บริการสถาบันการเงินที่เป็นธนาคารพาณิชย์ขนาดกลาง จำนวน 140 คน และผู้ใช้บริการสถาบันการเงินการเงินเฉพาะกิจ จำนวน 80 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่ายและการสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Pearson Correlation

ผลการศึกษาพบว่า 1) การยอมรับของผู้ใช้บริการสถาบันการเงินที่มีต่อการใช้ทูตตราสินค้ามี ความสัมพันธ์กับความน่าเชื่อถือต่อทูตตราสินค้าที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 2) การยอมรับของผู้ใช้ บริการสถาบันการเงินที่มีต่อการใช้ทูตตราสินค้ามีความสัมพันธ์กับของผู้ใช้บริการสถาบันการเงินที่มีต่อ ทูตตราสินค้า 3) ความน่าเชื่อถือต่อทูตตราสินค้ามีความสัมพันธ์กับของผู้ใช้บริการสถาบันการเงินที่มีต่อทูตตราสินค้า 4) การยอมรับของผู้ใช้บริการสถาบันการเงินที่มีต่อการใช้ทูตตราสินค้าความน่าเชื่อถือต่อทูตตราสินค้า และของผู้ใช้บริการสถาบันการเงินที่มีต่อทูตตราสินค้ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กนกอร มากทิพย์. (2552). การเปรียบเทียบความระลึกได้และความน่าเชื่อถือของการใช้ทูตตราสินค้าสำหรับผลิตภัณฑ์เดียวและหลายผลิตภัณฑ์ (วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กัญจน์ทนนท์ กสิเกษตรสิริ. (2558). การใช้การประชาสัมพันธ์เป็นเครื่องมือในการหาลูกค้าเงินฝาก สถาบันการเงินกสิกรไทย (วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จุดเปลี่ยนเทรนด์สื่อสารการตลาดปี 2013. (2556) สืบค้น 6 กันยายน 2558 จาก http://www.somchartlee.com.

ทำไม TMB ถึงเลือก อาเล็ก ธีรเดช. (2558). สืบค้น 5 กันยายน 2558 จาก http://marketeer.co.th/2015/01/tmb-alex/

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน). (2554). รายงานประจำปี 2554. สืบค้น 25 ตุลาคม 2554 จาก http://www.kasikornbank.com.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วี อินเตอร์ พริ้นทร์.

ธีรพันธ์ โล่ทองคำ. (2550). Brandage on Branding. กรุงเทพฯ: เหรียญบุญ.

ธีรยุส วัฒนาศุภโชค. (2550). องค์กรแห่งความสุข VS องค์กรแห่งการสร้างสรรค์. สืบค้น 5 กันยายน 2558 จาก http://www.mbachula.info/joey/academic/teerayout-article.html.

ปนัดดา อินทราวุธ. (2543). การยอมรับมาตรฐาน ISO 14001 ของพนักงาน: ศึกษาเฉพาะกรณี บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนบ คิวริตี้ ฟุตแวร์ จำกัด (วิทยานิพนธ์ สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปภังกร ปรีดาชัชวาล. (2556). การยอมรับและพฤติกรรมการเลียนแบบทางวัฒนธรรมจากสื่อบันเทิงเกาหลีของวัยรุ่นไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 51(1), 17-30.

ผู้จัดการออนไลน์. (2558). ดึง “น้อย โพธิ์งาม” พรีเซ็นเตอร์ “เอสเอ็มอีแบงก์” ต้นแบบคนดี สู้ชีวิต”. สืบค้น 8 กันยายน 2558 จาก http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000023422.

มนชนก อนะมาน. (2546). ประสิทธิผลของการใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นผู้แนะนำสินค้าให้กับหลากหลายผลิตภัณฑ์ต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค (วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการโฆษณา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เยาวธิดา ศรีเทพ. (2553). กลยุทธ์ธุรกิจ และกลยุทธ์ตลาด ซึ่งสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกซื้อกลุ่มบริการสินเชื่อที่อยู่อาศัย: กรณีศึกษา สถาบันการเงินทหารไทย จำกัด (มหาชน) (วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการตลาด). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ศราวุธ ศุภรวิชญานนท์. (2545). การยอมรับสื่อบริจาคโลหิตของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาจังหวัดมหาสารคาม (การศึกษาค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยสารคาม.

ศิริกุล เลากัยกุล. (2550). Cooperate brand and HR. สืบค้น 5 กันยายน 2558 จาก http://hrd.nida.ac.th/fileupload/datachange/datachange80.pdf.

สยามรัฐออนไลน์. (2554). Thailand Fact Sheet (136): กลยุทธ์ Brand Ambassador. สืบค้น 6 กันยายน 2558 จาก http://www.siamrath.co.th/web/?q=thailand-fact-sheet-136-%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%8C-brand-ambassador

สันธยา โลหะพันธกิจ. (2548). เอกสารประกอบการบรรยาย Branding & Personal Brandin การสัมมนาการโฆษณา ปีการศึกษา 2548. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุรางค์ โค้งตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์.

อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2546). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Belch, G. E. & Belch, M. A. (2004). Advertising and Promotion. Boston: McGraw-Hill.

Currall, S. C., & Judge, T. A. (1995). Measuring trust between organizational boundary role persons.

Organizational Behavior and Human Decision Processes, 64, 151-170.

Marshall, S. P. (2000). Organizational change and innovation processes: Theory and method for research. US: Oxford University.

O’Keefe, D. J. (2002). Persuasion: Theory and research. Newbury Park, Ca: sage.

Sako, M. (1992). Price’Quality and Trust: Inter-Firm Relations in Britain and Japan. Cambridgy: Cambridge University Press.

Smith, C. L. (1997). National Audubon Society field guide to tropical marine fishes of the Caribbean, the Gulf of Mexico, Florida, the Bahamas, and Bermuda. New York: Alfred A. Knopf.

Stern, K. R. (1997). The Trust Effect. New Jersey: Brearley.

Tripp, C., Jensen, T. D., & Carlson, L. (1994). The Effect of Multiple Product Endorsements by Celebrities on Consumers’ Attitudes and Intentions. Journal of Consumer Research, 20(4), 533-547.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30