การรับรู้ความจำเป็นของภาษาอังกฤษกับเป้าหมายในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพหลังเรียนจบของนักศึกษาระดับปริญญาตรี: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ
คำสำคัญ:
การรับรู้, ความจำเป็นของภาษาอังกฤษ, นักศึกษาระดับปริญญาตรี, เป้าหมายการประกอบอาชีพในอนาคตบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญสามประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ความจำเป็นของภาษา อังกฤษและเป้าหมายในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพหลังเรียนจบของนักศึกษาปริญญาตรี 2) เพื่อ จัดกลุ่มการรับรู้ความจำเป็นของภาษาอังกฤษ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้ความจำเป็นของภาษาอังกฤษกับเป้าหมายในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพหลังเรียนจบของนักศึกษาปริญญาตรี โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จำนวน 220 คนด้วยแบบวัดเป้าหมายใน การศึกษาต่อและการประกอบอาชีพหลังเรียนจบและการรับรู้ความจำเป็นของภาษาอังกฤษ และวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาระดับปริญญาตรีมีการรับรู้ความจำเป็นของภาษาอังกฤษในภาพรวม ระดับสูง และมีเป้าหมายที่จะทำงานเกี่ยวข้องทั้งคนไทยและชาวต่างชาติในระดับสูง โดยมีเป้าหมายเพื่อ ศึกษาต่อหรือฝึกอบรมและการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเฉพาะคนไทยในระดับปานกลาง และยังสามารถจัดกลุ่มการรับรู้ความสำคัญของภาษาอังกฤษได้ 3 กลุ่มทักษะ ได้แก่ ทักษะอ่านและการฟัง ทักษะการพูด และการเขียนอย่างเป็นทางการ และทักษะการอ่าน การฟัง การพูดอย่างไม่เป็นทางการ โดยนักศึกษารับรู้ความสำคัญของภาษาอังกฤษทั้ง 3 กลุ่มทักษะ อยู่ในระดับสูง และการรับรู้ความจำเป็นของภาษาอังกฤษมีความสัมพันธ์กับเป้าหมายในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพหลังเรียนจบของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี โดยนักศึกษาที่มีเป้าหมายจะศึกษาต่อหรืออบรมมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความสำคัญของ ภาษาอังกฤษทั้ง 3 กลุ่มทักษะ นักศึกษาที่มีเป้าหมายจะทำงานที่เกี่ยวข้องกับทั้งคนไทยและต่างชาติมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความสำคัญของภาษาอังกฤษใน 2 กลุ่มทักษะ คือ ทักษะการอ่านและการฟัง ทักษะการพูดและการเขียนอย่างเป็นทางการ ส่วนนักศึกษาที่มีเป้าหมายจะทำงานที่เกี่ยวข้องเฉพาะกับคนไทยไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความจำเป็นของภาษาอังกฤษทั้ง 3 ด้าน
References
กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์. (2559). รมว.ศธ.และคณะเข้าพบ นรม. เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ แอปพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของคนไทยทุกคน. สืบค้น 30 มีนาคม 2559, จาก http://www.thaigov.go.th/index.php/th/government-th1/item/100904-id100904
ดีเด่น เบ็ญฮาวัน. (2555). ทัศนคติและพฤติกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาที่มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับต่ำ. สืบค้น 1 เมษายน 2559, จาก www.clibin.psu.ac.th/pub/jaruwan.p/thesis%20121156/372617.pdf.
ธุวพร ตันตระกูล. (2557). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันโดยใช้บทฝึกการสนทนาภาษาอังกฤษ. สืบค้น 1 เมษายน 2559, จาก www.spu.ac.th/tlc/files/2014/05/Tuwaporn-Tantrakul_55.pdf.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2556). ภาษาอังกฤษคนไทยโคม่า กูรูแนะเด็กไทยพัฒนาอังกฤษเตรียมพร้อมสู่ AEC สืบค้น 1 เมษายน 2559, จาก http://goo.gl/RHwMYL.
รัฐบาลไทย. (2559). I SPEAK ENGLISH เพื่อชีวิตที่ BETTER. สืบค้น 12 มีนาคม 2559, จาก http://goo.gl/sBbnCn
Balint, M. (2004). Assessing students’ perceived language needs in a needs analysis. In 9th Conference of Pan-Pacific Association of Applied Linguistics, Tokyo.
Barclay, D., Higgins, C. & Thompson, R. (1995). The partial least squares (PLS) approach to causal modeling: Personal computer adoption and use as an illustration. Technology Studies, 2(2), 285-309.
Chaiyapantoh, P. (2008). The needs and problems in using English with foreigners of hotel front desk staff in Mueang District, Ubon Ratchathani Province, Retrieved 5 April, 2016, from: http://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php
Crystal, D. (2003). English as an international language. (2nd ed.). Cambridge: Cambridge University Press.
Crystal, D. (2008). Two thousand million? English Today, 24(1), 3 – 6.
EF EPI. (2015). The world’s largest ranking countries by English skills. Retrieved February 15, 2016, from: http://www.ef.co.uk/epi/
Fredrickson, T. (2016). Asean Community challenges Thai English skills. Retrieved 10 April, 2016, from: http://www.bangkokpost.com/learning/learning-from-news/813852/asean-communitychallenges-thai-english-skills
Gardner, R.C. (1985). Social Psychology and Second Language Learning: The role of attitudes and motivation. London: Edward Arnold Publishers.
Hayes, D. (2010). Language learning, teaching and educational reform in rural Thailand: an English teacher’s perspective. Asia Pacific Journal of Education, 30(3), 305-319. Khamkhien, A. (2010). Thai learners’ English pronunciation competence: Lesson learned from word stress assignment. Journal of Language Teaching and Research, 1(6), 757- 764.
Krashen, S. (1988). Second Language Acquisition and Second Language Learning. London: Prentice Hall International (UK).
Kirkpatrick, A. (2010). English as a lingua franca in ASEAN: A multilingual model. Hong Kong: Hong Kong University Press.
Lightbown, P.M., & Sapada, N. (1999). How languages are learned. Oxford: Oxford University.
Liñán, F., Rodríguez-Cohard, J. C., & Rueda-Cantuche, J. M. (2011). Factors affecting entrepreneurial intention levels: a role for education. International Entrepreneurship and Management Journal, 7(2), 195-218.
Lovell, R.B. (1980). Adult learning. New York: Halsted Press Wiley & Son.
Mackenzie, S. A. (2002). EFL curriculum reform in Thailand. Retrieved 22 March, 2016, from: http://jalt.org/pansig/2002/HTML/Mackenzie1.htm
Modiano, M. (1999). International English in the global village. English Today. 15(2), 22-28.
Oxford Royale Academy, (2014). Why should I learn English?” – 10 compelling reasons for EFL learners. Retrieved 8 January, 2016, from: https://www.oxford-royale.co.uk/articles/reasons-learn-english.html
Punthumasen, P. (2007). International program for teacher education: An approach to tackling problems of English education in Thailand. Retrieved 11 March, 2016, from www.worldedreform.com/pub/paperie13dec07.pdf
Tamimi, A.A., & Shuib, M. (2009). Motivation and attitudes towards learning English: A study of petroleum engineering undergraduates at Hadhramout University of sciences and technology. GEMA Online Journal of Language Studies, 9(2), 29-55.
The NationOnline. (2015). Thais’ poor English could dim job prospects in Asean common market. Retrieved 18 April, 2016, from: http://www.nationmultimedia.com/national/Thais-poor-Englishcould-dim-job-prospects-in-Asea-30256167.html
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น