การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของหลักทรัพย์ตามแบบจำลอง CAPM: อัตราส่วน Sharpe และอัตราส่วน Treynor
คำสำคัญ:
แบบจำลองการกำหนดราคาหลักทรัพย์, อัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ, ความเสี่ยงบทคัดย่อ
ผลการศึกษาพบว่าหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากกว่าตลาดหรือเป็นหลักทรัพย์เชิงรุก ได้แก่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น บริษัท ปตท. ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย และ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ส่วนหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าตลาดหรือเป็นหลักทรัพย์เชิงรับ ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ธนาคารกรุงเทพ และ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ เมื่อเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับและความเสี่ยง พบว่า 1) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น เป็นหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็นและมีความเสี่ยงมากกว่าตลาด 2) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ และ บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็นและมีความเสี่ยงน้อยกว่าตลาด 3) ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย บริษัท ปตท. และ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม เป็นหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงกว่าที่ควรจะเป็น และมีความเสี่ยงมากกว่าตลาด และ 4) ธนาคารกรุงเทพ เป็นหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงกว่าที่ควรจะเป็นและมีความเสี่ยงน้อยกว่าตลาดข้อเสนอแนะคือ นักลงทุนควรจัดพอร์ตการลงทุนใน หลักทรัพย์ที่มีผลตอบแทนมากกว่าตลาด ได้แก่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ และ บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล
References
ทัดพงศ์ อวิโรธนานนท์, และวีระพงศ์ อุทธารัตน์. (2558). การเปรียบเทียบแบบจำลอง CAPM และแบบจำลอง 3 ปัจจัยในการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนหลักทรัพย์. วารสารวิทยาการจัดการ, 32(1), 1-17.
ธนัยนันท์ นิมิตชัยวงศ์. (2554). การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหมวดธนาคาร (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ธีระ ลัมประเสริฐ, และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2555). การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของการลงทุนในหลักทรัพย์หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค ตัวแบบจำลองการกำหนดราคาหลักทรัพย์. วารสาร การเงิน การลงทุน การตลาด และบริหารธุรกิจ, 2(4), 247-264.
นพดล อุดมวิศวกุล, อภิญญา วนเศรษฐ, และสุนีย์ ศีลพิพัฒน์. (2555). การวิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงในตราสารทางการเงินสำหรับการจัดพอร์ตการลงทุน. (การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 2). นนทบุรีฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นุสรา วีระสุนทร, และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2555). ความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ หมวดประกันภัยและประกันชีวิตโดยใช้แบบจำลอง CAPM. วารสาร เอ็ม เอ็ม เอ็ม รีวิว, 8(4), 1-17.
เบญจภรณ์ แสงประสาทผล, และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2556). การศึกษาเปรียบเทียบความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์หมวดธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม โดยใช้แบบจำลอง CAPM. วารสารสังคมศาสตร์, 2(2), 22-29.
ปรียศ ทับสมบัติ. (2557). การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวดบริการรับเหมาก่อสร้างโดยใช้แบบจำลองราคาหลักทรัพย์ CAPM. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศรันยา ทัพไชย, และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2556). การศึกษาเปรียบเทียบความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ โดยใช้แบบจาลอง CAPM. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 5, 38-48.
สุธีรัตน์ กิตติโชควัฒนา, และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2557). การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุน ในหลักทรัพย์กลุ่มทรัพยากรพลังงานและสาธารณูปโภคโดยใช้ทฤษฎีการตั้งราคาหลักทรัพย์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 6(11), 135-148.
Chen, C.D., Demirer, R., & Jategaonkar, S.P. (2015). Risk and return in the Chinese stock market: Does equity return dispersion proxy risk. Pacific-Basin Finance Journal, 33, 23-37.
Cheng, A.R., & Jahan-Parvar, M.R. (2014). Risk–return trade-off in the pacific basin equity markets. Emerging Markets Review, 18, 123-140.
Fisher, D.E., & Jordan, R.J. (1995). Security Analysis and Portfolio Management. New Jersey: Prentice-Hall.
Sharpe, W.F. (1964). Capital asset prices: A theory of market equilibrium under condition of risk. Journal of Finance, 19(3), 425-442.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น